การเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ของ กุ้งกุลาดำ

การเลือกสถานที่ การเลือกสถานที่นับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญเป็นอันดับหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมความสำเร็จ ประกอบด้วยปัจจัยหลายประการซึ่งเป็นองค์ประกอบในการตัดสินว่าพื้นที่ใดเหมาะสมต่อการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ทั้งยังเป็นส่วนช่วยในการเพิ่มมาตรการป้องกันความเสียหายในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ปัจจัยซึ่งจะช่วยพิจารณามีดังนี้

1.คุณภาพดิน โดย บ่อกุ้งกุลาดำที่ดีควรจะเป็นดินปนทรายและมีสภาพความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 6.5-8.5 มีคุณสมบัติกักเก็บน้ำได้ดี และคันดินไม่พังทลายง่าย

2.คุณภาพน้ำ แหล่งน้ำที่ใช้ในการเลี้ยงควรมีคุณภาพดี สะอาด ปราศจากสารเคมี สารพิษ ของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมและแหล่งชุมชน ยาฆ่าแมลง และของเสียจากโรงเลี้ยงสัตว์อื่น ๆ ซึ่งมีสารอินทรีย์เน่าเปื่อยจากพืชและสัตว์ ซึ่งจะทำให้ออกซิเจนซึ่งจำเป็นต่อการหายใจในน้ำลดต่ำลง กลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อที่ไม่ต้องการอีกด้วย แหล่งน้ำที่ใช้ควรมีปริมาณเพียงพอต่อการสูบใช้ตลอดทั้งปีและมีความเค็มที่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการส่งน้ำเข้าบ่อเลี้ยงได้โดยไม่ต้องสูบน้ำจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี

3.แหล่งพันธุ์กุ้ง พื้นที่เลี้ยงควรอยู่ใกล้หรือไม่ห่างจากแหล่งพันธุ์กุ้งกุลาดำ ทำให้สะดวกในการจัดหาลูกพันธุ์และการลำเลียงขนส่งซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพของลูกกุ้งด้วย

4.สาธารณูปโภค หรือ สิ่งอำนวยความสะดวกหลายอย่างที่จำเป็นอย่างมากต่อการเลี้ยงเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี เช่น ถนน ไฟฟ้า เพื่อสะดวกในการขนส่งอาหาร ผลผลิต การเตรียมอาหารหรือการเพิ่มออกซิเจนในบ่อเลี้ยงโดยการใช้เครื่องตีน้ำ

5.ตลาด ใน ปัจจุบันมีพ่อค้ามารับซื้อกุ้งกุลาดำถึงปากบ่ออยู่มากพอสมควร หรือทำการติดต่อห้องเย็นให้มาซื้อกุ้ง

การเตรียมบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำ1. บ่อเลี้ยงที่ขุดใหม่ สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ ความลาดชันของบ่อ บ่อที่มีความลาดชันมากจะเกิดปัญหามากกว่าบ่อที่มีความลาดชันน้อยเนื่องจากส่วนที่มีความลาดชันมาก ๆ มีพื้นที่บ่อที่รับแสงมาก จะทำให้เกิดขี้แดดและตะไคร่น้ำอย่างรวดเร็วจึงก่อให้เกิดปัญหาพื้นบ่อเสื่อมโทรมได้เร็วกว่าบ่อที่มีความลาดชันน้อย

