สมาชิก ของ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

คณะมนตรีนี้ประกอบด้วยสมาชิกถาวร (Permanent members) 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐ และสมาชิกไม่ถาวร (Non-permanent members) 10 ประเทศ ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี และไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งซ้ำได้ในทันทีเมื่อหมดวาระ

สมาชิกถาวร

รัฐชาติรัฐผู้แทนในปัจจุบันรัฐผู้แทนในอดีต
จีน สาธารณรัฐประชาชนจีน (ตั้งแต่ 1971) สาธารณรัฐจีน (1945–1971)
ฝรั่งเศส สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 (ตั้งแต่ 1958) รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (1945–1946)
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 4 (1946–1958)
รัสเซีย สหพันธรัฐรัสเซีย (ตั้งแต่ 1991) สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (1945–1991)
บริติช สหราชอาณาจักร (ตั้งแต่ 1945)
อเมริกัน สหรัฐอเมริกา (ตั้งแต่ 1945)
  • ประเทศสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
  • ประเทศสมาชิกถาวรดั้งเดิมของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในปี ค.ศ. 1945 (น้ำเงินเข้ม) รวมอาณานิคม (น้ำเงินอ่อน)

สมาชิกไม่ถาวร

ประเทศสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในปัจจุบัน

การเลือกตั้งสมาชิกไม่ถาวรของ UNSC จะแบ่งตามกลุ่มภูมิภาค 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเอเชียและหมู่เกาะแปซิฟิก กลุ่มแอฟริกา กลุ่มลาตินอเมริกาและแคริบเบียน (GRULAC) กลุ่มยุโรปตะวันออก (EES) และ กลุ่มยุโรปตะวันตกและประเทศอื่น (WEOG) โดยกลุ่มเอเชีย-แปซิฟิกได้รับการจัดสรรที่นั่ง 2 ที่ กลุ่มแอฟริกา 3 ที่ กลุ่ม GRULAC 2 ที่ กลุ่มยุโรปตะวันออก 1 ที่ และกลุ่ม WEOG 2 ที่

โดยการเลือกตั้งสมาชิกไม่ถาวร UNSC จะมีขึ้นในช่วงสมัยการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ซึ่งมีการประชุมหลัก ๆ ในช่วงเดือนกันยายน ถึงธันวาคมของทุกปี โดยประเทศที่จะได้รับการเลือกตั้งจะต้องได้รับเสียงสนับสนุนอย่างน้อย 2 ใน 3 ของสมาชิกที่เข้าร่วมการประชุม UNGA โดยเป็น การลงคะแนนลับ ทั้งนี้ สมาชิก UNSC ที่ได้รับการเลือกตั้งใหม่ จะเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 1 มกราคม ของปีถัดไป

วาระกลุ่มแอฟริกากลุ่มเอเชีย-แปซิฟิกละตินอเมริกาและแคริบเบียนยุโรปตะวันตกและอื่น ๆยุโรปตะวันออก
2017 เอธิโอเปีย คาซัคสถาน โบลิเวีย สวีเดน อิตาลี[1][2]
2018 โกตดิวัวร์ อิเควทอเรียลกินี คูเวต เปรู เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์
2019 แอฟริกาใต้ อินโดนีเซีย[3] สาธารณรัฐโดมินิกัน เบลเยียม เยอรมนี
2020

ใกล้เคียง

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ คณะมนุษยศาสตร์ และการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร