กี่ต๋อง
กี่ต๋อง

กี่ต๋อง

กี่ต๋อง (จีน: 童乩; พินอิน: tóngjī) คือ คนทรงในความเชื่อของจีน[1]โดยธรรมเนียมของร่างทรงของเทพเจ้าจีนซึ่งจะลงมาประทับร่างม้าทรงเฉพาะทุกๆเทศกาลกินเจหรือในโอกาสสำคัญต่างๆตามแต่เทพเจ้าที่ประจำร่างม้าทรงนั้นจะลงมาประทับร่าง (กี่ต๋อง) แต่ก็มิใช้ว่าจะลงมาประทับได้ทุกวัน เชื่อกันว่าการเข้าทรงของพระจีนเป็นการแสดงอิทธิฤทธิ์ของพระจีนและสามารถปัด เป่าสิ่งชั่วร้าย บันดาลความสุขให้แก่ผู้เคารพเลื่อมใสพระจีน.และเชื่อกันว่าผู้ที่เป็นม้าทรง (กี่ต๋อง)ของพระจีนได้ เป็นผู้มีบุญที่เทพเจ้าเลือกแล้ว แม้จะอยู่ไกลเพียงใด แต่อาการของคนจะเป็นม้าทรงจะออกมาเอง ชีวิต ของคนที่เป็นม้าทรงจะเกี่ยวข้องกับศาลเจ้าไปโดยปริยาย ม้าทรงแต่ละคนจะต้องมีพี่เลี้ยงอย่าน้อยสองถึงสามคน คือคนดูแลในเรื่องต่างๆ เช่น การใส่ต้อ การนำไปทำพิธีต่างๆ ถืออาวุธหรือสิ่งของ และม้าทรงจะต้องถือศีลกินเจ ไปทำความสะอาดศาลเจ้า เวลาศาลเจ้ามีงานวันเกิด(แซยิด) เทพเจ้าต่างๆก็ต้องเข้าร่วมงานไม่จำเป็นต้องไปประทับทรงแค่เข้ารวมในงานก็พอ และที่สำคัญม้าทรงมีหน้าที่เป็นตัวแทนของเทพเจ้าในการช่วยเหลือมนุษย์ เช่น คนป่วย ,คนมีเคราะห์ , คนที่มีปัญหาทางจิตใจ , ชีวิต , ครอบครัว โดยรวมการเข้าทรงของ พระจีน จะมาช่วยขจัดปัดเป่าทุกข์ร้อน รักษาโรคภัยไข้เจ็บ บันดาลความเจริญรุ่งเรืองในการประกอบอาชีพ และอำนวยความเป็นสิริมงคลให้แก่ผู้ที่เคารพเลื่อมใส.การแสดงอิทธิฤทธิ์ของพระจีน เมื่อพระจีนเข้าทรงแล้ว บางครั้งจะคว้าอาวุธ คู่มือ มีทั้งดาบจีน ง้าว ขวาน มีด เหล็กแหลม ลูกตุ้มเหล็ก เป็นต้น ออกมาร่ายรำ ฟาดฟัน ทิ่มแทงร่างกายตนเอง เช่น แก้ม ลิ้น แขน หน้าอก หลัง สีข้าง ตัดลิ้นออกมาเขียนยันต์เขียนฮู้ให้ผู้เคารพเลื่อมใสเก็บไว้เป็นสิริมงคล การกระทำของพระจีนม้าทรงจะไม่รู้สึกตัวไม่มีความเจ็บปวดซึ่งหลังจากพระ จีนออกจากการเข้าทรงแล้ว ร่างม้าทรงจะมีร่องรอยบาดแผลอยู่เพียงเล็กน้อย ซึ่งจะหายไปเองโดยใช้ยันต์ปิดไว้ ร่องรอยที่แก้มก็เพียงเอาเถ้าขี้ธูปอุดรูไว้ก็จะหายสนิทการรับปรึกษาแก่ผู้เลื่อมใส โดยผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือจะเล่าเรื่องของตนซึ่งพระจีนก็จะให้คำปรึกษา แนะนำ ชี้แนะวิธีปฏิบัติตามแก่กรณี ระหว่างทำพิธี จะมีการประโคม "ตัวก้อ" กลองใหญ่ "กิมก้อ" กลองเล็ก และโกก้อ "กลอง แห่ขบวน" และจุดประทัดอึกทึกเร้าใจอยู่ตลอดเวลา การออกจากร่างม้าทรง เมื่อเสร็จภารกิจ หรือตามเวลาอันสมควร พระจีนก็จะออกจากร่างม้าทรง โดยมีพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือ.[2][3][4]