ผลดีและผลเสีย ของ การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้

ดูเพิ่มเติมที่: สัจนิยมเหตุซึมเศร้า

เทย์เลอร์และบราวน์เสนอว่า การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก (positive illusion) ซึ่งรวมการแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้เป็นพฤติกรรมเชิงปรับตัว (ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมสังคมและการดำเนินชีวิต) เพราะว่าเป็นแรงดลใจให้เราอดทนในการทำงานต่าง ๆ ซึ่งถ้าไม่มีอาจทำให้เลิกล้มงานนั้นไป[4] เป็นข้อเสนอที่ได้รับการสนับสนุนจาก ดร. แอลเบิร์ต แบนดูรา ผู้เป็นศาสตราจารย์กิตติคุณทางจิตวิทยาที่มีชื่อเสียง ณ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ผู้อ้างว่า

การประเมินความสามารถของตนเองในแง่ดี แม้ว่าจะไม่ได้ทำแยกจาก (ความสามารถ)ที่อาจเพียงเป็นไปได้อย่างเหมาะสม เป็นสิ่งที่มีประโยชน์เทียบกับการประเมินที่ตรงกับความจริง ซึ่งอาจจะเป็นการจำกัดตนเอง[25]

คำของ ดร. แบนดูรา เป็นการชี้การปรับตัว ของความเชื่อในแง่ดีเกี่ยวกับความสามารถในการควบคุมและผลงานการกระทำ ในเหตุการณ์ที่ควบคุมได้ไม่ใช่ความรู้สึกว่าควบคุมได้ในเหตุการณ์ที่ผลเกิดขึ้นโดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของบุคคล

ดร. แบนดูรา ยังเสนอเป็นความคิดในนัยตรงข้ามอีกด้วยว่า

(แต่)ในสถานการณ์ที่การทำงานอย่างไม่ผิดพลาดมีเขตจำกัด และการก้าวล่วงออกจากเขตนั้นสามารถทำให้เกิดผลราคาแพงหรือทำให้เกิดความบาดเจ็บความผาสุขของตนจะเป็นไปได้ดีที่สุดถ้าสามารถประเมินอิทธิผล (ของตน) อย่างแม่นยำในระดับสูง[26]

เทย์เลอร์และบราวน์เสนอว่า การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวกเป็นพฤติกรรมเชิงปรับตัว (ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมสังคมและการดำเนินชีวิต)เพราะมีหลักฐานว่า เกิดขึ้นในบุคคลผู้มีสุขภาพจิตดีบ่อยกว่าผู้มีภาวะซึมเศร้าแต่ว่า มีนักวิชาการกลุ่มอื่น (Pacini, Muir และ Epstein) ที่แสดงว่า นี่อาจจะเป็นเพราะผู้ซึมเศร้าใช้ความคิดโดยเหตุผลมากเกินไปในสถานการณ์ที่เป็นเรื่องเล็กน้อย เพื่อทดแทนการแปลผลโดยรู้เองที่มีการปรับตัวเสียหาย (maladaptive intuitive processing) โดยเป็นการทดแทนอย่างเกินส่วน (คือมักคิดในเชิงลบ แต่คิดถูกในสถานการณ์เล็กน้อย เพราะใช้ความคิดโดยเหตุผลมาก)และให้ข้อสังเกตว่า ในสถานการณ์ที่สำคัญ ความแตกต่างกับผู้ไม่มีภาวะซึมเศร้านั้นไม่มี[27]

อย่างไรก็ดี ก็ยังมีหลักฐานทางการทดลองด้วยว่า การประเมินอิทธิผลของตนในระดับสูง ก็สามารถเป็นการปรับตัวที่ไม่ดีได้ในบางสถานการณ์ในงานศึกษาใช้บทละคร นักวิจัยพบว่า ผู้ร่วมการทดลองที่ถูกชักจูงให้มีการประเมินอิทธิผลของตนในระดับสูง มีโอกาสสูงกว่าอย่างสำคัญ ที่จะเพิ่มพันธะข้อผูกพันของตนกับแนวทางการกระทำที่นำไปสู่ความล้มเหลว (คือมั่นใจอิทธิผลของตนมากเกินไป จึงเพิ่มการกระทำ/การใช้จ่าย/ความผูกพัน กับแนวทางการกระทำที่ไม่ดี)[28]

มีนักวิจัยกลุ่มอื่นอีกที่[29]

