การโจมตีทางอากาศที่ญี่ปุ่น
การโจมตีทางอากาศที่ญี่ปุ่น

การโจมตีทางอากาศที่ญี่ปุ่น

การโจมตีทางอากาศโดยกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรที่ญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สองสร้างความเสียหายอย่างกว้างขวางต่อเมืองต่าง ๆ ของประเทศ และคร่าชีวิตผู้คนไประหว่าง 241,000 ถึง 900,000 คน[3] ช่วงปีแรกของสงครามแปซิฟิก การโจมตีเหล่านี้ถูกจำกัดอยู่ที่การตีโฉบฉวยดูลิตเติลในเดือนเมษายน ค.ศ. 1942[5] และการโจมตีขนาดเล็กบนที่มั่นทางทหารบนหมู่เกาะคูริลจากกลาง ค.ศ. 1943[6] การโจมตีด้วยการทิ้งระเบิดเชิงกลยุทธ์เริ่มต้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944[7][8] และต่อเนื่องไปจนถึงการสิ้นสุดสงครามในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945[9][10] กองทัพเรือฝ่ายสัมพันธมิตรและหน่วยกองบินเชิงยุทธวิธีที่เน้นภาคพื้นดินเป็นหลักยังโจมตีประเทศญี่ปุ่นระหว่าง ค.ศ. 1945[11]การทัพทางอากาศของกองทัพสหรัฐต่อประเทศญี่ปุ่นอย่างเอาจริงเอาจังเริ่มต้นในกลาง ค.ศ. 1944[7][12] และรุนแรงขึ้นในช่วงหลายเดือนสุดท้ายของสงคราม[13] ขณะที่แผนในการโจมตีประเทศญี่ปุ่นมีการเตรียมการไว้ก่อนสงครามแปซิฟิกจะเกิดขึ้น แต่จะไม่สามารถปฏิบัติตามแผนได้หากเครื่องบินทิ้งระเบิด บี-29 ซูเปอร์ฟอร์เทรส ยังไม่พร้อมในการออกรบ[14] ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944 จนถึง เดือนมกราคม ค.ศ. 1945 เครื่องบินทิ้งระเบิด บี-29 จอดพักอยู่ที่ประเทศอินเดีย[15] ตลอดจนประเทศจีนเตรียมออกปฏิบัติการการโจมตีเป้าหมายทางตะวันตกของประเทศญี่ปุ่นติดต่อกัน 9 ครั้ง แต่ความพยายามนี้ไม่เกิดผล[16][17] การทัพด้วยการทิ้งระเบิดเชิงกลยุทธ์ได้แผ่ขยายไปทั่วตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1944 เมื่อฐานทัพในหมู่เกาะมาเรียนาว่างพร้อมใช้อันเป็นผลจากการทัพหมู่เกาะมาเรียนา[18] โดยแต่เดิม การโจมตีเหล่านี้พยายามมุ่งเน้นเป้าหมายไปที่สิ่งปลูกสร้างอุตสาหกรรมโดยการใช้ยุทธวิธีทิ้งการระเบิดจากระดับความสูงต่ำตอนกลางวัน "อย่างแม่นยำ" ซึ่งส่วนใหญ่แล้วไม่เกิดผล[19] ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 เครื่องบินทิ้งระเบิดเปลี่ยนยุทธวิธีเป็นการทิ้งระเบิดเพลิงจากระดับความสูงต่ำตอนกลางคืนลงใส่พื้นที่เมือง[20] ยุทธวิธีใหม่นี้สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างต่อพื้นที่เมือง[21] นอกจากนี้ เครื่องบินรบจากเรือบรรทุกเครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตร[5] และหมู่เกาะรีวกีว[22] ยังจู่โจมเป้าหมายในประเทศญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่องในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1945 เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมล่วงหน้าสำหรับแผนการบุกประเทศญี่ปุ่นที่มีกำหนดการโจมตีในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1945[15] ในช่วงต้นเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 เมืองในฮิโรชิมะและนางาซากิ[23][24] ถูกโจมตีและส่วนใหญ่ถูกพังทลายโดยระเบิดปรมาณู[25]กองทัพของประเทศญี่ปุ่นและการป้องกันพลเรือนไม่สามารถหยุดยั้งการโจมตีของฝ่ายสัมพันธมิตรได้[26] จำนวนของเครื่องบินขับไล่และปืนต่อต้านทางอากาศที่ติดตั้งไว้บนหมู่เกาะนั้นไม่เพียงพอ[27] และเครื่องบินรบและปืนส่วนใหญ่ประสบปัญหาในการตอบโต้กลับ บี-29 ที่ทำการบินในระดับความสูง[28] การขาดแคลนน้ำมัน[29] การฝึกหัดของนักบินที่ไม่เพียงพอ และการขาดการประสานงานกันระหว่างหน่วยจำกัดประสิทธิภาพของกองบินเครื่องบินรบ[30] แม้เมืองต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่นนั้นอ่อนแอต่อการโจมตีด้วยระเบิดเพลิง บริการดับเพลิงขาดการฝึกฝนและเครื่องมือ[31] นอกจากนี้ ยังมีที่หลบภัยทางอากาศน้อยแห่งสำหรับพลเรือน[32] ท้ายที่สุด บี-29 สร้างความเสียหายร้ายแรงต่อพื้นที่เมืองและความสูญเสียของประชาชนในเมืองเล็กน้อย[33]การทัพด้วยการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่สร้างอิทธิพลต่อการตัดสินใจที่จะยอมจำนนในกลางเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945[34] อย่างไรก็ตาม มีการโต้เถียงอย่างยาวนานเกี่ยวกับศีลธรรมในการโจมตีเมืองในประเทศญี่ปุ่น[35] รวมถึงการใช้อาวุธปรมาณูที่เป็นที่ถกเถียงมากที่สุด[36] มีการคาดการณ์จำนวนยอดผู้เสียชีวิตทั้งหมดจากหลายแหล่งไม่เหมือนกัน แต่จะอยู่ในพิสัยระหว่าง 241,000 ถึง 900,000 ราย[37][38][39] นอกจากความสูญเสียที่เกิดขึ้นเป็นส่วนใหญ่ต่อชีวิตของพลเรือน การโจมตีสร้างความตกต่ำครั้งใหญ่ต่อการผลิตภาคอุตสาหกรรม[40]

