หลังสมัยฮาดริอานุส ของ กำแพงฮาดริอานุส

ส่วนหนึ่งของกำแพงฮาดริอานุสไม่ไกลจากเฮาสเตดส์ภาพเขียนกำแพงโดย วิลเลียม เบลล์ สกอตต์กำแพงฮาดริอานุสใกล้กับป้อมเบอร์ดอสวอลด์ที่ได้รับความเสียหายจากการใช้ยาฆ่าแมลงที่ทำลายจุลินทรีย์ที่ช่วยรักษาหิน

หลังจากจักรพรรดิฮาดริอานุสเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 138 แล้ว จักรพรรดิองค์ใหม่อันโตนินัส ไพอัส (Antoninus Pius) ก็ทรงหมดความสนใจกับกำแพงและทิ้งไว้ให้เป็นกำแพงรอง ขณะเดียวกันก็ขึ้นไปสร้างกำแพงใหม่ลึกเข้าไปในสกอตแลนด์ราว 160 กิโลเมตร (100 ไมล์) เหนือกำแพงฮาดริอานุสเดิมที่เรียกว่ากำแพงอันโตนิน กำแพงนี้ยาว 40 โรมันไมล์ (ราว 60.8 กิโลเมตรหรือ 37.8 ไมล์) และมีป้อมมากกว่ากำแพงฮาดริอานุสมาก แต่กำแพงอันโตนินก็ไม่สามารถป้องการรุกรานชนเผ่าจากทางเหนือได้ เมื่อมาร์คัส ออเรลิอัส (Marcus Aurelius) ขึ้นเป็นจักรพรรดิโรมันพระองค์ก็ทรงเลิกใช้กำแพงอันโตนินและหันกลับมายึดกำแพงฮาดริอานุสเป็นหลักตามเดิมในปี ค.ศ. 164 กองทหารโรมันยังคงประจำการที่กำแพงฮาดริอานุสเรื่อยมาจนกระทั่งโรมันถอยจากบริเตน ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5

ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 4 การรุกรานของบาร์บาเรียน, สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และการปฏิวัติกันในหมู่ทหารก็เป็นผลให้อำนาจของโรมันในบริเตนอ่อนแอลง เมื่อมาถึงปี ค.ศ. 410 การครอบครองของโรมันในบริเตนจึงยุติลง บริเตนถูกทิ้งไว้ให้บริหารและป้องกันตัวเอง กองทหารประจำการกำแพงฮาดริอานุสที่ขณะนั้นก็คงจะเป็นทหารท้องถิ่นที่ไม่มีหนทางไปไหนก็คงตั้งตัวอยู่ที่นั่นอีกหลายชั่วคนต่อมา หลักฐานทางโบราณคดีกล่าวว่าบางส่วนของกำแพงมีผู้ประจำการต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 5 กำแพงตั้งอยู่จนมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8 เมื่อถูกนำไปใช้ในการก่อสร้างสำนักสงฆ์จาร์โรว์ (Jarrow Priory) และมาจนเมื่อนักบุญบีดบรรยายถึงกำแพงในหนังสือ “ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับศาสนาของชนอังกฤษ” แต่เข้าใจผิดว่าจักรพรรดิเซ็พติมิอัส เซเวอรัสเป็นผู้สร้างกำแพง

ในที่สุดกำแพงก็อยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรมลงหลังจากการขาดการดูแลรักษาเป็นเวลานาน วัสดุที่ใช้ในการสร้างกำแพงบางส่วนก็ถูกขนไปใช้ในการสร้างสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียงจนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20

