การดำเนินงาน ของ คณะที่ปรึกษาทางการทหารสหรัฐ_ประจำประเทศไทย

พิธีเปิดการฝึกคอบร้าโกลด์ 2023 ณ สนามบินอู่ตะเภา

ปัจจุบันจัสแมกไทยได้สนับสนุนภารกิจต่าง ๆ มากมาย รวมถึงโครงการฝึกซ้อมทางการทหารแบบทวิภาคีที่มีการฝึกร่วมกันประมาณ 40 ครั้งต่อปีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการศึกษาและฝึกทางทหารระหว่างประเทศ (The International Military Education and Training: IMET) อย่างเช่น การฝึกคอบร้าโกล์ดเป็นประจำทุกปี ซึ่งมีการฝึกร่วมกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 จนถึงปัจจุบัน นับเป็นการฝึกทางทหารที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีกำลังพลเข้าร่วมฝึกมากกว่า 13,000 นาย จาก 7 ประเทศ และมีผู้ร่วมสังเกตการณ์อีก 20 ประเทศ[1]

จัสแมกไทยได้มีส่วนร่วมในการเตรียมกำลังของกองทัพไทยในการปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในกัมพูชา ติมอร์ตะวันออก อาเจะฮ์ และซูดาน รวมไปถึงปฏิบัติการต่อต้านโจรสลัดในอ่าวเอเดน และเป็นผู้สนับสนุนไทยในการเป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาคในการบรรเทาสาธารณภัยและการบรรเทาทุกข์จากเหตุการณ์สึนามิในปี พ.ศ. 2547 เหตุการณ์พายุหมุนนาร์กิสในปี พ.ศ. 2551 แผ่นดินไหวในประเทศเนปาล พ.ศ. 2558 และประสานกองทัพสหรัฐในการจัดทีมช่วยเหลือกู้ภัยในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย[1]

นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการดำเนินการโครงการขายทางทหารแก่ต่างประเทศ (FMS) ของสหรัฐ ภารกิจเก็บกู้ทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม และการปราบปรามยาเสพติด[5]

การแทรงแซง

ประเทศไทย

เครื่องบินทิ้งระเบิด บี-52 บนทางวิ่งสนามบินอู่ตะเภาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2515 ระหว่างสงครามเวียดนาม

ขบวนการนักศึกษาหลังจากการเคลื่อนไหว 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 มองว่าการมีอยู่ของจัสแมกเป็นการครอบงำประเทศไทย ทั้งในด้านของนโยบายต่างประเทศที่ไทยดำเนินตามสหรัฐมาตลอด โดยในปี พ.ศ. 2516 มีฐานทัพสหรัฐในประเทศไทยจำนวน 12 แห่งคือ อู่ตะเภา ตาคลี อุบลราชธานี อุดรธานี นครพนม น้ำพอง สัตหีบ ลพบุรี เขื่อนน้ำพุง โคราช และกาญจนบุรี มีศูนย์บัญชาการใหญ่คือหน่วยจัสแมกไทยที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร และใช้ประเทศไทยในการเป็นฐานของเครื่องบิน บี-52[6] ไปทิ้งระเบิดในประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว กัมพูชา และเวียดนาม และมีภารกิจโดยตรงในการส่งกำลังบำรุงให้ทหารสหรัฐในเวียดนาม ในทางเศรษฐกิจคือบริษัทข้ามชาติของสหรัฐมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงมาก และการรับสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของฐานทัพอเมริกาในประเทศไทย จนมีกรณีการประหารชีวิต นายเทพ แก่นกล้า ซึ่งมีความผิดฐานยิงนายทหารสหรัฐเสียชีวิต โดยคดีไม่ผ่านกระบวนการพิจารณาในศาลไทยแต่อย่างใด ขบวนการนักศึกษาจึงมองว่าสิ่งเหล่านี้เป็นการทำให้ประเทศไทยไม่มีเอกสารสมบูรณ์และเรียกร้องให้ถอนทหารและฐานทัพสหรัฐออกจากประเทศ[7]

ประเทศลาว

T-28 ของลาวจากโครงการช่วยเหลือของรัฐบาลอเมริกัน ความช่วยเหลือทางทหารต่อลาวที่ดำเนินการโดยจัสแมกไทย ผ่านทาง Requirements Office

จัสแมกไทยถูกระบุว่าเป็นผู้ดำเนินการฝึกอาวุธให้กับพระราชอาณาจักรลาวผ่านการประสานงานและส่งกำลังซีไอเอและตำรวจตระเวนชายแดน หน่วยตำรวจพลร่ม (PARU) ที่ได้รับการฝึกโดยใช้เงินทุนจากจัสแมกเข้าไปเป็นครูฝึกพร้อมกับปฏิบัติการ[8] เพื่อต่อต้านฝ่ายคอมมิวนิสต์คือฝ่ายปะเทดลาว[9] รวมไปถึงการจัดส่งเสบียงและยุทโธปกรณ์ให้กับกองทัพลาวในการต่อต้านคอมมิวนิสต์[10]หลังจากคณะที่ปรึกษาให้ความช่วยเหลืองทางทหาร ประจำประเทศลาว (MAAG Laos) ถูกยุบสำนักงานที่เวียงจันท์ลงและรวมเข้ากับจัสแมกไทย[11] โดยเปลี่ยนหน่วยงานดูแลในลาวเป็นหน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐ (USAID) ตามความตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยความเป็นกลางของลาว

ใกล้เคียง

คณะที่ปรึกษาทางการทหารสหรัฐ ประจำประเทศไทย คณะที่ปรึกษาด้านการค้นหาและกู้ภัยระหว่างประเทศ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: คณะที่ปรึกษาทางการทหารสหรัฐ_ประจำประเทศไทย https://th.usembassy.gov/th/jusmagthai-celebrates-... https://www.matichonweekly.com/column/article_5981... https://www.supply.navy.mi.th/upload/pdf/%E0%B9%80... https://th.usembassy.gov/th/embassy-consulate-th/b... https://www.aa.com.tr/en/world/thai-officials-deny... https://doct6.com/learn-about/how/chapter-2/2-3/2-... https://journals.lib.unb.ca/index.php/jcs/article/... https://www.matichon.co.th/article/news_2388297 http://www.jusmagthai.com/ http://www.jusmagthai.com/main.html