ทวีปยุโรป
ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") เป็นทวีปที่ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและส่วนมากอยู่ในซีกโลกตะวันออก ทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทางตะวันออกติดกับทวีปเอเชีย ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นอนุทวีปทางด้านตะวันตกของทวีปยูเรเชียตั้งแต่ประมาณ 1850 การแบ่งยุโรปกับเอเชียมักยึดตามสันปันน้ำของเทือกเขายูรัลและเทือกเขาคอเคซัส แม่น้ำยูรัล ทะเลแคสเปียน ทะเลดำและช่องแคบตุรกี[3] แม้คำว่า "ทวีป" จะหมายถึงภูมิศาสตร์กายภาพของผืนดินขนาดใหญ่ที่ไม่มีการแบ่งอย่างแน่นอนและชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณชายแดนยุโรปกับเอเชียของยูเรเชียนั้นแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่งเขตแดน เส้นแบ่งเขตแดนของทวีปไม่ได้แบ่งตามเส้นแบ่งเขตแดนทางการเมืองทำให้ตุรกี รัสเซียและคาซัคสถานเป็นประเทศข้ามทวีปยุโรปมีพื้นที่ประมาณ 10,180,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2% ของผิวโลก (6.8% ของผืนดิน) ในทางการเมืองยุโรปมีรัฐอธิปไตยและเขตปกครองกว่า 50 รัฐ ซึ่งมีรัสเซียเป็นประเทศที่ใหญ่และมีประชากรมากที่สุด โดยกินพื้นที่ทวีปยุโรป 39% และมีประชากรทั้งหมด 15% ของทวีป ใน พ.ศ. 2560 ยุโรปมีประชากรประมาณ 741 ล้านคน[1] (หรือ 11% ของประชากรโลก) ภูมิอากาศยุโรปส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากกระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรแอตแลนติกทำให้ภายในทวีปจะมีอากาศหนาวจัดในฤดูหนาวและร้อนในฤดูร้อนแม้ในละติจูดเดียวกันในเอเชียกับอเมริกาเหนือจะมีสภาพอากาศที่รุนแรง ยุโรปภาคพื้นทวีปจะเห็นความแตกต่างตามฤดูกาลได้ชัดเจนกว่าบริเวณชายฝั่งทวีปยุโรปโดยเฉพาะกรีซโบราณเป็นแหล่งกำเนิดวัฒนธรรมตะวันตก[4][5][6] การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกใน ค.ศ 476 และสมัยการย้ายถิ่นช่วงต่อมา เป็นจุดจบของสมัยโบราณและเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยกลาง มนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ยุคแห่งการสำรวจ ศิลปะและวิทยาศาสตร์อันเป็นเป็นรากฐานนำไปสู่สมัยใหม่ ตั้งแต่ยุคแห่งการสำรวจเป็นต้นมานั้นยุโรปมีบทบาทสำคัญระดับโลกในด้านเศรษฐกิจ ระหว่างศตวรรษที่ 16 ถึง 20 ประเทศในยุโรปมีอำนาจปกครองหลาย ๆ ครั้งในทวีปอเมริกา เกือบทั้งหมดของแอฟริกาและโอเชียเนียร่วมถึงพื้นที่ส่วนใหญ่ของเอเชียยุคเรืองปัญญาหลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศสและสงครามนโปเลียนส่งผลให้เกิดการปฏิรูปวัฒนธรรม การเมืองและเศรษฐกิจในช่วงปลายศตวรรษที่ 17 ถึงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 19 การปฏิวัติอุตสาหกรรมในสหราชอาณาจักรช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสังคมเป็นอย่างมากในยุโรปตะวันตกและขยายไปทั่วทั้งโลกในเวลาต่อมา สงครามโลกทั้ง 2 ครั้งมีสมรภูมิส่วนใหญ่อยู่ในทวีปยุโรปนั้น ทำให้ช่วงกลางศตวรรษที่ 20 สหภาพโซเวียตและสหรัฐขึ้นมามีอำนาจในขณะที่ประเทศยุโรปตะวันตกส่วนใหญ่มีอำนาจลดลง[7] ระหว่างสงครามเย็นยุโรปถูกแบ่งด้วยม่านเหล็กระหว่างเนโททางตะวันตกกับกติกาสัญญาวอร์ซอในตะวันออก จนกระทั่งสิ้นสุดลงหลังการปฏิวัติ ค.ศ. 1989และการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินใน ค.ศ. 1949 สภายุโรปก่อตั้งขึ้นตามคำปราศรัยของ เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิล ซึ่งมีแนวคิดในการรวมยุโรปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน ทุกประเทศในยุโรปเป็นสมาชิกยกเว้นเบลารุส คาซัคสถานและนครรัฐวาติกัน การบูรณาการยุโรปอื่น ๆ อย่างการรวมกลุ่มโดยบางประเทศนำไปสู่การก่อตั้งสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งเป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมืองซึ่งมีรูปแบบสมาพันธรัฐและสหพันธรัฐ[8] สหภาพยุโรปก่อตั้งขึ้นในยุโรปตะวันตกแต่เริ่มเพิ่มสมาชิกในยุโรปตะวันออกตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 ประเทศที่เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปส่วนใหญ่ใช้สกุลเงินยูโรซึ่งชาวยุโรปนิยมใช้กันทั่วไป; และในเขตเชงเก้นของอียูจะยกเลิกการควบคุมชายแดนและการอพยพระหว่างประเทศสมาชิก เพลงประจำสหภาพยุโรปคือ "ปีติศังสกานท์"และมีวันยุโรปเพื่อการเฉลิมฉลองสันติภาพและเอกภาพประจำปีในทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป

จำนวนประเทศ 50 ประเทศ
(รับรองบางส่วน 6 แห่ง)
ประชากร 741,447,158 คน
(พ.ศ. 2560; อันดับที่ 3)[1]
เมืองใหญ่ ชุมชนเมืองที่ใหญ่ที่สุด[2]:
ความหนาแน่น 72.9 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 2)
คำเรียกผู้อาศัย ชาวยุโรป (European)
จำนวนดินแดน 6 ดินแดน
เขตเวลา UTC−1 ถึง UTC+5
ภาษา ภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุด:
พื้นที่ 10,180,000 ตารางกิโลเมตร
(อันดับที่ 6)[ก]