หลักฐาน ของ การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้

ปรากฏการณ์นี้มีหลักฐานให้เห็นในสถานการณ์ 3 อย่างคือ[12]

  1. การทดลองในห้องแล็บ
  2. การสังเกตพฤติกรรมในเกมที่เป็นไปโดยสุ่มและเป็นที่คุ้นเคยกันต่าง ๆ เช่นการเล่นลอตเตอรี่
  3. พฤติกรรมในสถานการณ์จริง ๆ ที่ผู้ทำเป็นผู้แจ้งเอง

การทดลองในห้องแล็บแบบหนึ่งใช้ไฟสองดวงที่ติดป้ายไว้ว่า "ได้คะแนน" และ "ไม่ได้คะแนน"ผู้ร่วมการทดลองต้องพยายามทำการควบคุมว่า ไฟดวงไหนจะติดในแบบหนึ่งของการทดลองนี้ ผู้ร่วมการทดลองสามารถกดปุ่มสองปุ่ม ปุ่มใดปุ่มหนึ่ง[13]ส่วนอีกแบบหนึ่งมีแค่ปุ่มเดียว ซึ่งผู้ร่วมการทดลองต้องตัดสินใจว่า จะกดปุ่มหรือไม่ในการทดสอบแต่ละครั้ง[14] ผู้ร่วมการทดลองจะมีระดับการควบคุมไฟต่าง ๆ กัน ขึ้นอยู่กับว่า ปุ่มกับไฟนั้นต่อกันอย่างไรแต่ว่า จะมีการแจ้งไว้ตั้งแต่ต้นว่า การกดปุ่มและการเปิดปิดของไฟนั้น อาจจะไม่สัมพันธ์อะไรกันเลย[14] ผู้ร่วมการทดลองจะต้องประเมินว่า ตนสามารถควบคุมไฟได้แค่ไหนและปรากฏว่า ค่าประเมินเหล่านี้ไม่สัมพันธ์กับระดับการควบคุมไฟได้จริง ๆ ของผู้ร่วมการทดลองแต่กลับสัมพันธ์กับไฟที่มีป้ายว่า "ได้คะแนน" ว่าติดบ่อยครั้งแค่ไหนคือแม้ว่า การเลือกกระทำของผู้ร่วมการทดลองจะไม่มีผลอะไรเลย แต่ก็ยังรายงานว่า ตนมีส่วนในการควบคุมไฟ[14]

งานวิจัยของ ดร. แลงเกอร์ แสดงว่า เรามีโอกาสที่จะมีพฤติกรรม เหมือนกับควบคุมสถานการณ์ที่เป็นไปโดยสุ่มได้มากกว่า ถ้ามี skill cues (ตัวบ่งทักษะ)[15][16] skill cues หมายถึงลักษณะบางอย่างของสถานการณ์ที่ปกติจะเป็นตัวบ่งการใช้ทักษะความสามารถยกตัวอย่างเช่น การต้องทำการเลือก การแข่งขัน ความคุ้นเคยกับสิ่งเร้า และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจตัวอย่างง่าย ๆ ของปรากฏการณ์นี้พบได้ในกาสิโน (บ่อนการพนัน)คือเมื่อโยนลูกเต๋าในเกมที่เรียกว่า craps ผู้เล่นมักจะโยนลูกเต๋าแรงกว่าเมื่อต้องการเลขสูง และเบากว่าเมื่อต้องการเลขต่ำ[2][17]

ในงานทดลองหนึ่ง ผู้ร่วมการทดลองต้องพยากรณ์ผลของการโยนเหรียญ 30 ครั้งผลของการโยนเหรียญนั้นจริง ๆ แล้วมีการจัดให้ถูกตามคำพยากรณ์ครึ่งหนึ่งพอดีกลุ่มการทดลองต่าง ๆ มีลักษณะต่างกันเพียงแค่ว่า ช่วงที่มีการพยากรณ์ถูกนั้น จะเกิดขึ้นที่ตอนไหนบางพวกถูกในตอนต้น ๆ บางพวกถูกอย่างกระจายไปทั่วในการทดลอง 30 ครั้งมีการสำรวจภายหลังว่า ผู้ร่วมการทดลองคิดว่าตนทำการพยากรณ์ได้ดีแค่ไหนผู้ร่วมการทดลองที่พยากรณ์ "ถูก" ในช่วงต้น ๆ ประเมินว่า ตนทำสำเร็จเป็นจำนวนครั้งมากเกินไป และมีความคาดหวังที่สูงกว่าว่า ตนจะทำการเดาอย่างนี้ได้ดีในเกมต่อ ๆ ไปในอนาคต[2][16] ผลงานทดลองนี้คล้ายกับ "ปรากฏการณ์ให้ความสำคัญในอันดับแรกที่ไร้เหตุผล" (irrational primacy effect) ที่เราให้ความสำคัญกับข้อมูลที่เกิดขึ้นในส่วนต้น ๆ[2] ผู้ร่วมการทดลองถึง 40% เชื่อว่า การพยากรณ์ของตนในเหตุการณ์ที่เป็นไปโดยสุ่มนี้ จะดีขึ้นถ้ามีการฝึกซ้อมและ 25% บอกว่า ตัวกวนสมาธิจะทำให้ทำงานได้แย่ลง[2][16]

