ประวัติ ของ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์_มหาวิทยาลัยมหิดล

เมื่อ พ.ศ. 2507 กรรมการสภา มหาวิทยาลัยมหิดล ดำริจะขยายการศึกษาภายใน "มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์" ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยใหม่ โดยได้เข้าเฝ้าเพื่อกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อขอพระราชทานพระนาม "มหิดล"ซึ่งเป็นพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เป็นชื่อมหาวิทยาลัย แทน "มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์"เดิม

มีอาจารย์หลายท่านเข้าไปกราบบังคมทูลพระกรุณาฯเกี่ยวกับเรื่องนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระแสรับสั่งว่า


ไม่ทรงขัดข้องที่จะพระราชทานนาม “มหิดล” ให้แก่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ แต่ขอให้ขยายมหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์ เพื่อให้สมพระเกียรติของสมเด็จพระบรมราชชนก—  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช


ได้มีพระบรมราชานุญาต พร้อมทั้งมีพระราชกระแสรับสั่งว่า


ถ้าจะเพิ่มคณะขึ้นใหม่ ควรมีคณะสังคมศาสตร์อยู่ด้วยเพราะวิชาหมวดสังคมศาสตร์นั้นแพทย์และผู้ที่ทำงานสาธารณสุขควรจะรู้กัน—  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช


"มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์" เดิมจึงเปลี่ยนชื่อมาเป็น "มหาวิทยาลัยมหิดล" ตั้งแต่บัดนั้น พร้อมกันนี้ คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยยังได้เริ่มก่อตั้ง คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ขึ้นมาเป็นคณะที่ 12 ของ มหาวิทยาลัยมหิดล ตามประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2512 เพื่อให้เป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบโดยครอบคลุมทั้งด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปัจจุบัน คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์เน้นการเรียนการสอน และวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ [1]

ใกล้เคียง

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์