การแพร่เชื้อทางอากาศ
การแพร่เชื้อทางอากาศ

การแพร่เชื้อทางอากาศ

การแพร่เชื้อทางอากาศ (อังกฤษ: airborne transmission) คือการแพร่เชื้อของโรคติดต่อผ่านละอองธุลีที่สามารถอยู่ในอากาศได้เป็นเวลานานและสามารถถูกเคลื่อนย้ายไปตำแหน่งอื่นได้[2] โรคที่สามารถแพร่เชื้อทางอากาศได้มีหลายโรค ทั้งที่พบในมนุษย์และในสัตว์ เชื้อก่อโรคนั้นๆ อาจเป็นเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อรา สามารถแพร่ผ่านการหายใจ การพูด การไอ จาม การปัดฝุ่น การพ่นสเปรย์ การกดน้ำที่โถชำระ และกิจกรรมใดๆ ที่ทำให้เกิดอนุภาคละอองลอย (aerosol) หรือละอองฝอย (droplets) โดยทั่วไปแล้วโรคติดต่อที่แพร่เชื้อทางอากาศจะไม่นับรวมโรคที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ เช่น สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย แก๊สที่มีพิษต่อร่างกาย หรือฝุ่นอนุภาคอื่นๆแต่เดิมแล้วทางการแพทย์จะถือว่าการแพร่เชื้อทางอากาศเป็นคนละอย่างกับการแพร่เชื้อผ่านละอองฝอย ซึ่งมีที่มาจากความเข้าใจผิดในพฤติกรรมทางกายภาพของอนุภาคขนาดต่างๆ[3] โดยเคยเชื่อกันว่าละอองฝอยของสารคัดหลั่งระบบหายใจจะมีขนาดใหญ่มากพอที่จะตกลงสู่พื้นอย่างรวดเร็วหลังจากถูกปลดปล่อยออกมา[4] อย่างไรก็ดีตามนิยามใหม่มองว่า อนุภาคขนาดใดๆ ที่สามารถถูกสูดหายใจเข้าไปได้ ถือว่ามีศักยภาพที่จะเป็นอนุภาคที่ก่อให้เกิดการแพร่เชื้อทางอากาศได้ทั้งสิ้น[3]คนแต่ละคนสามารถแพร่ละอองลอยและละอองฝอยได้หลายขนาด หลายปริมาณ และมีความเข้มข้นของเชื้อโรคแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของแต่ละคนและกิจกรรมที่ทำ[5] ละอองฝอยที่มีขนาดใหญ่กว่า 100 ไมโครเมตรมักตกลงสู่พื้นอย่างรวดเร็วในระยะไม่เกิน 2 เมตร จากจุดกำเนิด[5][4] และอาจมีอนุภาคละอองลอยที่มีเชื้อก่อโรคตกค้างอยู่ในอากาศบริเวณนั้นได้อีกระยะเวลาหนึ่ง โดยจะมีความเข้มข้นของเชื้อก่อโรคสูงสุดภายในรัศมี 2 เมตร แต่ก็สามารถเดินทางไปตำแหน่งอื่น และอาจไปสะสมเพิ่มความเข้มข้นในตำแหน่งอื่นของห้องได้อีกด้วยจุดตัด 5 ไมโครเมตรที่เดิมเคยใช้กันแพร่หลายในการแบ่งแยกว่าอนุภาคใดเป็นอนุภาคที่สามารถทำให้เกิดการแพร่เชื้อทางอากาศได้หรือไม่ถูกวิจารณ์อย่างหนักว่าเป็นทวิภาคลวงที่ไม่มีที่มาทางวิทยาศาสตร์ เนื่องจากอนุภาคที่ออกมากับลมหายใจมักมีขนาดหลากหลายออกมาพร้อมๆ กัน และจะล่องลอยไปหรือตกลงสู่พื้นขึ้นกับปัจจัยแวดล้อมอีกหลายอย่าง ซึ่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับเฉพาะขนาดแรกเริ่มของมันเท่านั้น อย่างไรก็ดี แนวคิดนี้ถูกนำมาใช้ในการป้องกันการแพร่กระจายของโรคในโรงพยาบาลมานานหลายทศวรรษ[5] ข้อมูลใหม่ๆ เกี่ยวกับการแพร่กระจายในอาคารของสารคัดหลั่งระบบหายใจทำให้เชื่อว่าอนุภาคขนาด 20 ไมโครเมตร ในระยะแรกที่ถูกปลดปล่อยออกมาจะลอยไปตามกระแสอากาศในช่วงแรก ซึ่งอาจเป็นกระแสอากาศจากการไอจามหรือจากลมเครื่องปรับอากาศก็ได้ แต่เมื่อเดินทางไปไกลขึ้นก็จะค่อยๆ ตกลงสู่พื้นตามแรงโน้มถ่วง[6] มีการพบว่าอนุภาคที่มีขนาดดังกล่าวเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกดักจับที่เยื่อเมือกของโพรงจมูกมากที่สุด[7] และเนื่องจากตำแหน่งนี้มักเป็นตำแหน่งเริ่มต้นของการติดเชื้อที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19[8] จึงเป็นเหตุผลให้น่าเชื่อว่าอนุภาคขนาดดังกล่าวมีส่วนสำคัญในการทำให้เกิดการระบาดทั่วของโควิด-19

ใกล้เคียง

การแพทย์ทางเลือก การแพทย์แผนไทย การแพร่สัญญาณภาพดิจิทัลภาคพื้นดิน การแพร่สัญญาณภาพดิจิทัลภาคพื้นดินรุ่นที่ 2 การแพทย์เฉพาะทาง การแพร่เชื้อทางอากาศ การแพ้นมวัว การแพทย์ทางชาติพันธุ์ การแพร่สัญญาณภาพดิจิทัล การแพร่สัญญาณ