การยอมจำนนของญี่ปุ่น

การฟื้นฟูพระราชอำนาจ
สงครามโบชิน
กบฏซัตสึมะ
สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง
การแทรกแซงสามฝ่าย
กบฎนักมวย
พันธมิตรอังกฤษ-ญี่ปุ่น
สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น
การผนวกดินแดนเกาหลีสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
การแทรกแซงไซบีเรีย
กฎหมายการเลือกตั้งทั่วไป
สนธิสัญญาห้ามหาอำนาจ
วิกฤตการณ์การเงินโชวะ
กระบวนการสันติภาพแมนจูกัว
กติกาสัญญาต่อต้านคอมมิวนิสต์สากล
สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
กติกาสัญญาไตรภาคี
กติกาสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่น
สงครามแปซิฟิก
การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ
สงครามโซเวียต-ญี่ปุ่น
การยอมจำนนของญี่ปุ่น
การยึดครองญี่ปุ่นโดยฝ่ายสัมพันธมิตรการยอมจำนนของจักรวรรดิญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 ปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สอง ก่อนหน้านั้น เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1945 กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นไม่สามารถดำเนินปฏิบัติการและการบุกครองญี่ปุ่นของฝ่ายสัมพันธมิตรใกล้เข้ามา ผู้นำญี่ปุ่น (สภาสั่งการสงครามสูงสุด หรือ "บิ๊กซิกส์", Big Six) แม้จะแถลงต่อสาธารณะแสดงเจตนาว่าจะต่อสู้ต่อไปจนจบ แต่ร้องขออย่างลับ ๆ ให้สหภาพโซเวียตซึ่งเป็นกลางในขณะนั้น เป็นผู้ไกล่เกลี่ยสันติภาพบนเงื่อนไขที่ญี่ปุ่นได้ประโยชน์ ขณะเดียวกัน สหภาพโซเวียตเตรียมโจมตีญี่ปุ่น ตามคำมั่นต่อสหรัฐและสหราชอาณาจักรที่ให้ไว้ในการประชุมเตหะรานและยอลตาวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 สหรัฐทิ้งระเบิดปรมาณูที่นครฮิโรชิมะ เย็นวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1945 สหภาพโซเวียตประกาศสงครามต่อญี่ปุ่น อันเป็นไปตามความตกลงยอลตา แต่ละเมิดสนธิสัญญาความเป็นกลางโซเวียต–ญี่ปุ่น และไม่นานหลังเที่ยงคืนวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1945 สหภาพโซเวียตบุกครองรัฐหุ่นเชิดแมนจูกัวของจักรวรรดิญี่ปุ่น วันเดียวกัน สหรัฐทิ้งระเบิดปรมาณูลูกที่สองที่นางาซากิ ความตระหนกจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ทำให้สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะทรงเข้าแทรกแซงและบัญชาให้ผู้นำบิ๊กซิกส์ยอมรับเงื่อนไขยุติสงครามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรตั้งไว้ในแถลงการณ์พอตสดัม หลังการเจรจาหลังฉากหลายวันและรัฐประหารที่ล้มเหลว สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะจึงพระราชทานพระราชดำรัสทางวิทยุที่บันทึกไว้แพร่สัญญาณทั่วจักรวรรดิเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ในพระราชดำรัสดังกล่าว อันเรียกว่า เกียวกุอง โฮโซ พระองค์ทรงประกาศว่าญี่ปุ่นยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตรวันที่ 28 สิงหาคม การยึดครองญี่ปุ่นโดยผู้บัญชาการสูงสุดแทนฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มขึ้น พิธียอมจำนนจัดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กันยายน บนเรือรบยูเอสเอส มิสซูรี (BB-63) ของกองทัพเรือสหรัฐ ซึ่งข้าราชการจากรัฐบาลญี่ปุ่นลงนามตราสารยอมจำนนของญี่ปุ่น และยุติความเป็นศัตรูกันในสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งพลเรือนและทหารฝ่ายสัมพันธมิตรล้วนเฉลิมฉลองวันแห่งชัยชนะเหนือญี่ปุ่น อย่างไรก็ดี ทหารและกำลังพลบางส่วนที่ถูกโดดเดี่ยวของจักรวรรดิญี่ปุ่นทั้งในทวีปเอเชียและหมู่เกาะแปซิฟิกปฏิเสธที่จะยอมจำนนเป็นเวลาหลายเดือนและหลายปีหลังจากนั้น บางคนปฏิเสธกระทั่งคริสต์ทศวรรษ 1970 บทบาทของการทิ้งระเบิดปรมาณูในการยอมจำนนของญี่ปุ่น และจริยธรรมของการโจมตีทั้งสองยังเป็นที่ถกเถียง สถานะสงครามระหว่างญี่ปุ่นและฝ่ายสัมพันธมิตรยุติลงอย่างเป็นทางการเมื่อสนธิสัญญาซานฟรานซิสโกมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1952 และอีกสี่ปีให้หลัง ก่อนที่ญี่ปุ่นและสหภาพโซเวียตจะลงนามแถลงการณ์ร่วมโซเวียต–ญี่ปุ่น ค.ศ. 1956 ซึ่งยุติสถานะสงครามระหว่างสองประเทศอย่างเป็นทางการ

ใกล้เคียง

การยอมจำนนของญี่ปุ่น การยอมรับ การยอมรับความต่างทางศาสนา การยอมจำนน การยอมรับปฏิทินกริกอเรียน การยอมรับตนเอง การยอมจำนนของเยอรมนี การอับปางของเรืออาร์เอ็มเอส ไททานิก การยกกำลัง การออกกำลังกาย