การโจมตีกองเรือกาซา
การโจมตีกองเรือกาซา

การโจมตีกองเรือกาซา

พิกัดภูมิศาสตร์: 32°38′28″N 33°34′02″E / 32.64113°N 33.56727°E / 32.64113; 33.56727การโจมตีกองเรือกาซา (อังกฤษ: Gaza flotilla raid) หรือชื่อรหัสว่า ปฏิบัติการลมทะเล (อังกฤษ: Operation Sea Breeze) โดยกองกำลังป้องกันอิสราเอล[1][2] เป็นการขึ้นเรือและการยึดเรือหกลำจาก กองเรือเสรีภาพกาซา เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553[3] กองเรือดังกล่าว ประกอบด้วยขบวนการกาซาเสรีและมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพและความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม (IHH) พยายามที่จะฝ่าการปิดล้อมกาซาและส่งความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมและวัสดุก่อสร้างไปยังฉนวนกาซา[3][4] เรือทั้งหกลำรวมตัวกันใกล้กับไซปรัส และออกเดินทางเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 โดยมีผู้โดยสารกว่า 663 คน จาก 37 ประเทศ[5][6] คอมมานโดอิสราเอลขึ้นเรือในเขตน่านน้ำสากลของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน[6] หลังจากกองเรือปฏิเสธข้อเสนอของอิสราเอลที่จะให้มีการตรวจสอบสินค้าที่บรรทุกมาที่ท่าแอชดอด และให้มีการจัดส่งทางบกแทน[7]นักเคลื่อนไหวบนเรือลำใหญ่ที่สุดของกองเรือนี้ MV Mavi Marmara ปะทะกับกองกำลังพิเศษ Shayetet 13 ของอิสราเอล เมื่อกองกำลังเหล่านี้ได้ขึ้นสู่ดาดฟ้าของเรือ นักเคลื่อนไหวบนเรือคนหนึ่งกล่าวว่าทหารอิสราเอลยิงเตือนก่อนที่จะขึ้นเรือ[8] คอมมานโดกล่าวว่าพวกเขาถูกโจมตีด้วยมีด หนังสติ๊ก และท่อโลหะ จากนั้นได้เปลี่ยนจากอาวุธที่ไม่รุนแรงถึงชีวิตเป็นกระสุนจริงหลังจากนักเคลื่อนไหวหลายคนยึดเอาปืนพกสั้นของพวกเขาไป[9][10] ผู้โดยสารคนอื่นกล่าวว่านักเคลื่อนไหวได้มีพฤติการณ์ป้องกันตัวเอง ปลดอาวุธทหาร และโยนอาวุธเหล่านี้ลงสู่ทะเล[11][12] นักเคลื่อนไหว 9 คน[13][14]ถูกยิงเสียชีวิตโดยคอมมานโดอิสราเอล[15] นอกจากนี้ยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกประมาณ 12 คน และถูกจับกุมอีกหลายร้อยคน[16][17] คอมมานโดได้รับบาดเจ็บ 7 นาย ในจำนวนนี้ 2 นายได้รับบาดเจ็บสาหัส[18][16] ทางการอิสราเอลกล่าวหา IHH ว่าส่งนักเคลื่อนไหวมาบนเรือ MV Mavi Marmara เพื่อตั้งใจยุยงให้เกิดความรุนแรง[19] แต่ IHH ปฏิเสธข้อกล่าวหา[20]การโจมตีดังกล่าวก่อให้เกิดปฏิกิริยาจากหลายประเทศในทันที รวมไปถึงการประณามอย่างกว้างขวาง จากหน่วยงานของรัฐ องค์กรเหนือรัฐ และองค์การสาธารณประโยชน์ รวมทั้งการชุมนุมประท้วงและการก่อจลาจล[21][22]ทั่วโลก คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประณาม "การกระทำเช่นนั้นซึ่งทำให้พลเรือนเสียชีวิต" และต้องการให้มีการสืบสวนอย่างยุติธรรมเกี่ยวกับการโจมตีดังกล่าว[23] และเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวพลเรือนที่อิสราเอลยังคุมขังไว้อยู่ทันที[23]อิสราเอลตอบสนองยินดีที่จะปล่อยตัวพลเรือนที่ถูกจับกุมราว 620 คน จาก 682 คน และส่งตัวกลับประเทศ[24] เหตุการณ์ดังกล่าวได้บั่นทอนความสัมพันธ์ระหว่างตุรกีกับอิสราเอล[25]สินค้าบรรทุกถูกยึดโดยอิสราเอล และเอาขึ้นจากเรือที่ท่าแอชดอตและได้รับการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ของอิสราเอล: สินค้าบรรทุกดังกล่าวได้รับอนุญาตและส่งไปยังกาซาทางพื้นดิน[26] กลุ่มฮามาสปฏิเสธไม่ยิมยอมให้สินค้าบรรทุกเหล่านี้เข้าสู่กาซาจนกว่าอิสราเอลจะปล่อยตัวผู้ที่ถูกจับกุมจากกองเรือและตกลงที่จะอนุญาตให้ผู้จัดระเบียบกองเรือส่งสินค้ามายังกาซาได้โดยตรง รวมไปถึงวัสดุก่อสร้าง โดยปราศจากการตรวจสอบของอิสราเอล[27][28] MV Rachel Corrie เรืออีกลำหนึ่งซึ่งเดิมตั้งใจที่จะเดินทางมาเป็นส่วนหนึ่งของกองเรือยังคงพยายามที่จะส่งวัสดุเข้าสู่กาซา; เรือดังกล่าวถูกยึดในน่านน้ำสากลโดยทหารอิสราเอลเช่นเดียวกัน[29]

ใกล้เคียง

การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ การโจมตีทางอากาศที่ญี่ปุ่น การโจมตีด้วยโดรน การโจมตียะลา พ.ศ. 2562 การโจมตีท่าอากาศยานนานาชาติจินนาห์ พ.ศ. 2557 การโจมตีโรงแรมดุสิตดีทู ไนโรบี การโจมตีโตเกียว เดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 การโจมตีอัรบีล พ.ศ. 2567 การโจมตีเคมีที่ดูมา การโจมตีเกาะงู

แหล่งที่มา

WikiPedia: การโจมตีกองเรือกาซา http://www.cbsnews.com/video/watch/?id=6535491n http://edition.cnn.com/2010/WORLD/meast/06/02/isra... http://www.cnn.com/2010/WORLD/meast/06/02/gaza.rai... http://www.cnn.com/2010/WORLD/meast/06/04/gaza.rai... http://www.google.com/hostednews/ap/article/ALeqM5... http://www.haaretz.com/news/diplomacy-defense/at-l... http://www.haaretz.com/news/diplomacy-defense/gaza... http://www.haaretz.com/news/diplomacy-defense/isra... http://www.jpost.com/Israel/Article.aspx?id=177445 http://www.latimes.com/news/nationworld/world/la-f...