กูฟีย์เทียม
กูฟีย์เทียม

กูฟีย์เทียม

กูฟีย์เทียม (อังกฤษ: Pseudo-Kufic) หรือ กูเฟสก์ (อังกฤษ: Kufesque; ลวดลายกูฟีย์) เป็นรูปแบบการตกแต่งที่ปรากฏใช้ในยุคกลางและเรนเนสซองส์[1] ประกอบด้วยการลอกเลียนแบบอักษรอาหรับกูฟีย์หรือบางครั้งเป็นอักษรอาหรับลายตวัดในบริบทที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาหรับ หรือโดยทั่วไปใช้เรียกการเลียนแบบศิลปะอาหรับในศิลปะของยุโรป[2] กูฟีย์เทียมสามารถพบได้เป็นพิเศษในศิลปะเรนเนสซองส์โดยเฉพาะในภาพเขียนที่แสดงแม่พระมารีย์พรหมจารีย์ กูฟีย์เทียมถือเป็นส่วนหนึ่งของอิทธิพลของศิลปะอิสลามต่อศิลปะตะวันตกตัวย่างของกูฟีย์เทียมในศิลปะตะวันตกส่วนใหญ่มาจากศตวรรษที่ 10-15 โดยมักปรากฏในรูปอักษรสิจิตรกูฟีย์เทียมตามบนแถบเพื่อตกแต่งในสถาปัตยกรรมของกรีกบิแซนทิน นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 11 ถึงกลางศตวรรษที่ 12 ไปจนถึงแถบประดับตกแต่งล้อมรอบวัตถุทางศาสนาในฝรั่งเศสและเยอรมนี[3] และบนวงแหวนเหนือศีรษะกับกรอบของภาพในจิตรกรรมคริสเตียน[4]