การยึดพื้นที่ ของ ขบวนการนักศึกษาทานตะวัน

สภานิติบัญญัติ

นักศึกษายึดห้องประชุมสภานิติบัญญัติ

วันที่ 18 มีนาคม 2014 ราว 21:00 นาฬิกาตามเวลาท้องถิ่น ผู้ชุมนุมปีนรั้วที่ทำการสภานิติบัญญัติขึ้นเพื่อเข้าไปภายใน การรบรันพันตูระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าพนักงานตำรวจเป็นเหตุให้ที่ทำการเสียหายเล็กน้อย แต่เจ้าพนักงานตำรวจหลายรายได้รับบาดเจ็บสาหัส สภานิติบัญญัติส่งสมาชิกผู้ 1 มาเจรจากับผู้ชุมนุม แต่ผู้ชุมนุมซึ่งเข้าไปในที่ทำการได้ประมาณ 300 คนแล้วเข้าควบคุมสถานที่ไว้เป็นผลสำเร็จ ทั้งเจ้าพนักงานตำรวจยังไม่สามารถขับพวกเขาออกไปได้ ขณะที่ผู้ชุมนุมที่เหลือซึ่งมีหลายร้อยคนยังตั้งมั่นอยู่นอกที่ทำการ บรรดาผู้ชุมนุมเรียกให้สภานิติบัญญัติพิจารณาความตกลงเป็นรายข้ออีกครั้ง มิฉะนั้น จะยึดที่ทำการไปจนถึงวันที่ 21 มีนาคม อันเป็นวันที่สภานิติบัญญัติกำหนดให้ลงมติเกี่ยวกับความตกลง เจ้าหน้าที่จึงตัดน้ำตัดไฟในที่ทำการ ณ คืนวันที่ 18 นั้นเพื่อบีบให้ผู้ชุมนุมออกไป ส่วนเจียง อีฮว่า (江宜樺 Jiāng Yīhuà ?; Jiang Yi-huah) นายกรัฐมนตรี สั่งให้เจ้าพนักงานตำรวจเข้าขับไล่ผู้ชุมนุม แต่เจ้าพนักงานตำรวจไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง[8][23]

หลังสภานิติบัญญัติถูกยึดไม่นาน มีการระดมเจ้าพนักงานตำรวจสำนักงานตำรวจแห่งชาติหลายพันคนจากทั่วประเทศเพื่อเข้าล้อมผู้ชุมนุมเอาไว้[24][25] ครั้นวันที่ 20 มีนาคม 2014 หวัง จินผิง (王金平 Wáng Jīnpíng ?; Wang Jin-pyng) ประธานสภานิติบัญญัติ แถลงว่า จะไม่ใช้กำลังต่อผู้ชุมนุม[26] นอกจากนี้ เขากล่าวในวันรุ่งขึ้นว่า จะไม่ไปพบหม่า อิงจิ่ว (馬英九 Mǎ Yīngjiǔ ?; Ma Ying-jeou) ประธานาธิบดี หรือเจียง อีฮว่า นายกรัฐมนตรี เพื่อหารือเรื่องจะทำอย่างไรต่อไป เขากล่าวด้วยว่า เป็นหน้าที่ของประธานาธิบดีที่จะต้องฟังเสียงประชาชน และสมาชิกสภานิติบัญญัติเองก็ต้องรอมชอมกันเพื่อให้เดินหน้าต่อไปได้ด้วย[27]

วันที่ 22 มีนาคม 2014 เจียง อีฮว่า ไปพบผู้ชุมนุมนอกที่ทำการสภานิติบัญญัติ และแถลงว่า สภาบริหารไม่ประสงค์จะล้มเลิกความตกลงฉบับนั้น[2] ฝ่ายประธานาธิบดีก็แถลงข่าวในวันถัดมาว่า เขาปรารถนาจะให้ความตกลงได้รับการอนุมัติ แต่ยืนยันว่า เขาไม่ได้กำลังรับสนองคำสั่งจากกรุงปักกิ่ง[28][29]

สภาบริหาร

การแถลงข่าวข้างต้นเป็นผลให้ผู้ชุมนุมแห่ไปยึดสำนักงานสภาบริหารในเวลาประมาณ 19:30 นาฬิกาของวันที่ 23 มีนาคม 2014 นั้นเอง[30] เจ้าพนักงานตำรวจใช้ปืนแรงดันน้ำขับผู้ชุมนุมไปเสียจากสำนักงานได้อย่างราบคาบในเวลา 05:00 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น แต่ไม่ช้าผู้ชุมนุมก็จับกลุ่มกันอีกครั้งตรงถนนจงเซี่ยวฝั่งตะวันออก (忠孝東路 Zhōngxiào Dōng Lù ?; Zhongxiao East Road)[31] เจ้าพนักงานตำรวจราว 100 คนจึงใช้เวลา 10 ชั่วโมงพยายามสลายผู้ชุมนุมโดยใช้แรงดันน้ำฉีดไล่และใช้ไม้พลองฟาดศีรษะ จึงถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ใช้กำลังเกินเหตุ[32] มีผู้ชุมนุมบาดเจ็บ 150 คนและถูกจับอีก 61 คน[33]

นอกจากนี้ นักข่าวและแพทย์พยาบาลยังถูกสั่งให้ไปเสียให้พ้นจากพื้นที่[32] สมาคมนักข่าวไต้หวันเปิดเผยว่า เจ้าพนักงานตำรวจใช้กำลังต่อนักข่าว เพราะปรากฏว่า โจมตีนักข่าวมากกว่า 10 ครั้ง ทั้งวิจารณ์ว่า คำสั่งไล่นักข่าวเป็นการริดรอนเสรีภาพสื่อมวลชน[34]

