ลักษณะ ของ กูรมะ

กูรมะ (เต่า) ใต้เขามันทรคีรี มีพญานาคพันรอบเขา มีเทวดาและอสูรฉุดดึง พร้อมท่ารำของพระวิษณุในสนามบินสุวรรณภูมิ

ในยุคพระเวท คัมภีร์ศตบทพราหมณะ กล่าวว่า กูรมะถูกใช้เป็นสัณฐานของโลก โดยโลกมีสัณฐาน ได้แก่ พญานาคเป็นสัณฐานแรก และเป็นขอบของจักรวาล สัณฐานที่สองคือ กูรมะ สัณฐานที่สามคือ ช้าง 4 เชือก รองโลกที่มีลักษณะเป็นครึ่งวงกลม มีเขาพระสุเมรุเป็นแกนกลาง บนยอดเขาพระสุเมรุเป็นที่ตั้งของสวรรค์

ปุราณะ

ดูบทความหลักที่: กวนเกษียรสมุทร
กูรมะอยู่ใต้ภูเขามันทรคีรีที่มีพญานาคที่ถูกพันอยู่ที่ภูเขาในช่วงการกวนเกษียรสมุทร

ในช่วงที่เทวดาถูกฤๅษีทุรวาสสาปไม่ให้มีพลัง เพราะพระอินทร์ดูถูกท่านฤๅษี ดังนั้นพวกเทวดาจึงต้องการน้ำอมฤตเพื่อแก้คำสาป และทำข้อตกลงกับอสูรในการกวนเกษียรสมุทรเพื่อนำน้ำอมฤตออกมาและแบ่งกัน[3] ถ้าจะกวนเกษียรสมุทร พวกเขาต้องใช้ภูเขามันทรคีรีเป็นแกนและพญาวาสุกรีนาคราชเป็นเชือกในขณะที่กูรมะ(พระวิษณุ) พยุงภูเขาไม่ให้จมลงในเกษียรสมุทร[4]

พวกอสูรได้แย่งน้ำอมฤตไป พระวิษณุจึงปลอมตัวเป็นนางโมหิณีเพื่อหลอกล่ออสูรให้นำน้ำอมฤตกลับมา กว่าที่อสูรจะรู้กลอุบายนี้ก็สายเกินไปแล้ว เพราะเทวดาได้พลังกลับคืนมาแล้วเพื่อที่จะปราบศัตรูของพวกเขา