การผลิต ของ ขี้ผึ้งห่ออาหาร

ขี้ผึ้งห่ออาหารทำจากผ้าฝ้ายบางที่เคลืิอบด้วยส่วนผสมของ ขี้ผึ้งเกรดอาหาร, ชันสน (rosin), น้ำมันมะพร้าว, และน้ำมันโฮโฮบา (jojobar oil) ผ้าทำหน้าเป็นเส้นใยเสริมแรงช่วยการคงรูปและรับแรงดึงไม่ให้ขี้ผึ้งแตกหรือฉีกขาดได้ง่าย การชุบหรือเคลือบขี้ผึ้งช่วยให้ผ้ากันน้ำแต่ระบายอากาศได้ ขี้ผึ้งนี้เป็นขี้ผึ้งธรรมชาติโดยเป็นส่วนที่เหลือของรังผึ้งหลังสกัดน้ำผึ้งออกแล้ว ทำความสะอาดในหม้อนึ่งเพื่อขจัดเศษปฏิกูลของผึ้ง และเทลงในแม่พิมพ์หล่อเป็นแท่งเพื่อใช้ในภายหลัง สำหรับการผลิตน้ำผึ้งทุกๆ 100 กรัมจะได้ขี้ผึ้งประมาณ 1 หรือ 2 กรัม[6] น้ำมันเป็นตัวช่วยลดการแข็งตัวของขี้ผึ้งไม่แห้งแข็งเกินไป ชันสนเพื่อให้เกิดความเหนียวในการยึดเกาะภาชนะ

การผลิตแบบครัวเรือน

ขี้ผึ้งห่ออาหารสามารถทำในแบบพื้นบ้าน (ทำใช้เองภายในบ้าน) ได้ด้วยแผ่นผ้าฝ้ายและส่วนผสมของขี้ผึ้ง ชันสน และน้ำมัน โดยตัดผ้าฝ้ายเป็นรูปทรงและขนาดที่ต้องการ และขลิบขอบของผ้าให้เรียบร้อยไม่รุ่ย หลอมขี้ผึ้งและชันสน ผสมกับน้ำมันมะพร้าวและน้ำมันโจโจบา [5] จากนั้นทาเคลือบทั้งสองด้านของผ้าฝ้ายด้วยส่วยผสมที่หลอมนั้นเป็นชั้นบาง ๆ ด้วยแปรง และตรวจการกระจายอย่างสม่ำเสมอตัวของขี้ผึ้งผสม ให้ปกคลุมทั้งผืนตลอดถึงขอบของผ้าฝ้าย จากนั้นนำผ้าฝ้ายที่เคลือบแล้วปิดด้วยกระดาษไขแล้วรีด (ด้วยเตารีดผ้า) หรือวางผ้าไว้บนถาดอบและอบในเตาอบด้วยความร้อนประมาณ 93˚C [7] เพื่อให้ขี้ผึ้งผสมหลอมซึมซาบไปทั่วในทุกอณูของเนื้อผ้า แล้วนำไปผึ่งให้แห้ง

การผลิตเชิงพาณิชย์

การผลิตขี้ผึ้งห่ออาหารจำนวนมากในโรงงานเชิงพาณิชย์ ยังไม่มีการพัฒนาถึงระดับอุตสาหกรรมเนื่องจากวิสัยทัศน์ของบริษัทขี้ผึ้งห่ออาหารหลายแห่ง ยังต้องการเป็นเพียงการผลิตและใช้ในระดับชุมชน [8] บางบริษัทได้เริ่มใช้เครื่องจักรอัตโนมัติเพื่อเพิ่มสเกลการผลิต

ในปี 2018 บริษัท ที่ปรึกษาด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีของสหราชอาณาจักร Cambridge Consultants ร่วมมือกับ BeeBee Wraps ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพในสหราชอาณาจักร โดยได้ออกแบบกระบวนการผลิตที่ช่วยให้การผลิตเพิ่มขึ้นในขณะที่ยังคงรักษาแนวทางในการดำเนินธุรกิจซึ่งเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปและเห็นคุณค่าของธรรมชาติ [8]