การโจมตีอิสราเอลด้วยจรวดของปาเลสไตน์
การโจมตีอิสราเอลด้วยจรวดของปาเลสไตน์

การโจมตีอิสราเอลด้วยจรวดของปาเลสไตน์

ตั้งแต่ปี 2544 นักรบชาวปาเลสไตน์ยิงจรวดและปืนครกหลายพันลูกและนัดต่ออิสราเอลจากฉนวนกาซา โดยเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลที่กำลังดำเนินอยู่ ตั้งแต่ปี 2547 ถึง 2557 การโจมตีดังกล่าวฆ่าพลเรือนชาวอิสราเอล 27 คน พลเมืองต่างด้าว 5 คน ทหาร IDF 5 คน และชาวปาเลสไตน์อีกอย่างน้อย 11 คน[1] แต่ผลกระทบหลักคือทำให้เกิดการบาดเจ็บทางใจอย่างกว้างขวางและการรบกวนชีวิตประจำวันของพลเมืองชาวอิสราเอล การศึกษาทางการแพทย์ในสะเดรอด (Sderot) นครของอิสราเอลที่อยู่ใกล้ฉนวนกาซามากที่สุด พบอุบัติการณ์ของความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PTSD) ในเด็กเล็กถึง 50% เช่นเดียวกับอัตราโรคซึมเศร้าและการแท้งสูง[2][3][4] ผลสำรวจความเห็นสาธารณะซึ่งจัดทำในเดือนมีนาคม 2556 พบว่าชาวปาเลสไตน์ส่วนใหญ่ไม่สนับสนุนการยิงจรวดใส่อิสราเอลจากฉนวนกาซาและมีเพียง 38% สนับสนุนการใช้ และกว่า 80% สนับสนุนการประท้วงแบบไม่รุนแรง[5] การสำรวจอีกครั้งหนึ่งที่จัดทำในเดือนกันยายน 2557 พบว่าชาวปาเลสไตน์ 80% สนับสนุนการยิงจรวดใส่อิสราเอลหากไม่อนุญาตให้เข้าออกกาซาอย่างอิสระ[6] การโจมตีด้วยจรวดเหล่านี้ทำให้ต้องยกเลิกเที่ยวบินที่ท่าอากาศยานนานาชาติเบนกูเรียน[7]อาวุธดังกล่าว ซึ่งเรียกรวม ๆ ว่า กัสซัม เดิมหยาบและมีพิสัยใกล้ โดยมีผลต่อสะเดรอดและชุมชนอื่นที่อยู่ติดฉนวนกาซาเป็นหลัก ในปี 2006 เริ่มมีการใช้จรวดที่มีความซับซ้อนมากขึ้น โดยมีพิสัยถึงนครชายฝั่งแอชคะลอน (Ashkelon) ที่มีขนาดใหญ่กว่า ต้นปี 2552 นครใหญ่แอชดอด (Ashdod) และเบียร์ชีบา ถูกจรวดยิง ในปี 2555 เยรูซาเล็มและศูนย์กลางพาณิชย์ของอิสราเอล เทลอาวีฟ ตกเป็นเป้าของจรวด[8] และในต้นเดือนกรกฎาคม 2557 นครไฮฟาทางเหนือตกเป็นเป้าครั้งแรก[9] โปรเจกไทล์บางชนิดมีฟอสฟอรัสขาวซึ่งกล่าวกันว่ารีไซเคิลจากเครื่องกระสุนที่ไม่ระเบิดที่อิสราเอลใช้ทิ้งระเบิดกาซา[10][11][12][13][14]กลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์ทุกกลุ่มลงมือโจมตีดังกล่าว[15] และก่อนหน้าสงครามกาซา ปี 2551–2552 ได้รับการสนับสนุนจากชาวปาเลสไตน์ส่วนใหญ่อยู่เนือง ๆ[16][17][18][19] แม้เป้าหมายที่แถลงไว้จะไม่ตรงกัน การโจมตีเหล่านี้ถูกประณามอย่างกว้างขวางเพราะมุ่งเป้าพลเรือน และสหประชาชาติ สหภาพยุโรปและข้าราชการอิสราเอลเรียกการโจมตีดังกล่าวว่าเป็นการก่อการร้าย และกลุ่มสิทธิมนุษยชนองค์การนิรโทษกรรมสากลและฮิวแมนไรต์วอชนิยามว่าเป็นอาชญากรรมสงคราม ประชาคมนานาชาติถือว่าการโจมตีไม่เลือกต่อพลเรือนและสิ่งปลูกสร้างพลเรือนซึ่งไม่แยกแยะระหว่างเป้าหมายพลเรือนและทหารมิชอบด้วยกฎหมายภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ[20][21]การป้องกันของอิสราเอลที่มีการก่อสร้างขึ้นเพื่อรับมือกับอาวุธดังกล่าวโดยเฉพาะได้แก่ป้อมสนามสำหรับโรงเรียนและป้ายหยุดรถโดยสารประจำทางตลอดจนระบบเตือนภัยชื่อ เรดคะเลอร์ อิสราเอลพัฒนาไอเอิร์นโดม ระบบดักจับจรวดพิสัยใกล้ และมีการนำมาใช้ครั้งแรกในฤดูใบไม้ผลิปี 2554 เพื่อคุ้มครองเบียร์ชีบาและแอชคะลอน แต่ข้าราชการและผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าอาจไม่ได้ผลอย่างสมบูรณ์ในวัฏจักรความรุนแรง การโจมตีด้วยจรวดสลับกับการปฏิบัติทางทหารของอิสราเอล นับแต่อินติฟาดาอัลอักซออุบัติ (30 กันยายน 2543) ถึงเดือนมีนาคม 2556 มีการยิงจรวด 8,749 ลูกและปืนครก 5,047 นัดต่ออิสราเอล[22] ส่วนอิสราเอลดำเนินปฏิบัติการทางทหารหลายครั้งในฉนวนกาซา ครั้งล่าสุดได้แก่ ปฏิบัติการโพรเทกทิฟเอดจ์ (ปี 2557)

ใกล้เคียง

การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ การโจมตีทางอากาศที่ญี่ปุ่น การโจมตีด้วยโดรน การโจมตีท่าอากาศยานนานาชาติจินนาห์ พ.ศ. 2557 การโจมตียะลา พ.ศ. 2562 การโจมตีโรงแรมดุสิตดีทู ไนโรบี การโจมตีเกาะงู การโจมตีโตเกียว เดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 การโจมตีเคมีที่ดูมา การโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการ

แหล่งที่มา

WikiPedia: การโจมตีอิสราเอลด้วยจรวดของปาเลสไตน์ http://www.algemeiner.com/2014/09/30/80-of-palesti... http://www.haaretz.com/hamas-launches-first-phosph... http://www.haaretz.com/news/diplomacy-defense/isra... http://www.jpost.com/Breaking-News/Missiles-fired-... http://www.jpost.com/Defense/Article.aspx?id=29217... http://www.jpost.com/Health/Article.aspx?id=304334 http://www.jpost.com/Israel/Eshkol-council-head-fi... http://www.ynetnews.com/articles/0,7340,L-3656311,... http://www.ynetnews.com/articles/0,7340,L-3739071,... http://www.ynetnews.com/articles/0,7340,L-3955304,...