นโยบายรัฐบาลกับกิจการเพื่อสังคม ของ กิจการเพื่อสังคม

รัฐบาลของหลากหลายประเทศเห็นความสำคัญของกิจการเพื่อสังคม และมีนโยบายในการสนับสนุนกิจการเพื่อสังคม เช่นในประเทศอังกฤษ มีการก่อตั้งหน่วยงานชื่อ Office of the Third Sector (OTS) ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักคณะรัฐมนตรี โดย OTS มีนโยบายหลัก คือการผลักดันและสนับสนุนกิจการเพื่อสังคม และยังช่วยเหลือในด้านการให้ข้อมูลและคำปรึกษาที่ดี การเข้าถึงแหล่งเงินทุน และลดอุปสรรคในการทำงานร่วมกับภาคธุรกิจเอกชน นอกจากนี้ยังมีคณะทำงานเฉพาะกิจ Social Investment Task Force ซึ่งทำหน้าที่ให้คำแนะนำแก่รัฐบาลในเรื่องการขยายตัวของกองทุน Phoenix (กองทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชนโดยการกระตุ้นการลงทุนผ่านทางสังคมและธุรกิจ) การจัดตั้งการให้เครดิตทางภาษีของการลงทุนเพื่อชุมชน การให้ความช่วยเหลือของภาครัฐสู่กองทุนร่วมพัฒนาชุมชน และการสนับสนุนการพัฒนาทางด้านการเงินแก่ชุมชน

ประเทศแคนาดามีเงินกองทุนสนับสนุน Social Enterprise ภายใต้การดูแลของรัฐมนตรีด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และศักยภาพ พร้อมทั้งมีการออกพระราชบัญญัติความร่วมมือขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไร โดยลดความแตกต่างของกฎระเบียบสำหรับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรและรัฐบาล ปรับปรุงความน่าเชื่อทางการเงิน ทำให้บทบาทและความรับผิดชอบของพนักงานและผู้อำนวยการมีความเข้าใจง่าย และปกป้องสิทธิของสมาชิก นอกจากนั้นยังก่อตั้ง Co-operative Development Initiative (CDI) ในปี 2003 ซึ่งเป็นโครงการ 5 ปี เพื่อช่วยพัฒนา ทำวิจัย รวมถึงทดลองใช้นวัตกรรมกับของโมเดลของสหกรณ์ต่างๆ

ในส่วนภูมิภาคเอเชีย ประเทศสิงคโปร์ มีการจัดตั้งกองทุน Social Enterprise (Social Enterprise Fund - SEF) ซึ่งเป็นผู้ให้เงินทุนสนับสนุนเริ่มต้นสำหรับกิจการเพื่อสังคม และยังมีการจัดตั้งคณะกรรม Social Enterprise Committee (SEC) โดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นความรับผิดชอบทางสังคมของธุรกิจ สร้างกิจการเพื่อสังคมที่มีความชำนาญด้านสิ่งแวดล้อม และสร้างวัฒนธรรมของการเป็นผู้ประกอบการด้านสังคม

สำหรับประเทศไทย รัฐบาลได้มีการตั้งคณะกรรมการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคม และกำลังเร่งจัดทำแผนแม่บทสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคม[1]

ใกล้เคียง

กิจการเพื่อสังคม กิจการของอัครทูต กิจการวิทยุคมนาคม กิจการเคลื่อนที่ทางทะเล กิจการนักศึกษา กิจการร่วมค้า กิจการร่วมค้า อะครอส เดอะ ยูนิเวิร์ส กิจการวิทยุสมัครเล่น กิจการวิทยุอาสาสมัคร กิจการ