ขบวนการนักศึกษาทานตะวัน
ขบวนการนักศึกษาทานตะวัน

ขบวนการนักศึกษาทานตะวัน

สภานิติบัญญัติขบวนการนักศึกษาทานตะวัน (จีน: 太陽花學運; พินอิน: Tàiyánghuā Xué Yùn; อังกฤษ: Sunflower Student Movement) เป็นชื่อเรียกกลุ่มผู้ประท้วงในประเทศไต้หวัน ประกอบด้วยนักเรียน นักศึกษา และประชาชนซึ่งรวมกำลังกันยึดสถานที่ราชการตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2014 โดยเริ่มเข้าควบคุมที่ทำการสภานิติบัญญัติ และต่อมาจึงลุกลามไปยังสำนักงานสภาบริหาร (คณะรัฐมนตรี)[2][3][4] ทั้งนี้ เพื่อต่อต้านการที่สภานิติบัญญัติ ซึ่งพรรคชาตินิยม (國民黨 Guómíndǎng ?; Kuomintang) ครองเสียงข้างมาก จะให้สัตยาบันแก่ความตกลงการค้าบริการข้ามช่องแคบ (海峽兩岸服務貿易協議 Hǎixiá Liǎng'àn Fúwù Màoyì Xiéyì ?; Cross-Strait Service Trade Agreement) ที่สภาบริหารได้ทำไว้กับประเทศจีน โดยไม่พิจารณาเป็นรายข้อผู้ประท้วงเชื่อว่า ความตกลงนี้จะกระทบเศรษฐกิจไต้หวัน เพราะจะเปิดให้จีนใช้อำนาจทางการเมืองบีบคั้นเศรษฐกิจไต้หวันจนเกิดความเสียหายร้ายแรงได้ ส่วนผู้สนับสนุนความตกลงเห็นว่า ความตกลงจะช่วยให้ทั้งจีนและไต้หวันลงทุนในตลาดของแต่ละฝ่ายได้อย่างเสรีมากขึ้น[5][6][7] เดิมที ผู้ประท้วงเรียกให้พิจารณาความตกลงอีกครั้งโดยทำเป็นรายข้อ[8] แต่ภายหลังเปลี่ยนไปเรียกให้เลิกทำความตกลงนั้นเสีย แล้วตรากฎหมายควบคุมการทำความตกลงกับจีน[9] พรรคชาตินิยมยินดีให้พิจารณาความตกลงเป็นรายข้อในวาระที่ 2[10][11] แต่ไม่เห็นด้วยที่จะส่งความตกลงกลับไปให้คณะกรรมาธิการของสภานิติบัญญัติพิจารณาอีกครั้ง[12] ต่อมา พรรคชาตินิยมยินยอมตามข้อเสนอที่ให้พิจารณาซ้ำเป็นรายข้อ แต่กล่าวว่า ต้องให้พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (民主進步黨 Mínzhǔ Jìnbù Dǎng ?; Democratic Progressive Party) เลิกคว่ำบาตรกระบวนพิจารณา พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าไม่ตกลงด้วย และแถลงว่า ควรตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกับจีนมาพิจารณาความตกลง เพราะเป็น "มติมหาชนกระแสหลัก"[13] อย่างไรก็ดี พรรคชาตินิยมบอกปัดข้อเสนอดังกล่าว[14][15]ความเคลื่อนไหวนี้นับเป็นคราวแรกในประวัติศาสตร์ชาติไต้หวันที่สภานิติบัญญัติถูกประชาชนบุกยึด[16][17] และสำนักข่าวบีบีซีเห็นว่า เป็นการชี้ชะตาไต้หวัน เพราะจะช่วยให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ทั้งจะทวีการพิทักษ์ประโยชน์ประชาชน มิใช่ประโยชน์ของพรรคการเมือง[18]

ขบวนการนักศึกษาทานตะวัน

วิธีการ
สาเหตุ
สถานะ ยังดำเนินอยู่
เป้าหมาย
  • ขัดขวางการบังคับใช้ความตกลงการค้าบริการข้ามช่องแคบ
  • ให้มีกฎหมายควบคุมความตกลงกับจีน
  • ให้คณะรัฐมนตรีลาออก[1]
สถานที่ ที่ทำการสภานิติบัญญัติ
อำเภอจงเจิ้ง กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน
25°2′39.8832″N 121°31′10.02″E / 25.044412000°N 121.5194500°E / 25.044412000; 121.5194500พิกัดภูมิศาสตร์: 25°2′39.8832″N 121°31′10.02″E / 25.044412000°N 121.5194500°E / 25.044412000; 121.5194500
วันที่ 18 มีนาคม 2014 – ปัจจุบัน (2589 วัน)

ใกล้เคียง

ขบวนการจอมราชัน คิงโอเจอร์ ขบวนการเทพสวรรค์ โกเซย์เจอร์ ขบวนการอวาทาโร่ ดงบราเธอร์ส ขบวนการโจรสลัด โกไคเจอร์ ขบวนการโลกจักรกล เซ็นไคเจอร์ ขบวนการจ้าวสรรพสัตว์ จูโอเจอร์ ขบวนการไดโนเสาร์ จูเรนเจอร์ ขบวนการผู้พิทักษ์อวกาศ คิวเรนเจอร์ ขบวนการหมัดสรรพสัตว์ เกคิเรนเจอร์ ขบวนการนักรบไดโนเสาร์ อาบะเรนเจอร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: ขบวนการนักศึกษาทานตะวัน http://www.bbc.com/news/world-asia-26641525 http://www.bbc.com/news/world-asia-26679496 http://www.bbc.com/news/world-asia-26743794 http://www.bloomberg.com/news/2014-03-19/taiwan-st... http://www.bloomberg.com/news/2014-03-25/taiwan-s-... http://www.channelnewsasia.com/news/asiapacific/ta... http://edition.cnn.com/2014/03/19/world/asia/taiwa... http://edition.cnn.com/2014/03/26/world/asia/taiwa... http://www.cnn.com/2014/03/24/world/asia/taiwan-tr... http://abcnews.go.com/International/wireStory/chin...