สถานที่ภายใน ของ คณะวิทยาศาสตร์_มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

  • อาคารสำนักงานบริหารคณะ เดิมอาคารดังกล่าวเป็นที่ตั้งของสำนักงานอธิการบดี แต่เมื่อมีการสร้างสำนักงานอธิการบดีบริเวณด้านหลังพระบรมรูปสมเด็จพระบรมราชชนก อาคารดังกล่าวจึงได้รับการโอนเป็นสมบัติของคณะวิทยาศาสตร์ ภายในมีห้องประชุม, ห้องสัมมนา, หน่วยงานต่างๆ ของคณะ และห้องพักคณบดี รองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี[2]
  • อาคารศูนย์ปาฐกถาประดิษฐ์ เชยจิตร (ตึกฟักทอง) เป็นสถาปัตยกรรมประธานของคณะ ออกแบบโดยอาจารย์ อมร ศรีวงศ์ ภายในประกอบด้วยห้องบรรยาย 5 ห้อง คือห้องบรรยาย L1 ความจุ 500 ที่นั่ง และห้องบรรยาย L2-L5 ความจุห้องละ 300 ที่นั่ง อาคารศูนย์ปาฐกถาประดิษฐ์ เชยจิตรใช้เป็นสถานที่เรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของทุกคณะในวิทยาเขตหาดใหญ่ โดยบริเวณชั้นล่างของอาคารเป็นที่ตั้งของหน่วยกิจการนักศึกษา, สมาคมนักศึกษาเก่า, หน่วยอาคารและสถานที่ และหน่วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
  • อาคารวิทยาการคอมพิวเตอร์ เดิมอาคารดังกล่าวเป็นที่ตั้งภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์ แต่เมื่อภาควิชาดังกล่าวโอนไปสังกัดคณะศิลปศาสตร์ และย้ายสำนักงานของภาควิชาไปยังอาคารของคณะ อาคารดังกล่าวจึงได้รับการปรับปรุงเป็นอาคารของภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งย้ายมาจากอาคารคณิตศาสตร์และสถิติ ภายในมีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษาทั้งภายในคณะและต่างคณะ
  • อาคารคณิตศาสตร์และสถิติ เป็นอาคาร 3 ชั้น ยกพื้นสูงจากระดับปกติ เป็นที่ตั้งของภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ โดยบริเวณลานใต้อาคารเป็นที่ตั้งของโรงอาหารคณะวิทยาศาสตร์, ชุมนุมวิชาการ, ชุมนุมคอมพิวเตอร์, ชุมนุมคณิตศาสตร์และสถิติ, ชุมนุมดนตรีสากล และสำนักงานสโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์อีกด้วย
  • อาคารกิจกรรมนักศึกษา ตั้งอยู่ระหว่างอาคารคณิตศาสตร์และอาคารวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นที่ตั้งของชุมนุมสังกัดคณะ รวม 6 ชุมนุม ได้แก่ ชุมนุมผู้นำเชียร์, ชุมนุมภาษาต่างประเทศ, ชุมนุมกีฬา, ชุมนุมเทคโนโลยีชีวภาพ, ชุมนุมศิลปวัฒนธรรมและการดนตรี และชุมนุมโสตทัศนศึกษา
  • อาคารฟิสิกส์ เป็นอาคาร 4 ชั้น อยู่บริเวณเดียวกับอาคารคณิตศาสตร์และสถิติ เป็นที่ตั้งของภาควิชาฟิสิกส์ โดยบริเวณชั้น 3 เป็นที่ตั้งของสำนักงานภาควิชาฟิสิกส์ และบริเวณชั้น 4 เป็นที่ตั้งของสถานวิจัยการวิเคราะห์สารปริมาณน้อยและไบโอเซนเซอร์
  • ลานบานบุรี อยู่ระหว่างอาคารฟิสิกส์กับอาคารคณิตศาสตร์และสถิติ เดิมเรียกว่า "ลานฟิสิกส์" เป็นที่จัดกิจกรรมภายในคณะ
  • อาคารเคมี เป็นอาคาร 5 ชั้น ทอดตัวยาวจากอาคารวิทยาการคอมพิวเตอร์จนถึงอาคารชีววิทยา เป็นที่ตั้งของภาควิชาเคมี โดยบริเวณชั้น 1 ของอาคารเป็นที่ตั้งของสำนักงานภาควิชาเคมี, ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของคณะ, หน่วยคอมพิวเตอร์ และชุมนุมเคมีสัมพันธ์อีกด้วย
