เยอรมนี ของ การโฆษณาทางโทรศัพท์ที่ไม่พึงปรารถนา

เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีได้มีการออก "รัฐบัญญัติว่าด้วยการควบคุมการโฆษณาทางโทรศัพท์ที่ไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของหมายเลขและการส่งเสริมการคุ้มครองผู้บริโภคในการประกอบกิจการบางรูปแบบ" (เยอรมัน: Gesetz zur Bekämpfung unerlauter Telefonwerbung und zur Verbesserung des Verbraucherschutzes bei besonderen Vertriebsformen) มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา สาระสำคัญของรัฐบัญญัติ เป็นการ[1]

1. แก้ไขเพิ่มเติม เบือร์แกร์ลิชส์เกเซทซ์บุค (เยอรมัน: Bürgerliches Gesetzbuch) หรือ ประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน เกี่ยวกับการบอกเลิกสัญญาบริการ โดยผู้บริโภคมีโอกาสบอกเลิกสัญญาที่ตกลงเข้าทำสัญญาทางโทรศัพท์เพิ่มมากขึ้น กับทั้งสามารถบอกเลิกรับหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือวารสารโดยให้มีผลในอนาคตได้ด้วย หากว่าสัญญารับสิ่งพิมพ์ดังกล่าวได้กระทำผ่านโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ และการบอกเลิกได้มีภายในสองสัปดาห์นับแต่วันแสดงเจตนาทำสัญญา หรือภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันแสดงเจตนาทำสัญญาในกรณีทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร

2. แก้ไข "รัฐบัญญัติควบคุมการค้าที่ไม่เป็นธรรม" (เยอรมัน: Gesetz gegen den unlauteren Wettbewerb) โดยห้ามโฆษณาทางโทรศัพท์ก่อนได้รับความยินยอมอันชัดแจ้งและเป็นการล่วงหน้าจากผู้บริโภค หากฝ่าฝืนระวางโทษปรับทางปกครองไม่เกินห้าหมื่นยูโร

3. แก้ไข "รัฐบัญญัติว่าด้วยโทรคมนาคมและการสื่อสาร" (เยอรมัน: Telekommunikationsgesetz) ให้ถือว่าโฆษณาที่ฝากหมายเลขให้ติดต่อกลับเป็นการก่อความเดือดร้อนรำคาญ

ใกล้เคียง

การโฆษณา การโฆษณาชวนเชื่อในประเทศรัสเซีย การโฆษณาทางโทรศัพท์ที่ไม่พึงปรารถนา การโฆษณาชวนเชื่อ การโฆษณาออนไลน์ การฆ่าตัวตาย การฆ่าคน การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุชาวเขมร การฆาตกรรมครอบครัวบุญทวี