มีงานวิจัยอีกงานหนึ่งของ ดร. แลงเกอร์ ที่มีการทำซ้ำโดยนักวิจัยอื่น ๆ เกี่ยวข้องกับลอตเตอรี่ในการทดลองนี้ ผู้ร่วมการทดลองบางพวกได้รับเบอร์ลอตเตอรี่โดยสุ่ม บางพวกจะเลือกเบอร์เองและผู้ร่วมการทดลองสามารถแลกเบอร์ลอตเตอรี่กับผู้อื่นเพื่อเพิ่มโอกาสถูกลอตเตอรี่ได้ปรากฏว่า ผู้ที่เลือกเบอร์ของตนเองลังเลมากกว่าในการแลกเบอร์นอกจากนั้นแล้ว ใบลอตเตอรี่ที่มีสัญลักษณ์ที่คุ้นเคย มีโอกาสน้อยกว่าที่จะรับแลกกับใบอื่นที่มีสัญลักษณ์ที่ไม่คุ้นเคยและแม้ว่าจริง ๆ แล้ว ผลคือการถูกลอตเตอรี่จะเป็นไปโดยสุ่ม ผู้ร่วมการทดลองกลับมีพฤติกรรมเหมือนกับว่า การเลือกเบอร์ของตนจะมีอิทธิพลต่อผล[15][18] ผู้ที่เลือกเบอร์ของตนเองมีความน่าจะเป็นน้อยกว่าที่จะแลกเบอร์ลอตเตอรี่ แม้แต่กับเบอร์ที่มีโอกาสถูกสูงกว่า[5]

อีกวิธีหนึ่งที่ใช้ศึกษาความรู้สึกว่าควบคุมได้ ก็คือการถามคำถามเกี่ยวกับสถานการณ์สมมุติยกตัวอย่างเช่น เกี่ยวกับโอกาสที่ตนจะมีอุบัติเหตุทางรถยนต์คือ โดยเฉลี่ยแล้ว คนขับรถพิจารณาว่า ในสถานการณ์ที่ "ควบคุมได้สูง" เช่นเมื่อตนเป็นผู้ขับรถ อุบัติเหตุมีโอกาสเกิดน้อยกว่าในสถานการณ์ที่ "ควบคุมได้ต่ำ"เช่นเมื่อตนเป็นผู้โดยสารนั่งข้าง ๆ คนขับนอกจากนั้นแล้วยังมีการพิจารณาอีกด้วยว่า อุบัติเหตุที่ควบคุมได้สูงเช่นการขับรถชนท้ายคันข้างหน้ามีโอกาสน้อยกว่าอุบัติเหตุที่ควบคุมได้ต่ำเช่นถูกชนท้าย[12][19][20]

ใกล้เคียง

การแปลการพินิจภายในผิด การแปลสิ่งเร้าผิด การแปรผันทางพันธุกรรม การแปลงหน่วยอุณหภูมิ การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ การแปลงฟูรีเย การแปลงพื้นที่เพื่อเปลี่ยนชนชั้น การแปลงโคไซน์ไม่ต่อเนื่อง การแปลสัมผัสผิด

แหล่งที่มา

WikiPedia: การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ http://psych.mcmaster.ca/hannahsd/pubs/AllanSiegel... http://www.freepatentsonline.com/article/North-Ame... http://books.google.com/books?id=NnQcOdWDClkC&pg=P... http://www.sciencedirect.com/science?_ob=ArticleUR... http://timothy-judge.com/documents/ImplicationsofC... http://isites.harvard.edu/fs/docs/icb.topic67047.f... http://www.wjh.harvard.edu/~wegner/pdfs/Pronin,%20... http://web.mit.edu/curhan/www/docs/Articles/biases... http://taylorlab.psych.ucla.edu/1988_Illusion%20an... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15702960