ประเภทของการแปลด้วยเครื่อง ของ การแปลด้วยเครื่อง

การแปลด้วยเครื่องสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ โดยพิจารณาตามสถาปัตยกรรมทางภาษาศาสตร์ และสถาปัตยกรรมทางการคำนวณ[1][2]

การเปลี่ยนภาษาต้นทางไปเป็นภาษาปลายทางสามารถทำได้โดยการแปลตรงไปตรงมาในระดับคำ อย่างไรก็ตามเพื่อแก้ปัญหาการแปลไม่ถูกต้อง ที่เกิดจากสาเหตุ เช่น ความแตกต่างกันของภาษาต้นทางและภาษาปลายทาง ฯลฯ ความรู้ด้านภาษาศาสตร์จึงถูกนำมาใช้ในการแปลภาษา ต่างไปจากการแปลตรงไปตรงมา การโอนถ่ายสามารถโอนถ่ายโครงสร้าง เช่น โครงสร้างต้นไม้วากยสัมพันธ์จากภาษาต้นทางที่ได้มาจากการวิเคราะห์ ไปเป็นโครงสร้างต้นไม้วากยสัมพันธ์ของภาษาปลายทาง จากนั้นจึงสร้างข้อความภาษาปลายทางจากโครงสร้างต้นไม้วากยสัมพันธ์ของภาษาปลายทางที่ได้มาจากการโอนถ่าย เป็นต้น โครงสร้างและการจัดการระบบที่ระบบระดับการวิเคราะห์ การสร้างและการโอนถ่าย เช่น การแปลด้วยเครื่องโดยการโอนถ่ายโครงสร้างต้นไม้วากยสัมพันธ์ การแปลด้วยเครื่องแบบตรงไปตรงมาระดับคำ ฯลฯ คือสถาปัตยกรรมทางภาษาศาสตร์ของการแปลอัตโนมัติ

กรณีการแปลภาษาไทยเป็นภาษาอื่นๆ สิ่งที่จะต้องคำนึงถึงคือคำกริยาภาษาไทยมีการนำกริยาหลายตัวมาเรียงลำดับติดต่อกันได้มากกว่า 2 ตัว แต่ไม่เกิน 7 ตัว การวิเคราะห์จึงต้องมีความละเอียดอ่อนเป็นพิเศษ นอกจากนั้น การที่ภาษาไทยไม่มีกลุ่มคำที่เรียกว่า "คำคุณศัพท์" เหมือนในภาษาอังกฤษหรือภาษาฝรั่งเศส มีแต่คำว่า "คำวิเศษณ์" ซึ่งมีพฤติกรรมการใช้งานตรงกับรูปคำคุณศัพท์ในภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส ทำให้การวิเคราะห์กลุ่มคำที่ทำหน้าเป็นคำกริยา verbal phrase มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

ใกล้เคียง

การแปลการพินิจภายในผิด การแปลสิ่งเร้าผิด การแปรผันทางพันธุกรรม การแปลงหน่วยอุณหภูมิ การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ การแปลงฟูรีเย การแปลงพื้นที่เพื่อเปลี่ยนชนชั้น การแปลงโคไซน์ไม่ต่อเนื่อง การแปลสัมผัสผิด