ประวัติ ของ คณะที่ปรึกษาทางการทหารสหรัฐ_ประจำประเทศไทย

หลังจากการหยุดยิงในสงครามเกาหลีซึ่งไทยและสหรัฐได้ปฏิบัติการร่วมกันอย่างแข็งขันในสมรภูมินั้น ทำให้สหรัฐให้ความสนใจที่จะสนับสนุนด้านการทหารแก่ประเทศไทย[3] และได้ส่งคณะทูตทหารของสหรัฐเดินทางมาเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2493 เพื่อสำรวจความต้องการยุทโธปกรณ์และอุปกรณ์ต่าง ๆ นำกลับไปเป็นข้อมูลในการเพิ่มสมรรถนะของกองทัพไทย หลังจากคณะทูตได้สำรวจข้อมูลและเดินทางกลับประเทศแล้ว ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2493 คณะที่ปรึกษาให้ความช่วยเหลือของสหรัฐชุดแรกได้เดินทางเข้ามาประจำการในประเทศไทย ในฐานะของเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย และมีการลงนามในสัญญาความตกลงว่าด้วยการช่วยเหลือทางทหารของสหรัฐแก่ประเทศไทยในวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2493 โดยนายกรัฐมนตรีและเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทยเป็นผู้ลงนาม ซึ่งจากสัญญาความตกลงดังกล่าว จึงได้มีการตั้งกองบัญชาการของสำนักงานที่ปรึกษาให้ความช่วยเหลือทางทหาร ประจำประเทศไทย (Military Assistance Advisory Group Thailand: MAAG Thailand) ขึ้นที่บริเวณมุมถนนสาทรในพื้นที่ของกองบัญชาการกองทัพไทย เขตสาทร กรุงเทพมหานคร[4] ถัดจากสถานเอกอัครราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทย อยู่ห่างจากสถานทูตสหรัฐประจำประเทศไทยประมาณ 2 กิโลเมตร[5]

จากนั้นประมาณเดือนมีนาคม พ.ศ. 2496 ได้เกิดเหตุการณ์เหวียตมิญได้บุกเข้ามาในประเทศลาว ทำให้สหรัฐถือว่าลัทธิคอมมิวนิสต์ได้แผ่ขยายขอบเขตเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศไทยในขณะนั้น กองบังคับการของสำนักงานที่ปรึกษาให้ความช่วยเหลืองทางทหาร (MAAG) จึงได้ปรับรูปแบบของหน่วยงาน เป็นคณะที่ปรึกษาทางการทหารสหรัฐ (Joint United States Military Advisory Group: JUSMAG) เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2496 มีชื่อเต็ม ๆ ว่า คณะที่ปรึกษาทางการทหารสหรัฐ ประจำประเทศไทย เรียกย่อว่า จัสแมกไทย (JUSMAGTHAI) สำหรับให้การช่วยเหลือประเทศไทยได้คล่องตัวยิ่งขึ้นตามรูปแบบที่เคยใช้ในประเทศกรีซ โดยปรับโครงสร้างจนสมบูรณ์เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2479[4]

ในปี พ.ศ. 2504 ได้เกิดวิกฤตการณ์ขึ้นอีกครั้งในประเทศลาว ทำให้ประเทศในโลกเสรีกลัวจะเกิดทฤษฎีโดมิโน[3] และมองว่าไทยนั้นเปรียบเสมือนรัฐกันชนของโลกเสรี ทำให้มีการเพิ่มเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้อาคารเดิมที่ปฏิบัติงานไม่เพียงพอจึงได้ทำการรื้อถอนและสร้างขึ้นใหม่และเปิดใช้งานอาคารเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2514 และใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน[4]

ในช่วงจุดสูงสุดของสงครามเวียดนาม ผู้เชี่ยวชาญทางหทารของอเมริกาจำนวนมากได้รับคำสั่งให้มาประจำการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ที่จัสแมกไทย ในกรุงเทพมหานคร โดยมีทหารสหรัฐประจำการในประเทศไทยมากถึง 45,000 นาย

ใกล้เคียง

คณะที่ปรึกษาทางการทหารสหรัฐ ประจำประเทศไทย คณะที่ปรึกษาด้านการค้นหาและกู้ภัยระหว่างประเทศ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: คณะที่ปรึกษาทางการทหารสหรัฐ_ประจำประเทศไทย https://th.usembassy.gov/th/jusmagthai-celebrates-... https://www.matichonweekly.com/column/article_5981... https://www.supply.navy.mi.th/upload/pdf/%E0%B9%80... https://th.usembassy.gov/th/embassy-consulate-th/b... https://www.aa.com.tr/en/world/thai-officials-deny... https://doct6.com/learn-about/how/chapter-2/2-3/2-... https://journals.lib.unb.ca/index.php/jcs/article/... https://www.matichon.co.th/article/news_2388297 http://www.jusmagthai.com/ http://www.jusmagthai.com/main.html