คณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม
คณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม

คณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม

คณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม (ฝรั่งเศส: Comité de salut public) เป็นคณะผู้ตรวจสอบซึ่งสภากงว็องซียงแห่งชาติจัดตั้งในเดือนเมษายน ค.ศ. 1793 และมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างสมาชิกในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1793 เป็นการปกครองอำนาจบริหารโดยพฤตินัยในประเทศฝรั่งเศสระหว่างสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว (ค.ศ. 1793–1794) ซึ่งเป็นขั้นหนึ่งของการปฏิวัติฝรั่งเศสคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวมถูกตั้งขึ้นมาแทนที่คณะกรรมาธิการการป้องกันประเทศ (ก่อตั้งเมื่อมกราคม 1793) และมีหน้าที่สอดส่องดูแลและรับผิดชอบในการปกป้องธำรงไว้ซึ่งระบอบสาธารณรัฐจากการคุกคามโดยต่างประเทศและการก่อกบฎภายในประเทศที่ คณะกรรมการฯ คณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวมเมื่อแรกตั้งประกอบด้วยสมาชิกเก้าคน และต่อมามีสิบสองคน ได้รับอำนาจอย่างกว้างขวาง สามารถควบคุมดูแลกิจการทหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ ตลอดจนออกมาตรการยามสงคราม การที่คณะกรรมาธิการฯมีอำนาจกว้างขวางเช่นนี้ ทำให้เปรียบเสมือนเป็นฝ่ายบริหารที่แท้จริงของประเทศ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1793 สภากงว็องซียงได้อนุมัติให้บรรดาผู้นำฌากอแบ็ง (Jacobins) คนสำคัญ อาทิ มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ และหลุยส์ อ็องตวน เดอ แซ็ง-ฌุสต์ เป็นต้น เป็นเข้าเป็นกรรมาธิการ พวกฌากอแบ็งภายใต้การนำของรอแบ็สปีแยร์ได้ครองอำนาจในคณะกรรมาธิการอย่างเบ็ดเสร็จระหว่างเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1793 ถึงกรกฎาคม ค.ศ. 1794 โดยที่ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1793 สภากงว็องซียงมอบอำนาจบริหารให้แก่คณะกรรมการฯ อย่างเป็นทางการการประหารชีวิตรอแบ็สปีแยร์ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1794 เป็นสัญลักษณ์ของช่วงปฏิกิริยาต่อคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม ซึ่งเรียก ปฏิกิริยาเดือนแตร์มีดอร์ (Thermidorian Reaction) อิทธิพลของคณะกรรมาธิการฯ เสื่อมและถูกยุบใน ค.ศ. 1795

ใกล้เคียง

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย) คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด คณะกรรมการกฤษฎีกา (ประเทศไทย) คณะกรรมการโอลิมปิกสากล คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการร่วมค้นหาเชลยศึกและผู้สูญหายระหว่างปฏิบัติหน้าที่