การอนุรักษ์

กำแพงส่วนใหญ่สูญหายไปเกือบหมด แต่ผู้ที่สมควรได้รับการสรรเสริญในการอนุรักษ์กำแพงที่ยังคงหลงเหลืออยู่คือจอห์น เคลย์ตัน (John Clayton) จอห์น เคลย์ตันได้รับการศึกษาในการเป็นทนายและมาทำงานเป็นเสมียนอยู่ที่นิวคาสเซิลราวคริสต์ทศวรรษ 1830 เคลย์ตันกลายมาเป็นผู้สนใจในการอนุรักษ์กำแพงอย่างจริงจังหลังจากที่เดินทางไปเที่ยวที่เชสเตอร์ เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้ชาวนาขนหินจากกำแพงไปใช้เคลย์ตันก็เริ่มซื้อที่ดินในบริเวณกำแพง ต่อมาในปี ค.ศ. 1834 เคลย์ตันก็เริ่มกว้านซื้อที่ดินในบริเวณสตีลริกก์ จนกระทั่งได้เป็นเจ้าของที่ดินตั้งแต่บรุนตันไปจนถึงคอว์ฟิลด์ส ที่รวมทั้งกำแพงในเชสเตอร์, คาร์รอว์บะระห์, เฮาสเตดส์ และวินโดแลนดา นอกจากนั้นแล้วเคลย์ตันก็ยังทำการขุดค้นทางโบราณคดีที่ป้อมที่ซิเลอร์นัม (Cilurnum) และที่เฮาสเต็ดส์และป้อมไมล์บางป้อม

เคลย์ตันไม่เพียงแต่จะเป็นเจ้าของที่ดินบริเวณกำแพงเท่านั้น แต่ยังใช้ที่ดินในการทำฟาร์มและปรับปรุงวิธีการใช้ที่ดินและการเลี้ยงสัตว์และทำรายได้ดีพอที่จะนำมาใช้ในการบูรณปฏิสังขรณ์กำแพงได้ หลังจากเคลย์ตันเสียชีวิตแล้วที่ดินตกไปเป็นของญาติผู้ที่เสียที่ดินไปกับการพนัน ในที่สุดองค์การอนุรักษ์แห่งชาติ (National Trust for Places of Historic Interest or Natural Beauty) ก็เริ่มกระบวนการในการเป็นเจ้าของที่ดินที่เป็นที่ตั้งของกำแพง

ภายในคฤหาสน์วอลลิงตัน (Wallington Hall) ไม่ไกลจากมอร์เพ็ธมีภาพเขียนโดยวิลเลียม เบลล์ สกอตต์ (William Bell Scott) ที่เป็นภาพของนายทหารโรมันยืนดูแลการก่อสร้างกำแพง ที่ใบหน้าของนายทหารคือใบหน้าของเคลย์ตัน

มรดกโลก

กำแพงฮาดริอานุสได้รับเลือกให้เป็นมรดกโลกโดยยูเนสโกในปีค.ศ. 1987 และในปี ค.ศ. 2005 ก็กลายเป็นส่วนหนี่งของมรดกโลก “เขตแดนของจักรวรรดิโรมัน” ที่รวมทั้งสถานที่อื่นๆ ในเยอรมนี[6]

ทางเดินกำแพงฮาดริอานุส

ในปี ค.ศ. 2003 องค์การทางเดินแห่งชาติ (National Trails) ของอังกฤษก็เปิดทางเดินที่ตามแนวกำแพงตั้งแต่วอลล์สเอ็นด์ไปจนถึงโบว์เนสส์ออนซอลเวย์.[7] แต่สามารถใช้ได้เฉพาะในฤดูร้อนเพราะที่ดินในบริเวณกำแพงเป็นที่ดินที่ได้รับความเสียหายง่าย[8]

ใกล้เคียง

กำแพงเมืองจีน กำแพงเบอร์ลิน กำแพงฮาดริอานุส กำแพงเมืองเชียงใหม่ กำแพงหมากฝรั่ง กำแพงเมืองและป้อมปราการกรุงเทพมหานคร กำแพงป้องกัน กำแพงเมืองโบราณคาโน กำแพงแอตแลนติก กำแพงแก้ว

แหล่งที่มา

WikiPedia: กำแพงฮาดริอานุส http://whc.unesco.org/en/list/430/ http://whc.unesco.org/pg.cfm?cid=31&id_site=430 http://news.bbc.co.uk/1/hi/england/5119840.stm http://www.bbc.co.uk/history/ancient/romans/hadria... http://www.harveymaps.co.uk http://www.megalithic.co.uk/article.php?sid=18177 http://www.nationaltrail.co.uk/HadriansWall/ http://www.nationaltrail.co.uk/HadriansWall/text.a... http://www.takingthepic.co.uk/featured-photography... http://accessibility.english-heritage.org.uk/defau...