การตกลงรับ ของ ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่_1970

ข้อมติที่ 1970 นี้ นำเสนอโดย ประเทศฝรั่งเศส, ประเทศเยอรมนี, สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา[3] มีการถกเถียงกันหนึ่งวันเต็ม และได้ตกลงรับในที่สุด[4] แอดเดล ราห์แมน ชัลแกห์ม (Abdel Rahman Shalgham) เอกอัครราชทูตลิเบียประจำสหประชาชาติ ผู้ซึ่งตำหนิระบอบของมูอัมมาร์ กัดดาฟีนั้น ได้ร้องขอให้คณะมนตรีความมั่นคงออกโรงในเหตุการณ์นี้ เขาได้โน้มน้าวให้สาธารณรัฐประชาชนจีน, ประเทศอินเดีย และ ประเทศรัสเซีย ร่วมยื่นเรื่องราวต่อศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นผลสำเร็จ หลังจากที่ประเทศเหล่านี้ได้แสดงความห่วงใยว่า การยื่นเรื่องราวดังกล่าวอาจทำให้สถานการณ์บานปลายได้[5] ประเทศรัสเซียนั้นได้เสนอให้มีข้อบทสำหรับเป็นประกันว่าจะไม่มีชาติใดใช้ข้อมตินี้เป็นข้ออ้างเข้าแทรกแซงประเทศลิเบีย และที่ประชุมมีมติให้เพิ่มเข้าไปในข้อมตินี้ได้[5] ฝ่ายผู้แทนของประเทศลิเบียเองก็ได้เสนอให้มีข้อบัญญัติให้ประเทศลิเบียเป็นเขตห้ามบิน (no-fly zone) แต่ที่ประชุมมีมติให้ยก[4]

ใกล้เคียง

ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1970 ข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ อีเอส-11/4 ข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ อีเอส-11/1 ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1973 ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1929 ข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 68/262 ข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ อีเอส-11/3 ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 827 ข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 67/19 ข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 2758

แหล่งที่มา

WikiPedia: ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่_1970 http://www.bangkokpost.com/news/world/223719/un-co... http://timesofindia.indiatimes.com/india/India-bac... http://timesofindia.indiatimes.com/world/middle-ea... http://www.vanguardngr.com/2011/02/un-security-cou... http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/artic... http://www.solvision.co.cu/english/index.php?optio... http://usun.state.gov/briefing/statements/2011/157... http://www.icc-cpi.int/NR/rdonlyres/2B57BBA2-07D9-... http://archive.is/9E9Q http://archive.is/Ykmw