คำอธิบาย ของ การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้

ดร. เอ็ลเล็น แลงเกอร์ ผู้เป็นนักวิชาการท่านแรกที่แสดงปรากฏการณ์นี้อธิบายสิ่งที่พบว่าเป็นความสับสน ระหว่างสถานการณ์ที่ต้องใช้ทักษะและสถานการณ์ที่เป็นไปโดยสุ่มเธอเสนอว่า เราจะตัดสินใจว่าสามารถควบคุมได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับ "skill cues" (ตัวบ่งทักษะ)ซึ่งเป็นลักษณะของสถานการณ์ที่ปกติสัมพันธ์กับเกมที่ต้องใช้ทักษะเช่นการแข่งขัน ความคุ้นเคย และการต้องเลือกทำถ้าตัวบ่งทักษะเหล่านี้มีมาก ปรากฏการณ์นี้ก็จะมีกำลังเพิ่มขึ้น[7][8][21]

ส่วนนักวิชาการอีกคณะหนึ่งแย้งว่า คำอธิบายของ ดร. แลงเกอร์ ไม่สมบูรณ์พอที่จะอธิบายนัยต่าง ๆ ที่พบในปรากฏการณ์พวกเขาเสนอโดยเป็นคำอธิบายอีกอย่างหนึ่งว่า การตัดสินใจว่าควบคุมได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับกระบวนกานที่เรียกว่า "control heuristic" (ฮิวริสติกเกี่ยวกับการควบคุม)[7][22] ซึ่งเป็นทฤษฎีที่เสนอว่า การตัดสินใจว่าควบคุมได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับองค์สองอย่างคือความตั้งใจที่จะทำให้เกิดผล และความสัมพันธ์กันระหว่างการกระทำและผลแต่ในเกมที่เป็นไปโดยสุ่ม องค์สองอย่างนี้มักจะไปด้วยกันคือนอกจากจะมีความตั้งใจที่จะชนะแล้ว ก็ยังมีการกระทำ เช่นการโยนลูกเต๋าหรือการดึงแขนของเครื่องเล่นสล็อตแมชชีนแล้วมีผลที่ตามมาทันทีอีกด้วยแม้ว่าจะเป็นไปโดยสุ่มเมื่อครบองค์เช่นนี้ ทฤษฎี control heuristic ก็จะพยากรณ์ว่า คนเล่นจะมีความรู้สึกว่าผลควบคุมได้ในระดับหนึ่ง[21]

ทฤษฎีการบังคับตนเอง (Self-regulation theory) สามารถใช้เป็นคำอธิบายได้อีกแนวหนึ่งคือ เพราะว่าเรามีจุดมุ่งหมายในใจ (internal goals) ที่จะควบคุมสิ่งแวดล้อมดังนั้น เราจะพยายามทำการควบคุมสถานการณ์ที่วุ่นวาย ไม่แน่นอน หรือทำให้เครียดวิธีหนึ่งในการบรรเทาความรู้สึกว่าควบคุมไม่ได้ ก็คือถือเอาอย่างผิด ๆ ว่า ตนสามารถควบคุมสถานการณ์ได้[8]

มีคำอธิบายที่สามารถใช้ได้อีกแนวหนึ่ง คือ ผลประเมินที่ได้จาก core self-evaluations (ตัวย่อ CSE แปลว่าการประเมินแกนในของตน) สามารถใช้เป็นตัวแทนบุคลิกภาพที่มีเสถียรภาพของบุคคล ซึ่งเป็นการประเมินองค์ต่าง ๆ โดยพื้นฐาน ของจิตใต้สำนึก รวมทั้งการประเมินตนเอง ความสามารถ และความควบคุม ผู้มีคะแนนสูงจะคิดถึงตนในเชิงบวกและมีความมั่นใจในความสามารถของตนเอง ผู้มีคะแนนต่ำจะคิดถึงตนเองในแนวลบและจะไม่มีความมั่นใจในตน[23] นอกจากนั้นแล้ว ผู้มีคะแนนสูงมีโอกาสสูงกว่าที่จะเชื่อว่า ตนสามารถควบคุมสถานการณ์สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้ (คือมี internal locus of control)[24] และดังนั้น คะแนนที่สูงมากอาจนำไปสู่การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้

ใกล้เคียง

การแปลการพินิจภายในผิด การแปลสิ่งเร้าผิด การแปรผันทางพันธุกรรม การแปลงหน่วยอุณหภูมิ การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ การแปลงฟูรีเย การแปลงพื้นที่เพื่อเปลี่ยนชนชั้น การแปลงโคไซน์ไม่ต่อเนื่อง การแปลสัมผัสผิด

แหล่งที่มา

WikiPedia: การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ http://psych.mcmaster.ca/hannahsd/pubs/AllanSiegel... http://www.freepatentsonline.com/article/North-Ame... http://books.google.com/books?id=NnQcOdWDClkC&pg=P... http://www.sciencedirect.com/science?_ob=ArticleUR... http://timothy-judge.com/documents/ImplicationsofC... http://isites.harvard.edu/fs/docs/icb.topic67047.f... http://www.wjh.harvard.edu/~wegner/pdfs/Pronin,%20... http://web.mit.edu/curhan/www/docs/Articles/biases... http://taylorlab.psych.ucla.edu/1988_Illusion%20an... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15702960