สถานที่อันเนื่องในตำนาน ของ ขุนหลวงวิลังคะ

ดอยต่าง ๆ นักดนตรีบางคนในขบวนแห่ศพขุนหลวงพลัดหลง เกิดชื่อปุยหรือภูเขาต่าง ๆ คือ ดอยฆ้อง ดอยกลอง ดอยฉิ่ง ดอยสว่า ชื่อของ กิ่วแมวปลิว (แมวหมายถึงฝาครอบโลงศพที่ทำด้วยโครงไม้ไผ่ ใช้ตกแต่งด้านบนของฝาโลงศพ) มาจากตำนานที่ฝาครอบโลงศพปลิวตกบริเวณนั้น

ยอดภูเขาดอยคว่ำหล้อง (ปัจจุบันเรียก ม่อนแจ่ม) คำว่าหล้อง หมายถึง โลงศพคือโลงศพที่คว่ำตกลงมา

บ้านเมืองก๊ะ เชื่อกันว่าชาวลัวะเหล่านี้เป็นเชื้อสายของขุนหลวงวิรังคะ อนึ่งชาวบ้านเชื่อว่าดวงวิญญาณของขุนหลวงจะสถิตอยู่ 3 แห่งได้แก่ บนดอยคว่ำหล้อง ศาลที่บ้านเมืองก๊ะ อำเภอแม่ริม และอีกแห่งหนึ่งคือ บริเวณดอยคำ อำเภอเมืองเชียงใหม่ซึ่งตั้งอยู่ทิศใต้ของดอยสุเทพ ปัจจุบันมีวัดชื่อวัดพระธาตุดอยคำซึ่งมีอนุสาวรีย์ขุนหลวงวิรังคะประดิษฐานที่ลานวัดใกล้เจดีย์ และที่ดอยคำแห่งนี้ เป็นที่สถิตดวงวิญญาณของหัวหน้าลัวะ ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของขุนหลวงวิรังคะ ชื่อว่า ปู่แสะ ย่าแสะ ซึ่งจะมีการเลี้ยงผีปู่แสะ ย่าแสะ ด้วยควายทุกปี หรือ 3 ปีครั้ง[3]

บริเวณลานด้านหน้าที่ทำการเทศบาลตำบลบ่อหลวง ตำบลบ่อหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ประดิษฐานอนุสาวรีย์ขุนหลวงวิลังคะ[4]

บ้างเชื่อว่าวัดร้างชื่อวัดสะหลีพันตนตั้งอยู่ที่บ้านกาด อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัดที่พระนางจามเทวีได้ขอให้ขุนหลวงวิลังคะหันมานับถือพระพุทธศาสนา โดยสร้างวัดแห่งนี้ให้ ชื่อเดิมของวัดสะหลีพันตนเคยมีชื่อว่า "วัดพระเจ้าลัวะ" หรือ "วังพระเจ้าลัวะ"[5]