  • อาคารชีววิทยา เป็นอาคาร 4 ชั้น อยู่ข้างสนามวิดยาดินแดง เชื่อมต่อกับอาคารเคมี เป็นที่ตั้งของภาควิชาชีววิทยา โดยบริเวณชั้น 1 เป็นที่ตั้งของสำนักงานภาควิชาชีววิทยา, ห้องหัวหน้าภาควิชา, ห้องบรรยาย B101 และห้องปฏิบัติการอนุกรมวิธานของพืช, บริเวณชั้น 2 เป็นที่ตั้งห้องประชุมภาควิชา, ห้องปฏิบัติการสรีรวิทยาของพืช และหน่วยวิจัยแพลงก์ตอน, บริเวณชั้น 3 เป็นที่ตั้งของชุมนุมชีววิทยา, ห้องบรรยาย B307, หน่วยวิจัยสาหร่ายและหญ้าทะเล และหน่วยวิจัยแมลง และบริเวณชั้น 4 เป็นที่ตั้งของพิพิทธภัณฑ์พืชกิติเชษฐ์ ศรีดิษฐ หน่วยวิจัยพรรณพฤกษชาติในคาบสมุทรไทย-มาเลย์ และเขตพระราชฐานที่ประทับ รศ.ดร.กิติเชษฐ์ ศรีดิษฐอีกด้วย
  • สนามวิดยาดินแดง เป็นสนามหญ้าที่สามารถใช้เล่นกีฬาได้ เช่น ฟุตบอล เป็นสนามหญ้าที่รายล้อมด้วยอาคาร 4 อาคาร ได้แก่ อาคารฟิสิกส์, อาคารเคมี, อาคารชีววิทยา และอาคารคณิตศาสตร์และสถิติ และบริเวณกลางสนามมีต้นไม้ใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่ เป็นที่จัดกิจกรรมของคณะ โดยเฉพาะกิจกรรมประชุมเชียร์ และกีฬาภายในภาควิชา
  • อาคารพรีคลินิก เป็นอาคารสูง 5 ชั้น อยู่บริเวณเดียวกับอาคารเคมี โดยมีทางเชื่อมระหว่างอาคาร เป็นที่ตั้งของภาควิชา ได้แก่ ชั้น 1 ภาควิชากายวิภาคศาสตร์, ชั้น 2 ภาควิชาเภสัชวิทยา, ชั้น 3 ภาควิชาสรีรวิทยา, ชั้น 4 ภาควิชาชีวเคมี และชั้น 5 ภาควิชาจุลชีววิทยา
  • อาคารวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เป็นอาคารสูง 6 ชั้น เชื่อมต่อกับอาคารพรีคลินิก โดยบริเวณชั้น 1 ของอาคารเป็นที่ตั้งของห้องบรรยาย วท 1-3, บริเวณชั้นที่ 2 ที่ตั้งภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวัสดุและภาควิชาชีววิทยา (บางส่วน) ห้องปฏิบัติการสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและนิเวศวิทยา, ห้องปฏิบัติการสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก, หน่วยวิจัยปะการังและสัตว์พื้นทะเล, บริษัท มารีน อีโคเสิร์ช แมเนจเมนท์ จำกัด และหน่วยวิจัยค้างคาว, ชั้นที่ 3 ที่ตั้งภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวัสดุ, ชั้นที่ 4 ที่ตั้งภาควิชาชีวเคมี และชั้นที่ 5-6 ที่ตั้งภาควิชาจุลชีววิทยา
  • พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี เป็นอาคารเชื่อมระหว่างอาคารวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีกับอาคารปฏิบัติการรวมใหม่ ภายในจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับธรรมชาติ, การกำเนิดของโลก, พืช, สัตว์ในประเทศไทย และกลไกการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ นอกจากนี้บริเวณหน้าอาคารยังจัดแสดงหินชนิดต่างๆ และมีประติมากรรมไดโนเสาร์รูปแบบจำลอง 3 ตัว
