ปฏิกิริยา ของ คดีปราสาทพระวิหาร

ฝ่ายไทย

ตัวอย่างเสียง:
Sarit Dhanarajata's statement on July 4, 1962
"แถลงการณ์ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ต่อประชาชนชาวไทย เรื่องปราสาทเขาพระวิหาร เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2505"
  • หากไม่ได้ยินเสียง โปรดดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:วิธีใช้สื่อ
  • ทหารและตำรวจตระเวนชายแดนเชิญเสาธงชาติไทยจากยอดผาเป้ยตาดี 15 กรกฎาคม 2505

    วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 หลังจากศาลโลกตัดสินแล้ว 20 กว่าวัน รัฐบาลไทยโดย ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือไปยัง นายอูถั่น เลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อประท้วงคำพิพากษาของศาลโลกโดยอ้างว่าคำพิพากษานั้นขัดต่อกฎหมายและความยุติธรรม นอกจากนี้ ยังสงวนสิทธิที่ประเทศไทยจะเรียกร้องปราสาทพระวิหารกลับคืนในอนาคตด้วย

    "ในแถลงการณ์เป็นทางการลงวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1962 (พ.ศ. 2505) รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ประกาศต่อประชาชนแสดงความไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของศาลที่กล่าวข้างต้น โดยมีเหตุผลว่า ตามความเห็นของรัฐบาล คำพิพากษาขัดต่อข้อกำหนดอันชัดแจ้งของบทที่เกี่ยวเนื่องของสนธิสัญญา ค.ศ. 1904 (พ.ศ. 2447) และ ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) และขัดต่อหลักกฎหมาย และความยุติธรรม แต่อย่างไรก็ดีรัฐบาลก็ยังแถลงว่าในฐานะที่เป็นสมาชิกสหประชาชาติรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะปฏิบัติตามพันธกรณีที่ตนมีอยู่ตามคำพิพากษาดังกล่าว เพื่อปฏิบัติหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ตามข้อ 94 ของกฎบัตร

    ข้าพเจ้าใคร่จะแจ้งให้ท่านทราบว่า ในการตัดสินใจที่จะปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารนั้น รัฐบาล ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปรารถนาที่จะตั้งข้อสงวนอันชัดแจ้งเกี่ยวกับสิทธิใด ๆ ที่ประเทศไทยมีหรืออาจมีในอนาคต เพื่อเอาปราสาทพระวิหารกลับคืนมา โดยอาศัยกระบวนการกฎหมายที่มีอยู่หรือที่จะพึงนำมาใช้ได้ในภายหลัง และตั้งข้อประท้วงต่อคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ที่ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา"[6]

    หลังจากนั้น เวลา 12:00 นาฬิกา วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 พลโทประภาส จารุเสถียร ได้คุมทหารและตำรวจตระเวนชายแดนเชิญธงชาติไทยจากหน้าผาเป้ยตาดีลงมาทั้งเสาโดยไม่ชักธงลง และนำไปติดตั้งไว้บริเวณฐานปฏิบัติการ ตชด. ที่ผามออีแดง และทางกัมพูชาก็ส่งเจ้าหน้าที่ขึ้นมาประจำการบนปราสาท

    ฝ่ายกัมพูชา

    หลังจากที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา ได้มีการเฉลิมฉลองทั่วทั้งพระราชอาณาจักรกัมพูชา มีการประกาศวันหยุดราชการ และในปี พ.ศ. 2506 สมเด็จเจ้าสีหนุได้เสด็จขึ้นปราสาทพระวิหารเพื่อทำพิธีบวงสรวง ทางสะพานโบราณ (ช่องบันไดหัก) หลังจากที่ทรงทราบว่ากัมพูชาชนะคดีปราสาทพระวิหาร[ต้องการอ้างอิง]

    ใกล้เคียง

    คดีปราสาทพระวิหาร คดีประหลาดคนปีศาจ คดีปราสาทพระวิหาร (กรณีตีความคำพิพากษา) คดีปริศนาเส้นตายสู่สวรรค์ คดีปริศนาระเบิดระฟ้า คดีระหว่างนายทะเบียนพรรคการเมือง กับพรรคประชาธิปัตย์ (2553) คดีระหว่างบริษัทมอนซานโต้แคนาดากับชไมเซอร์ คดีพรหมพิราม คดีระหว่างพนักงานอัยการ กับพิมล กาฬสีห์ และนภาพันธ์ กาฬสีห์ คดีป่วน ชวนให้รัก