ประวัติ ของ คณะพระมหาไถ่

บาทหลวงอัลฟอนโซ มาเรีย เด ลีกูโอรี เห็นว่ามีคนยากจนจำนวนมากต้องทนทุกข์ลำบากและต้องการความช่วยเหลือทางจิตวิญญาณ อัลฟอนโซจึงหันไปเน้นงานมิชชันนารีเพื่อเทศน์สอนประชาชนให้มั่นคงในความเชื่อ ท่านได้ประพันธ์หนังสือไว้ถึง 11 เล่ม ที่มีชื่อเสียง เช่น "เครื่องมือสำคัญแห่งความรอด" "พระทรมานของพระคริสต์" ซึ่งพระสันตะปาปาหลายพระองค์ชื่นชมผลงานของท่านอย่างมาก[2]

ต่อมาท่านได้รวบรวมบาทหลวงและฆราวาส ตั้งชื่อกลุ่มว่า "คณะพระมหาไถ่" สมาชิกมีเจตนารมณ์ในการประกาศข่าวดีแก่คนยากจน เพื่อให้จิตวิญญาณของบุคคลเหล่านี้ได้ถึงความรอด คณะนักบวชนี้ได้รับการรับรองจากสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 14 ในปี ค.ศ. 1794

สมาชิกของคณะก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้คณะแพร่หลายมากขึ้น เช่น บาทหลวงเคลเมนส์ มาเรีย ฮอฟเบาเออร์ (ต่อมาได้รับการประกาศเป็นนักบุญ) ได้ขยายงานของคณะไปยังจักรวรรดิออสเตรีย แม้ในช่วงแรกจะมีอุปสรรคจากปัญหาการเมืองแต่ท่านก็นำคณะผ่านวิกฤตนั้นมาได้ สมาชิกในรุ่นต่อ ๆ มายังทำให้คณะขยายตัวไปทั่วทวีปยุโรป ข้ามไปยังทวีปอเมริกาเหนือ จนปัจจุบันสมาชิกคณะพระมหาไถ่ได้ทำงานอยู่ถึง 77 ประเทศทั่วโลก

ใกล้เคียง

คณะพระมหาไถ่ คณะพระคาร์ดินัล คณะแห่งพระเยซูเจ้า คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 62 คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 คณะราษฎร คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย) คณะรักษาความสงบแห่งชาติ