  • อาคารปฏิบัติการรวม (ML) เป็นอาคาร 3 ชั้น ภายในมีห้องบรรยาย ห้องปฏิบัติการทางพรีคลินิกและวัสดุศาสตร์ หน่วยรับบริจาตร่างกายเพื่อการศึกษา และศูนย์ฝึกผ่าตัดอาจารย์ใหญ่ อยู่ด้านหลังอาคารวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และอยู่ติดกับอาคารบ่อดองผู้บริจาคร่างกายเพื่อการศึกษา หรือเรียกโดยทั่วไปว่า "อาจารย์ใหญ่" ของภาควิชากายวิภาคศาสตร์
  • อาคารปฏิบัติการรวมใหม่ (NML) เป็นอาคารสูง 5 ชั้น โดยบริเวณชั้น 1 เป็นที่ตั้งของห้องบรรยาย NML 1-3 และห้องเก็บตัวอย่างอ้างอิงของพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี, บริเวณชั้น 2 เป็นห้องปฏิบัติการทางมหกายวิภาคศาสตร์, บริเวณชั้น 3 เป็นห้องปฏิบัติการทางสรีรวิทยาและห้องปฏิบัติการทางเภสัชวิทยา, บริเวณชั้น 4 เป็นห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยา และชั้น 5 เป็นห้องปฏิบัติการทางชีวเคมีและห้องปฏิบัติการทางเคมีอินทรีย์ โดยเฉพาะบริเวณชั้น 2 เป็นที่ตั้งของห้องปฏิบัติการทางมหกายวิภาคศาสตร์ ซึ่งนักศึกษาทางด้านสายวิทยาศาสตร์สุขภาพจะมีโอกาสศึกษาอวัยวะส่วนต่างๆ ของผู้บริจาคร่างกายเพื่อการศึกษา หรือเรียกโดยทั่วไปว่า "อาจารย์ใหญ่" และคณะวิทยาศาสตร์จะเปิดให้ผู้สนใจเข้าชมผู้บริจาคร่างกายเพื่อการศึกษาในสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติทุกปี
  • อาคารเรียนและปฏิบัติการพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (BSc) เป็นอาคารสูง 10 ชั้น เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 แล้วเสร็จเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 โดยบริเวณชั้น 1 ของอาคารมีห้องกระจกสำหรับแสดงนิทรรศการต่างๆของคณะ, ลานอเนกประสงค์ และเซเว่น อีเลฟเว่น (7-Eleven), ชั้น 2 ห้องบรรยาย และที่ตั้งภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพโมเลกุลและสารสนเทศ, ชั้น 3 ห้องบรรยาย, บริเวณชั้น 4 ห้องบรรยายและห้องเรียนสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, ชั้น 5 ห้องเรียนสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและสำนักงานภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์, ชั้น 6 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์, ชั้น 7 ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์, ชั้น 8 ห้องปฏิบัติการชีววิทยา และห้องปฏิบัติการพันธุศาสตร์, ชั้น 9 ห้องปฏิบัติการเคมี และชั้น 10 ที่ตั้งภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพโมเลกุลและสารสนเทศ

ใกล้เคียง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แหล่งที่มา

WikiPedia: คณะวิทยาศาสตร์_มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ http://www.cs.psu.ac.th/ http://www.math.psu.ac.th http://www.mbb.psu.ac.th http://www.mst.psu.ac.th/ http://www.sc.psu.ac.th/Department/BIOCHEM/THAI/BI... http://www.sc.psu.ac.th/Department/PHYSIO/service/... http://www.sc.psu.ac.th/Units/PR/Event55/146.asp http://www.sc.psu.ac.th/specialevent/SciWeek48/ind... http://www.sc.psu.ac.th/units/PR/unit%20web/newspa... http://www.sc.psu.ac.th/units/PR/unit%20web/newspa...