ในประเทศไทย ของ คณะพระมหาไถ่

มุขนายกอ็องฌ์-มารี-โฌแซ็ฟ แกว็ง ผู้แทนพระสันตะปาปาประมุขมิสซังลาวขณะนั้น ได้ขอให้สันตะสำนักส่งมิชชันนารีมาประกาศข่าวดีในเขตมิสซังสยามและเขตมิสซังลาว สันตะสำนักจึงสอบถามยังคณะพระมหาไถ่ จนตัดสินใจให้คณะพระมหาไถ่แขวงเซนต์หลุยส์ สหรัฐอเมริกา มาปฏิบัติหน้าที่ แต่ด้วยปัญหาสงครามโลกครั้งที่สองทำให้การเดินทางต้องล่าช้าออกไป

เมื่อปัญหาต่าง ๆ คลี่คลายมิชชันนารี 4 ท่านก็ออกเดินทางมากับเรือจากรัฐแคลิฟอร์เนียและถึงท่าเรือเกาะสีชังในวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1948 เข้าพำนักที่เขตมิสซังกรุงเทพฯ ระยะหนึ่งแล้วจึงเดินทางต่อไปยังมิสซังลาวซึ่งขณะนั้นมีมุขนายกโกลด-ฟีลิป บาเยเป็นประมุข การเผยแผ่ศาสนาได้ก้าวหน้ามาจนปัจจุบัน และขยับขยายไปยังเขตมิสซังอื่น ๆ ด้วย งานที่สำคัญคือเมื่อพระสันตะปาปาให้ตั้งมิสซังอุดรธานีแยกออกจากมิสซังท่าแร่ ได้ทรงให้มิสซังอุดรธานีอยู่ในความดูแลของคณะพระมหาไถ่ โดยบาทหลวงแคลเรนซ์ เจมส์ ดูฮาร์ต อธิการคณะพระมหาไถ่ในขณะนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นมุขนายกและผู้แทนพระสันตะปาปาประมุของค์แรกของมิสซังอุดรธานี[2]

ปัจจุบันนี้มีบ้านนักบวชคณะพระมหาไถ่แล้ว 8 แห่งทั่วประเทศไทย[3] มีบาทหลวงชาวไทยที่เป็นนักบวชคณะพระมหาไถ่ได้รับแต่งตั้งเป็นมุขนายกมิสซังมาแล้ว 2 ท่าน[4] คือมุขนายกยอร์ช ยอด พิมพิสาร อดีตมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกอุดรธานี และมุขนายกฟิลิป บรรจง ไชยรา มุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกอุบลราชธานี สำหรับการปกครองภายในคณะมีบาทหลวงยอแซฟ อภิสิทธิ์ กฤษราลัมณ์ เป็นอธิการเจ้าคณะแขวงคณะพระมหาไถ่แห่งประเทศไทยคนปัจจุบัน

ใกล้เคียง

คณะพระมหาไถ่ คณะพระคาร์ดินัล คณะแห่งพระเยซูเจ้า คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 62 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย) คณะราษฎร คณะรักษาความสงบแห่งชาติ