ประวัติของขั้นตอนวิธีของชอร์ ของ ขั้นตอนวิธีของชอร์

แนวคิดที่จะใช้การคำนวณต่าง ๆ บนอุปกรณ์ที่อยู่ทำงานด้วยพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัมเริ่มมีการนำเสนอมาตั้งแค่ทศวรรษที่ 1970 จากทั้งนักคอมพิวเตอร์ และนักฟิสิกส์หลายคน โดยแนวคิดนี้เริ่มต้นมาจากการที่พวกเขาทั้งหลายได้เริ่มไตร่ตรองถึงขีดจำกัดในการคำนวณ เนื่องมาจากกฎของมัวร์ (Moore’s law) ซึ่งจะทำให้ขนาดวงจรบนชิพซิลิกอนนั้นมีขนาดเล็กลงไปเรื่อย ๆ จนถึงขนาด 2-3 อะตอม ซึ่งถ้าหากมีขนาดเล็กขนาดนั้นก็จะทำให้อะตอมแสดงคุณสมบัติของควอนตัมออกมาในวงจร จึงเกิดแนวคิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ชนิดใหม่ที่จะทำงานบนพื้นฐานของกฎทางกลศาสตร์ควอนตัม

ในปี 1982 เฟย์แมน ได้เสนอว่า มีความเป็นไปได้ที่ควอนตัมคอมพิวเตอร์จะทำงานได้เร็วกว่าคอมพิวเตอร์ดั้งเดิมที่มีประสิทธิภาพเป็นฟังก์ชันเลขชี้กำลัง และเครื่องจักรทัวริง (Turing machine) นั้นไม่สามารถจำลองระบบทางควอนตัมได้ หากไม่ใช้ขั้นตอนเป็นฟังก์ชันเลขชี้กำลังของหน่วยย่อยในระบบ นอกจากนี้ เฟย์แมน ยังได้แนะไว้ว่า หากใช้เครื่องมือที่มีพฤติกรรมแบบควอนตัมในตัวเองแล้ว จะสามารถทำการจำลองระบบทางควอนตัมได้โดยไม่ต้องใช้ขั้นตอนเป็นเอ็กโพเนนเชียล ซึ่งจะทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถทำการทดลองทางกลศาสตร์ควอนตัมบนควอนตัมคอมพิวเตอร์ได้

ต่อมาในปี 1985 ดอยซ์ ได้ขยายแนวความคิดของ เฟย์แมน ออกไปว่า ระบบทางฟิสิกส์ใด ๆ ก็ตามสามารถจำลองได้ด้วยควอนตัมคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าควอนตัมคอมพิวเตอร์มีความสามารถมากกว่าคอมพิวเตอร์ดั้งเดิมทั้งหมด หลังจากการตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้จึงเริ่มมีการหาทางประยุกต์ใช้ควอนตัมคอมพิวเตอร์

แต่ความพยายามในการหาวิธีประยุกต์ใช้ควอนตัมคอมพิวเตอร์นี้ ยังไม่ประสบผลสำเร็จจนกระทั่ง ปีเตอร์ ชอร์ นักวิจัยของเอทีแอนด์ที (AT&T) ได้เสนอวิธีการแก้ปัญหาการแยกตัวประกอบด้วยควอนตัมคอมพิวเตอร์ในปี 1994 โดย ชอร์ แสดงให้เห็นว่าจะต้องรวมตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ที่ออกแบบมาเฉพาะกับควอนตัมคอมพิวเตอร์นั้นเข้าด้วยกันอย่างไร จึงจะสามารถทำการแยกตัวประกอบของจำนวนขนาดใหญ่ได้ จากจุดนี้เองทำให้ควอนตัมคอมพิวเตอร์ได้เปลี่ยนจากคำถามในวงการวิชาการ มาเป็นความสนใจของโลกที่จะสร้างควอนตัมคอมพิวเตอร์ขึ้นมาจริง ๆ

จนกระทั่งในปี 2001 ลีเว็น วานเดอร์ไซเพ็น นักวิจัยของไอบีเอ็ม และคณะ ได้ใช้ควอนตัมคอมพิวเตอร์แบบ เอ็นเอ็มอาร์ (NMR) ขนาด 7 คิวบิต แก้ปัญหาการแยกตัวประกอบด้วยขั้นตอนวิธีของชอร์ โดยทำการแยกตัวประกอบของ 15 ได้เป็นผลสำเร็จ

ใกล้เคียง

ขั้นตอนวิธีแบบยุคลิด ขั้นตอนวิธีการค้นหาเพื่อนบ้านใกล้สุด k ตัว ขั้นตอนวิธีของฟลอยด์-วอร์แชล ขั้นตอนวิธีของควิน-แม็กคลัสกีย์ ขั้นตอนวิธีฮังกาเรียน ขั้นตอนวิธี ขั้นตอนวิธีของชอร์ ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม ขั้นตอนวิธีโบรน-เคอร์โบสท์ ขั้นตอนวิธีของไดก์สตรา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ขั้นตอนวิธีของชอร์ http://blogs.discovermagazine.com/80beats/2011/01/... http://scottaaronson.com/blog/?p=208 http://scottaaronson.com/blog/?p=208#comment-9958 http://www.cs.berkeley.edu/~vazirani/f04quantum/no... http://www.theory.caltech.edu/people/preskill/ph22... http://people.ccmr.cornell.edu/~mermin/qcomp/chap3... http://adsabs.harvard.edu/abs/1999SIAMR..41..303S http://alumni.imsa.edu/~matth/quant/299/paper.pdf http://alumni.imsa.edu/~matth/quant/299/paper.ps http://alumni.imsa.edu/~matth/quant/299/paper.tex