สมาชิกของนิติราษฎร์ ของ คณะนิติราษฎร์

สมาชิกของนิติราษฎร์ในปัจจุบันประกอบด้วยกลุ่มคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 7 คน โดย รองศาสตราจารย์ ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช ซึ่งเป็นผู้ร่วมกิจกรรมในนามของคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มาตั้งแต่ต้นไม่ได้ปรากฏชื่อเป็นสมาชิกปัจจุบันของคณะนิติราษฎร์ แต่ก็ยังมีผลงานเป็นบทความทางวิชาการเผยแพร่อยู่ในเว็บไซต์ของนิติราษฎร์อยู่เสมอ โดยสมาชิกปัจจุบันของนิติราษฎร์ ได้แก่

สมาชิกผู้มีบทบาทสำคัญและถือเป็นผู้นำของกลุ่มนิติราษฎร์ คือ ศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ บทบาทของวรเจตน์ ภาคีรัตน์ เริ่มโดดเด่นและชัดเจนมากขึ้นภายหลังเป็นผู้เสนอความคิดเห็นคัดค้านการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีด้วยมาตรา 7 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 (ขณะนั้นยังไม่มีการจัดตั้งกลุ่มนิติราษฎร์) ในระหว่างการบรรยายพิเศษเรื่อง “หลังการเลือกตั้ง 2 เมษายน จะปฏิรูปการเมืองครั้งใหม่อย่างไร” เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2549 มีใจความสำคัญ ว่า

“ขณะนี้ประชาชนในประเทศแตกออกมาเป็น 2 ฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่งต้องการที่จะใช้รัฐธรรมนูญมาตรา 7 เพื่อขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งต้องการให้มีการเปิดสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งทั้งสองฝ่ายทำให้บ้านเมืองเกิดความไม่แน่นอนเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ก็มีอีกฝ่ายหนึ่งต้องการปฏิรูปทางการเมือง ทั้งนี้ในความคิดของเขานั้น การใช้มาตรา 7 เพื่อขอนายกฯพระราชทานไม่ควรทำ”

จากนั้น วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ก็ได้ร่วมกับอาจารย์นิติศาสตร์อีก 4 คน (ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช, ธีระ สุธีวรางกูร, ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล, และปิยบุตร แสงกนกกุล) แสดงการคัดค้านการรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 และมีบทบาทอีกครั้งเมื่อมีการออก “แถลงการณ์ของคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฉบับที่ 5-2 เรื่องการปฏิเสธร่างรัฐธรรมนูญฉบับออกเสียงประชามติ” และออกแถลงการณ์อีกหลายฉบับเพื่อแสดงความเห็นแย้งต่อกรณีมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณียุบพรรคการเมือง[6] บทบาทการเคลื่อนไหวที่โดดเด่นของวรเจตน์ ภาคีรัตน์ ได้สร้างความไม่พอใจให้กับบุคคลบางกลุ่ม โดยวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2555 มีชายสองคนเข้าทำร้ายร่างกายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ แต่ได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย[7]

ใกล้เคียง

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น คณะนิติราษฎร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

แหล่งที่มา

WikiPedia: คณะนิติราษฎร์ http://www.enlightened-jurists.com/blog/56 http://www.enlightened-jurists.com/blog/61 http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E... http://www.koratforum.net/politics/1682.html http://www.ccaa112.org/Open-Letter.html http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%81%E0... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1... http://www.thairath.co.th/content/pol/112425 http://news.voicetv.co.th/thailand/26839.html https://www.thairath.co.th/content/235431