ช้างตระกูลพรหมพงศ์ ของ คชศาสตร์

  • ช้างตระกูลพรหมพงศ์ สร้างขึ้นโดย พระพรหม อันพระพรหมให้บังเกิดด้วยเกสรประทุมชาติ์ ช้างตระกูลนี้เมื่อมาสู่พระบารมีย่อมให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางวัตถุและวิทยาการต่าง ๆ

พระพรหมได้สร้างช้างประจำทิศทั้ง 8 ด้วยเกสรดอกบัวทั้ง 8 คือ เกสรที่

1. ช้างไอยราพตอยู่ทิศบูรพา เกสรหนึ่งทิ้งออกไปข้างทิศบูรพา เกิดเป็นช้างชื่อไอยราพต สมบูรณ์ด้วยลักษณะ 15 ประการ สีกายดุจสีเมฆเมื่อคลุ้มฝน เท้าทั้ง 4 เท้ากลมดังกงฉัตร เล็บเสมอ หน้าสูงท้ายต่ำอย่างสิงห์ ตัวใหญ่กว่าช้างทั้งปวง ตาใหญ่ดังดาวประกายพฤกษ งายาวขึ้นขวางวงดังภุชงค์นาค หลังราบดังคันธนูปลายหูปรบหน้า หลัง ถึงกัน โขมดทั้ง ๒ สูง เสียงดุจเสียงสังข์ หาง บังคลองต้องด้วยลักษณะ 15 ประการ

2. ช้างบุณฑริกอยู่ทิศอาคเนย์ เกสรหนึ่งทิ้งไปข้างทิศอาคเนย์ บังเกิดเป็นช้างชื่อบุณฑริกมีลักษณะ 5 ประการ สีกายดังดอกบัวขาว งาใหญ่สั้นสีดังสังข์ เล็บงามคือทอง ท้องมัวดังฝนคร่ำ กลิ่นหอมดังดอกสัตบงกช พร้อมด้วยลักษณะ

3. ช้างพราหมณ์โลหิตอยู่ทิศทักษิณ เกสรหนึ่งไปประดิษฐานอยู่ทิศทักษิณ บังเกิดเป็นช้างชื่อพราหมณโลหิต มีลักษณะ 5 ประการ สีกายดังสีโลหิต งาใหญ่คอกลม เสียงดุจเสียงแตรแตร้น พร้อมด้วยลักษณะ

4. ช้างกมุทอยู่ทิศหรดี เกสรหนึ่งทิ้งไปข้างทิศหรดี ให้บังเกิดเป็นช้างชื่อกมุท มีลักษณะ 5 ประการ สีดังดอกกมุท ตัวสูงโสตรยาวกลมหูอ่อน เสียงดุจเสียงแตรงอน งางอนขึ้นขวาดังพระจันทร์ เมื่อขึ้น 3 ค่ำ พร้อมด้วยลักษณะ

5. ช้างอัญชันอยู่ทิศประจิม เกสรหนึ่งทิ้งไปข้างทิศประจิม ให้บังเกิดเป็นช้างชื่ออัญชัน มีลักษณะ 5 ประการ สีดังอัญชันงาใหญ่ตรง คอใหญ่เสียงดังลมพัดในปล้องไม้ไผ่ พร้อมด้วยลักษณะ 5 ประการ

6. ช้างบุษปทันต์อยู่ทิศพายัพ เกสรหนึ่งทิ้งไปข้างทิศพายัพ บังเกิดเป็นช้างชื่อบุษปทันต์ มีลักษณะ 7 ประการ สีดังหมากสุกผิวเนื้อละเอียด มีกระหน้าตัวใหญ่งามงาน้อยขึ้นขวา เสียงดังเสียงเมฆ พร้อมด้วยลักษณะ

7. ช้างเสาวโภคอยู่ทิศอุดร เกสรหนึ่งทิ้งไปข้างทิศอุดร บังเกิดเป็นช้างชื่อเสาวโภม มีลักษณะ 5 ประการ สีดังตองแก่ สูงสัณฐานดังใส่เสื้อ เท้าทั้ง 4 ดังตองอ่อน ตัวกลมหน้าใหญ่งาน้อยยาว เสียงดังเสียงนกกเรียนพร้อมด้วยลักษณะ

8. ช้างสุประดิษฐ์อยู่ทิศอิสาน เกสรหนึ่งทิ้งไปข้างทิศอิสาน บังเกิดเป็นช้างสุปรดิษฐ์ มีลักษณะ 9 ประการ สีเนื้อดังสีเมฆเมื่อสนธยา ผนฎท้องดังผนฎท้องงู งาซื่อสีขาวบริสุทธิ์ดังผ้าขาวที่เนื้ออ่อนดังสีบัวแดง ขนปากยาว อัณฑโกษอ่อน เต้ามันอ่อน ร้องเสียงดังเสียงฟ้า พร้อมด้วยลักษณะ 9 ประการ

นอกจากนี้พระพรหมยังได้สร้างช้างอีก 10 หมู่ คือ

1. ฉัททันต์หัตถี กายสีขาว หางเท้าสันหลังสีแดง งาเป็นแขนง เป็นพญาช้าง มีกำลังสูงสุดเหาะไปในอากาศได้ เดินรวดเร็วมาก

2. อุโบสถหัตถี กายดั่งสีทองนพคุณ เดินได้รวดเร็ว เหาะไปในอากาศได้ อยู่บริเวณป่ากรรณิการ์ ส่วนหนึ่งของป่าหิมพานต์ มีนางช้าง ปีตวรรณ เป็นบริวาร

3. เหมหัตถี กายดั่งสีรัศมีทอง มีกำลังมาก

4. มงคลหัตถี สีผิว สีตา และสีเล็บ เป็นสีม่วงเหมือนสีดอกอัญชัน มีงางอนขึ้นไปด้านขวา

5. คันธหัตถี เป็นช้างที่มีร่างสูงใหญ่ ผิวตัวดังไม้กฤษณา กลิ่นตัวและมูตรคูตหอมหวนชื่นใจ

6. บิงคัลหัตถี หรือ ปิงคล กาย สีตาและเล็บ เป็นสีเหลืองเหลือบน้ำตาล ดั่งสีตาแมว

7. ตามพหัตถี หรือ ดามพหัตถี กายสีดั่งทองแดง ขนหางคล้ายดอกบัวแดง ลักษณะสูงใหญ่ มีอานุภาพห้าวหาญในการศึก

8. บัณฑรหัตถี หรือ นาคันธรหัตถี กายสีดั่งรัศมีเงิน มีอีกชื่อหนึ่งว่า นาคันธร ห้าวหาญองอาจในการสงคราม

9. คังไคยหัตถี กายดั่งสีน้ำไหล (สีเขียวน้ำทะเล) มีลักษณะสูงใหญ่ สมบูรณ์งดงาม เกิดบริเวณลุ่มน้ำคงคา

10. กาลวกะหัตถี กายสีดำ และสีเล็บเป็นสีดำดั่งสีปีกกา ดามพหัตถี กายสีดั่งทองแดง มีขนหางคลายดอกบัวแดง ลักษณะสูงใหญ่ เหมหัตถี กายดั่งรัศมีทอง มีกำลังมาก