การเจรจา

หลิน เฟย์ฟัน ผู้นำนักศึกษา ปราศรัยในห้องประชุมสภานิติบัญญัติ

ประธานาธิบดียืนยันตลอดมาว่า จะไม่พูดคุยกับผู้ชุมนุมเป็นการส่วนตัว แต่วันที่ 25 มีนาคม 2014 เขาเรียกผู้แทนนักศึกษามาที่จวนเพื่อสนทนาเรื่องความตกลงการค้าบริการข้ามช่องแคบกับประเทศจีน[35] หลิน เฟย์ฟัน (林飛帆 Lín Fēifān ?; Lin Fei-fan) ผู้นำนักศึกษา ตกลงจะไป และกล่าวว่า นักเรียนนักศึกษาประสงค์จะสนทนาเรื่องไต้หวันควรมีสมาชิกสภานิติบัญญัติชุดใหม่เพื่อกำกับดูแลการทำความตกลงระหว่างช่องแคบทั้งหลายหรือไม่ และความตกลงฉบับที่เป็นปัญหานั้นควรค้างไว้จนกว่าจะมีสภานิติบัญญัติชุดใหม่หรือไม่มากกว่า[22]

กระนั้น ในวันที่ 26 มีนาคม 2014 เหล่าผู้แทนนักศึกษาประกาศว่า จะไม่ไปพบประธานาธิบดี เพราะเห็นว่า ประธานาธิบดีซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคชาตินิยมสามารถใช้กฎระเบียบของพรรคควบคุมสมาชิกพรรคที่เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติได้ อันจะเป็นผลให้การเจรจาระหว่างพรรคการเมืองทั้งหลายล้มเหลวอีกจนไม่อาจตอบสนองข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมได้[36][37] ผู้ชุมนุมจึงเปลี่ยนไปเรียกให้สภานิติบัญญัติตรากฎหมายเพื่อควบคุมการทำความตกลงระหว่างช่องแคบในภายภาคหน้า โดยส่งร่างกฎหมายไปให้สภานิติบัญญัติและขอให้สมาชิกสภานิติบัญญัติลงชื่อรับรอง[38]

การเดินขบวน

วันที่ 30 มีนาคม 2014 ผู้ชุมนุมเคลื่อนขบวนจากจวนประธานาธิบดีไปยังที่ทำการสภานิติบัญญัติจนเต็มถนนไข่ต๋าเก๋อหลัน (Ketagalan Boulevard) เพื่อกดดันให้ประธานาธิบดีฟังคำพวกตน[39][40] ผู้จัดการเดินขบวนว่า มีผู้คนมากกว่า 500,000 คนมาร่วม ส่วนเจ้าพนักงานตำรวจที่มาประจำการนั้นมีราว 116,000 คน[41]

ฝ่ายผู้ต่อต้านการชุมนุมก็รวมตัวกันในท้องที่เดียวกัน แต่แยกย้ายกันไปก่อนขบวนนักศึกษาสลายตัว[42] ครั้นวันที่ 1 เมษายน 2014 จาง อันเล่อ (張安樂 Zhāng Ānlè ?; Chang An-lo) นักเลงโต นำผู้สนับสนุนการทำความตกลงกับประเทศจีนเคลื่อนขบวนต่อต้านการยึดสภานิติบัญญัติบ้าง[43]

วันที่ 6 เมษายน 2014 ประธานสภานิติบัญญัติไปเยี่ยมผู้ชุมนุมซึ่งยึดที่ทำการสภานิติบัญญัติ และตกปากว่า จะเลื่อนการพิจารณาความตกลงนั้นออกไปก่อนจนกว่าจะตรากฎหมายควบคุมการทำความตกลงระหว่างช่องแคบสำเร็จตามที่ผู้ชุมนุมเรียกร้อง[44] แต่เฟ่ย์ หงไท่ (費鴻泰 Fèi Hóngtài ?; Fai Hrong-tai) รองเลขาธิการพรรคชาตินิยม บอกปัดเรื่องนั้น และติเตียนประธานสภานิติบัญญัติว่า ออกปากสิ่งใดไปไม่ปรึกษาพรรคชาตินิยมก่อน[45]

ใกล้เคียง

ขบวนการจอมราชัน คิงโอเจอร์ ขบวนการอวาทาโร่ ดงบราเธอร์ส ขบวนการสปอร์ตเรนเจอร์ ขบวนการโจรสลัด โกไคเจอร์ ขบวนการจ้าวสรรพสัตว์ จูโอเจอร์ ขบวนการโลกจักรกล เซ็นไคเจอร์ ขบวนการนักรบไดโนเสาร์ อาบะเรนเจอร์ ขบวนการนินจา คาคุเรนเจอร์ ขบวนการผู้พิทักษ์อวกาศ คิวเรนเจอร์ ขบวนการไซออนิสต์

แหล่งที่มา

WikiPedia: ขบวนการนักศึกษาทานตะวัน http://www.bbc.com/news/world-asia-26641525 http://www.bbc.com/news/world-asia-26679496 http://www.bbc.com/news/world-asia-26743794 http://www.bloomberg.com/news/2014-03-19/taiwan-st... http://www.bloomberg.com/news/2014-03-25/taiwan-s-... http://www.channelnewsasia.com/news/asiapacific/ta... http://edition.cnn.com/2014/03/19/world/asia/taiwa... http://edition.cnn.com/2014/03/26/world/asia/taiwa... http://www.cnn.com/2014/03/24/world/asia/taiwan-tr... http://abcnews.go.com/International/wireStory/chin...