ตรวจความเป็นกรด-ด่างของดินพื้นบ่อที่มีความลึก 30-50 ซม.ถ้ามีค่าความเป็นกรด-ด่างต่ำกว่า 8.0 ให้โรยปูนมาร์ล 50 กิโลกรัมต่อไร่ ตากไว้ให้แห้งประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะล้างบ่อหรือไม่ล้างก็ได้ แล้วจึงปล่อยน้ำจากบ่อพักเข้ามาในบ่อเลี้ยงที่สอง บ่อเก่าหรือบ่อที่ผ่านการเลี้ยงมาแล้ว สำหรับบ่อเก่าซึ่งมีสภาพเสื่อมโทรมอยู่บ้างถ้าผู้เลี้ยงไม่พิถีพิถันในการเตรียมบ่ออาจเกิดปัญหาอยู่บ้าง ดังนั้นหลังจากการจับกุ้งแล้วต้องปรับสภาพพื้นบ่อให้ดีเสียก่อนด้วยการดูด หรือฉีดเลนบริเวณก้นบ่อทิ้งแล้วตากให้แห้ง จากนั้นจึงใช้รถไถหน้าดินออกอีกครั้งหนึ่งและโรยปูนมาร์ล 80-100 กิโลกรัมต่อไร่ ตากให้แห้งประมาณ 2-3 สัปดาห์ การตากบ่อมีความจำเป็นสำหรับบ่อที่ใช้มาแล้วหลายครั้ง เพื่อเป็นการกำจัดแอมโมเนียและไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่หมักหมมอยู่ในดินแล้วล้างบ่อด้วยน้ำจากบ่อพักน้ำผ่านอวนตาถี่อีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงทำการกักเก็บน้ำสำหรับเลี้ยงต่อไปการกำจัดศัตรูในบ่อเลี้ยง ในกรณีที่บ่อไม่สามารถตากให้แห้งได้อาจเป็นเพราะบ่อมีการรั่วซึมจะใช้กากชาโรยบริเวณที่มีน้ำขังอยู่ในปริมาณ 20 กิโลกรัมต่อไร่ ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง จึงใช้ไดรโว่หรือท่อพญานาคดูดน้ำบริเวณนั้นทิ้ง ไม่จำเป็นต้องล้างบ่ออีกตะแกรงที่ประตูน้ำควรใช้ตาถี่มาก ๆ ขนาด 500-600 ไมครอน หรืออาจใช้มุ้งไนลอนเขียวอย่างดี 2 ถึง 3 ชิ้น ถ้าใช้เครื่องสูบน้ำแบบท่อพญานาคจะใช้ถุงอวนทำด้วยมุ้งเขียวที่ปลายอีกชั้นเพื่อป้องกันศัตรูกุ้งที่อาจเข้ามากับน้ำการเตรียมน้ำในบ่อเลี้ยงน้ำในบ่อเลี้ยงควรมีความลึกประมาณ 1-1.5 เมตร เพื่อช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงของความเค็มและอุณหภูมิ เพราะในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิมาก ๆ หากอุณหภูมิสูงเกินไปในช่วงที่ร้อนจัด กุ้งจะเกิดอาการงอตัวและการเกร็งของกล้ามเนื้อทำให้ช็อคตายในที่สุด อีกทั้งระดับน้ำต่ำมาก ๆ แสงแดดสามารถส่องไปถึงพื้นก้นบ่อจึงเกิดการบลูมของแพลงก์ตอนพืชอย่างรวดเร็ว แพลงก์ตอนเหล่านี้จะแย่งใช้ออกซิเจนไปจากบ่อเลี้ยงกุ้งในช่วงกลางคืนเกิดเป็นตะไคร่น้ำและขี้แดดในเวลากลางวันและในที่สุดเมื่อแพลงก์ตอนตายลงจะเกิดการสลายตัวทำให้พื้นบ่อเน่าเสียเกิดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ อันเป็นผลเสียต่อกุ้ง ดังนั้นระดับน้ำที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงกุ้งแบบหนาแน่นควรให้ระดับน้ำสูงอย่างน้อย 1.50 เมตร และควรมีเครื่องสูบน้ำแบบท่อพญานาคขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16-24 นิ้ว ในอัตรา 1 เครื่องต่อ 2 บ่อ สำหรับช่วยเพิ่มระดับน้ำในบ่อเลี้ยงได้รวดเร็วทันกับความต้องการ