แจ่งเมืองเชียงใหม่ ของ กำแพงเมืองเชียงใหม่

กำแพงเมืองเชียงใหม่มีแจ่ง (มุม) 4 แจ่ง ซึ่งถือเป็นป้อมปราการของเมืองในอดีต ได้แก่

  • แจ่งศรีภูมิ เดิมชื่อ แจ่งสะหลีภูมิ เป็นแจ่งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือที่มาของชื่อหมายถึง ศรีแห่งเมือง ถือเป็นจุดแรกเริ่มของการสร้างเมืองเชียงใหม่ เชื่อมต่อถนนอัษฏาธร ออกไปยังตลาดคำเที่ยง และถนนวิชยานนท์ ออกไปยังตลาดเมืองใหม่, เจดีย์ขาว
  • แจ่งก๊ะต้ำ หรือ แจ่งขะต๊ำ เป็นแจ่งทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ที่มาของชื่อหมายถึง กับดัก เป็นเครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง เพราะมุมด้านนี้อยู่ต่ำสุดมีปลาชุกชุม จึงมีผู้คนมาดักปลาโดยใช้ ขะต๊ำเชื่อมต่อถนนศรีดอนชัย ออกไปยังไนท์บาร์ซ่า, ขัว(สะพาน)เหล็ก, ถนนช้างคลาน
  • แจ่งกู่เฮือง เป็นแจ่งทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ที่มาของชื่อเนื่องจากเป็นที่เก็บอัฐิของ อ้ายเฮือง ผู้คุมของแจ่งนี้
  • แจ่งหัวลิน เป็นแจ่งด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ที่มาของชื่อเนื่องจากเป็นจุดรับน้ำจากห้วยแก้ว (ดอยสุเทพ) ผ่านราง (ลิน) ถือว่าเป็นภูมิปัญญาของระบบน้ำประปาแบบโบราณ เชื่อมต่อถนนสุเทพ ออกไปยังดอยสุเทพ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สวนสัตว์เชียงใหม่
  • แจ่งศรีภูมิ
  • แจ่งก๊ะต้ำ
  • แจ่งกู่เฮือง
  • แจ่งหัวลิน

นอกจากนี้ ยังมี แจ่งหายยา (บ้างก็เรียกแจ่งทิพเนตร) ซึ่งเป็นแจ่งของกำแพงเมืองชั้นนอกหลงเหลืออยู่และมีสภาพดีมาก เป็นแจ่งที่ก่อด้วยอิฐมีลักษณะเป็นป้อมอย่างแจ่งกู่เฮือง ตั้งอยู่ทางใต้จากแจ่งกู่เฮืองราว 600 เมตร

ใกล้เคียง

กำแพงเมืองจีน กำแพงเบอร์ลิน กำแพงฮาดริอานุส กำแพงเมืองเชียงใหม่ กำแพงหมากฝรั่ง กำแพงเมืองและป้อมปราการกรุงเทพมหานคร กำแพงป้องกัน กำแพงเมืองโบราณคาโน กำแพงแอตแลนติก กำแพงแก้ว