ที่มา ของ ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม

ส่วนที่ถูกค้นพบมาในช่วงแรกสุดของสื่งที่เราเรียกในทุกวันนี้ว่าขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม[4] นั้นเกิดในช่วงปลายปี 1950 เขียนโดยนักชีววิทยาด้านการวิวัฒนาการโดยที่ต้องการหารูปแบบของการวิวัฒนาการตามธรรมชาติ แต่มันก็ไม่ได้ถูกมองว่าสามารถนำไปใช้สำหรับการแก้ปัญหาในด้านอื่นๆได้ แต่ก็ไม่นานนักในปี 1962 นักวิจัยเช่น G.E.P. Box, G.J. Friedman, W.W. Bledsoe และ H.J. Bremermann ทั้งหมดได้ทำการพัฒนาขั้นตอนวิธี ต่างๆ ในการการเพิ่มประสิทธิภาพของฟังชั่น และ ปัญหาการเรียนรู้ของเครื่องเช่นเดียวกัน แต่งานวิจัยของพวกเค้าก็ได้รับการติดตามที่น้อย งานวิจัยที่ประสบความสำเร็จกว่าคืองานวิจัยในปี 1965 เมื่อ Ingo Rechenberg นำเสนอเทคนิคที่เค้าเรียกว่ากลยุทธ์การวิวัฒนาการถึงแม้ว่ามันจะคล้ายกับขั้นตอนวิธีของนักปีนเขามากกว่าวิธีเชิงพันธุกรรมก็ตาม โดยจะคล้ายคลึงกันแต่จะไม่มีการพลิตจำนวนประชากรออกมามากๆและไม่มีการไขว้เปลี่ยน (cross over) โดยที่รุ่นบรรพบุรุษจะทำการกลายพันธ์ (mutation) ออกมาหนึ่งตัวแล้วจากนั้นจะเลือกตัวที่ดีกว่านำไปเป็นบรรพบุรุษของการการกลายพันธ์ (mutation) ครั่งต่อไป และมีการพัฒนาจนมีการนำวิธีคิดแบบจำนวนประชากรมากๆ นำมาใช้เพื่อให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น

ใกล้เคียง

ขั้นตอนวิธีแบบยุคลิด ขั้นตอนวิธีการค้นหาเพื่อนบ้านใกล้สุด k ตัว ขั้นตอนวิธีของฟลอยด์-วอร์แชล ขั้นตอนวิธีของควิน-แม็กคลัสกีย์ ขั้นตอนวิธี ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม ขั้นตอนวิธีฮังกาเรียน ขั้นตอนวิธีของชอร์ ขั้นตอนวิธีโบรน-เคอร์โบสท์ ขั้นตอนวิธีของเบลแมน-ฟอร์ด