ประเภท ของ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา

ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  • (ก) ตำแหน่งวิชาการ ซึ่งทำหน้าที่สอนและวิจัย ได้แก่
  • (ข) ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร ได้แก่
    • อธิการบดี
    • รองอธิการบดี
    • คณบดี
    • หัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ
    • ผู้ช่วยอธิการบดี
    • รองคณบดีหรือรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ
    • ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขต ผู้อำนวยการกอง หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากอง
    • ตำแหน่งอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนด
  • (ค) ตำแหน่งประเภททั่วไป วิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ได้แก่
    • ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ (ระดับ 10,11)
    • ระดับเชี่ยวชาญ (ระดับ 9)
    • ระดับชำนาญการพิเศษ (ระดับ 7,8)
    • ระดับชำนาญการ (ระดับ 6,7)
    • ระดับปฏิบัติการ (ระดับ 3-5)
    • ระดับอื่นตามที่ ก.พ.อ. กำหนด

การจำแนกประเภทตำแหน่งดังกล่าวนี้ยังคงอิงอยู่กับระบบมาตรฐานกลาง 11 ระดับ (เฉพาะประเภทวิชาการ และประเภททั่วไปฯ ส่วนประเภทผู้บริหาร หน่วยราชการในสถาบันอุดมศึกษาจะคัดเลือกข้าราชการที่เหมาะสมให้ดำรงตำแหน่งโดยข้าราชการผู้นั้นจะต้องดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 3) เช่น ศาสตราจารย์ ระดับ 11, รองศาสตราจารย์ ระดับ 9, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8, นักวิชาการศึกษาชำนาญการ ระดับ 7 เป็นต้น

ใกล้เคียง

ข้าราชการไทย ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการฝ่ายตุลาการ (ประเทศไทย) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ข้าราชสำนัก ข้าราชการ ข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