ประวัติ ของ คณะที่ปรึกษาด้านการค้นหาและกู้ภัยระหว่างประเทศ

คณะที่ปรึกษาด้านการค้นหาและกู้ภัยระหว่างประเทศ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2534 จากแนวคิดของทีมค้นหาและกู้ภัยในเขตเมืองระหว่างประเทศ (International USAR Teams) ที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์แผ่นดินไหวในอาร์เมเนีย พ.ศ. 2531 และแผ่นดินไหวในเม็กซิโกซิตี้ พ.ศ. 2528[1] โดยได้เลือกตั้งสำนักเลขาธิการที่สหประชาชาติ เพื่อความสะดวกในการประสานงานระหว่างประเทศ

การดำเนินงานของ INSARAG นั้นเป็นไปตามมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ที่ 57/150 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2545 เรื่อง "การเสริมสร้างประสิทธิผลและการประสานงานของความช่วยเหลือในการค้นหาและกู้ภัยในเมืองระหว่างประเทศ" [2]

ขอเรียกร้องให้ทุกประเทศช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานให้ง่ายขึ้นหรือลดขั้นตอน การดำเนินงานบริหารจัดการและพิธีศุลกากรที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางขาเข้า (Entry) การเดินทางผ่าน (Transit) การพำนักและการเดินทางขาออกของทีมค้นหาและกู้ภัยระหว่างประเทศ รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม คำนึงถึงคู่มือปฏิบัติงานคณะที่ปรึกษาด้านการค้นหาและกู้ภัย ระหว่างประเทศ (INSARAG Guidelines) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านวีซ่าสำหรับนักกู้ภัยและการกักกันสุนัขค้นหา การใช้น่านฟ้า และการนำเข้าอุปกรณ์สื่อสารทางเทคนิคและทางด้านการค้นหาและกู้ภัย เวชภัณฑ์ที่จำเป็น และวัตถุอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยปฏิบัติให้สอดคล้องกับมาตรการบังคับด้านความปลอดภัยของสาธารณะ และความมั่นคงของชาติของประเทศนั้น ๆ นอกจากนี้ ยังขอเรียกร้องให้ทุกประเทศดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัย และการรักษาความปลอดภัยสำหรับทีมค้นหาและกู้ภัยระหว่างประเทศในขณะปฏิบัติภารกิจในดินแดน ของประเทศเหล่านั้นอีกด้วย[2]

และ ปฏิญญา INSARAG Hyogo ซึ่งได้รับการรองในการประชุมระดับโลกของ INSARAG ครั้งแรกในปี 2553 ที่เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น

ข้อบังคับของ INSARAG นั้นจะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาขั้นตอนการค้นหาและกู้ภัยในเขตเมืองระหว่างประเทศ ให้มีประสิทธิภาพและมาตรฐานในการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นไปตามมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 57/150 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2545 เรื่อง "การเสริมสร้างประสิทธิภาพและการประสานงานของความช่วยเหลือการค้นหาและกู้ภัยในเขตเมือง" รวมไปถึงการส่งเสริมร่วมมือและการประสานงานกันระหว่างทีมการค้นหาและกู้ภัยในเขตเมืองระหว่างประเทศเมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติขึ้นในเขตพื้นที่ต่าง ๆ ส่งเสริมการฝึกและเตรียมความพร้อมในประเทศที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภัยพิบัติ พัฒนาแนวทางและขั้นตอนที่เป็นมาตรฐาน ส่งเสริมการแบ่งปันประสบการณ์การทำงานระหว่างทีมระดับชาติและนานาชาติ และกำหนดมาตรฐานพื้บฐานของทีมค้นหาและกู้ภัยในเขตเมืองระหว่างประเทศ

ใกล้เคียง

คณะที่ปรึกษาทางการทหารสหรัฐ ประจำประเทศไทย คณะที่ปรึกษาด้านการค้นหาและกู้ภัยระหว่างประเทศ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะ ซี. เอ็ม. เอ.