การโจมตีทางอากาศที่ญี่ปุ่น

วันที่สถานที่ผล
วันที่18 เมษายน ค.ศ. 1942 – 15 สิงหาคม ค.ศ. 1945
สถานที่หมู่เกาะญี่ปุ่น
ผลฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ
ผล ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ
สถานที่ หมู่เกาะญี่ปุ่น
วันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1942 – 15 สิงหาคม ค.ศ. 1945

ใกล้เคียง

การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ การโจมตีทางอากาศที่ญี่ปุ่น การโจมตีด้วยโดรน การโจมตียะลา พ.ศ. 2562 การโจมตีท่าอากาศยานนานาชาติจินนาห์ พ.ศ. 2557 การโจมตีโรงแรมดุสิตดีทู ไนโรบี การโจมตีโตเกียว เดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 การโจมตีเกาะงู การโจมตีเคมีที่ดูมา การโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการ

แหล่งที่มา

WikiPedia: การโจมตีทางอากาศที่ญี่ปุ่น http://www.airforcemag.com/MagazineArchive/Documen... http://www.airforcemag.com/MagazineArchive/Pages/2... http://www.thelancet.com/pdfs/journals/lancet/PIIS... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16089003 http://www.afhso.af.mil/shared/media/document/AFD-... http://www.afhso.af.mil/shared/media/document/AFD-... http://www.nationalmuseum.af.mil/factsheets/factsh... http://www.history.army.mil/armyhistory/AH93(W).pd... http://www.history.army.mil/books/wwii/MacArthur%2... http://www.afa.org/magazine/1990/1090bat.html