  • แสดงความไม่เห็นด้วยกับนิยามของคำว่าสุขภาพจิต (mental health) ที่ใช้โดยเทย์เลอร์และบราวน์
  • เสนอว่า การปราศจากปรากฏการณ์นี้สัมพันธ์กับบุคลิกภาพที่ว่ากล่าวแนะนำได้ (non-defensive personality) ซึ่งเอนไปทางการศึกษาและการพัฒนาตน โดยมีส่วนได้ส่วนเสียทางอัตตาน้อย ในผลที่จะออกมา
  • แสดงหลักฐานว่า ผู้ที่สามารถตัดสินใจด้วยตนเองได้ (self-determined) ไม่ค่อยประสบปรากฏการณ์เช่นนี้

ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 มีกลุ่มนักวิจัยที่แสดงว่า ผู้มีภาวะซึมเศร้ามีความเห็นที่แม่นยำกว่าผู้ไม่มีภาวะเศร้าซึม โดยใช้บททดสอบที่วัดปรากฏการณ์นี้[30] ซึ่งคงเป็นจริงแม้ว่าภาวะเศร้าซึมนั้น จะเป็นภาวะที่เปลี่ยนแปลงจัดการโดยงานทดลอง (คือไม่ได้มีเองเปลี่ยนเองโดยธรรมชาติ)แต่ว่างานวิจัยในปี ค.ศ. 2005 และ 2007 ที่ทำซ้ำผลงานวิจัยพบว่า การประเมินการควบคุมได้มากเกินไปในผู้ไม่มีภาวะเศร้าซึม จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อช่วงเวลาระหว่างการกระทำและการประเมินผลมีระยะยาวพอซึ่งบอกเป็นนัยว่า การประเมินเกินเกิดขึ้นเพราะผู้ไม่มีภาวะเศร้าซึมรวมลักษณะต่าง ๆ ของสถานการณ์เข้าเพื่อการประเมิน มากกว่าผู้มีภาวะเศร้าซึม[31][32] นอกจากนั้นแล้ว งานวิจัยในปี ค.ศ. 1989 ยังแสดงด้วยว่า ผู้มีภาวะเศร้าซึมเชื่อว่าตนไม่สามารถควบคุมเหตุการณ์ที่ความจริงตนสามารถดังนั้น การรับรู้และความเข้าใจของผู้มีภาวะเศร้าซึมจึงไม่ได้แม่นยำกว่าโดยองค์รวม[33]

ในปี ค.ศ. 2007 มีนักวิชาการกลุ่มหนึ่งที่เสนอว่า ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "สัจนิยมเหตุซึมเศร้า" (depressive realism) ที่ผู้มีภาวะเศร้าซึมดูเหมือนจะประเมินความควบคุมได้ของตนตรงกับความเป็นจริงโดยไม่มีการแปลสิ่งเร้าผิด เป็นเรื่องที่อธิบายได้โดยความที่ผู้มีภาวะเศร้าซึมมีโอกาสสูงกว่าอยู่แล้วที่จะปฏิเสธว่าไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ แม้ว่าจริง ๆ แล้วจะสามารถ[34] ซึ่งก็หมายถึงว่าปรากฏการณ์นี้จริง ๆ แล้วไม่มี

มีงานวิจัยหลายงานที่พบความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกว่าควบคุมได้กับสุขภาพ โดยเฉพาะในผู้สูงวัย[35]มีนักวิชาการหลายกลุ่ม[8][36] ที่เสนอว่าแม้ว่า การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้จะโปรโหมตความพยายามเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายแต่เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่อำนวยให้ทำการตัดสินใจที่ดีเพราะว่า อาจก่อให้เกิดความไม่แยแสต่อคำแนะนำคำวิจารณ์ของผู้อื่นขัดขวางการเรียนรู้ และทำให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงมากยิ่งขึ้น (เพราะว่า ตนเองคิดว่าไม่เสี่ยงเพราะเหตุแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้)

ใกล้เคียง

การแปลการพินิจภายในผิด การแปลสิ่งเร้าผิด การแปรผันทางพันธุกรรม การแปลงหน่วยอุณหภูมิ การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ การแปลงฟูรีเย การแปลงพื้นที่เพื่อเปลี่ยนชนชั้น การแปลงโคไซน์ไม่ต่อเนื่อง การแปลสัมผัสผิด

แหล่งที่มา

WikiPedia: การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ http://psych.mcmaster.ca/hannahsd/pubs/AllanSiegel... http://www.freepatentsonline.com/article/North-Ame... http://books.google.com/books?id=NnQcOdWDClkC&pg=P... http://www.sciencedirect.com/science?_ob=ArticleUR... http://timothy-judge.com/documents/ImplicationsofC... http://isites.harvard.edu/fs/docs/icb.topic67047.f... http://www.wjh.harvard.edu/~wegner/pdfs/Pronin,%20... http://web.mit.edu/curhan/www/docs/Articles/biases... http://taylorlab.psych.ucla.edu/1988_Illusion%20an... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15702960