คดีปราสาทพระวิหาร
คดีปราสาทพระวิหาร

คดีปราสาทพระวิหาร

คดีปราสาทพระวิหาร เป็นกรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตระหว่างราชอาณาจักรกัมพูชากับราชอาณาจักรไทย ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี 2501 จากปัญหาการอ้างสิทธิเหนือบริเวณปราสาทพระวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ที่ชายแดนไทยด้านอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และชายแดนกัมพูชาด้านจังหวัดพระวิหาร เกิดจากการที่ทั้งไทยและกัมพูชา ถือแผนที่ปักปันเขตแดนตามแนวสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรักคนละฉบับ ทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของทั้งสองฝ่ายในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของตัวปราสาท โดยภาคีทั้งสองได้ยินยอมให้มีการพิจารณาปัญหาดังกล่าวขึ้นที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี 2502คดีนี้ศาลโลกได้ตัดสินให้ตัวปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 ด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 โดยใช้หลักกฎหมายการยอมรับโดยปริยาย (tacit acceptance) เนื่องจากรัฐบาลสยามไม่โต้แย้งแผนที่ซึ่งนักภูมิศาสตร์ฝรั่งเศสจัดทำขึ้นตามคำขอของรัฐบาลสยามเองต่อมาในปี 2554 หลังกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก ได้เกิดกรณีพิพาทด้วยอาวุธขึ้นโดยรอบปราสาท ทำให้กัมพูชาขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาปี 2505 อีกครั้งในกรณีเกี่ยวกับ "บริเวณโดยรอบปราสาท"

คดีปราสาทพระวิหาร

ตุลาการ ประธาน: โบดาน วินิอาร์สกิ
ตุลาการ:
  • ริคาร์โด อาลฟาโร
  • ลูซิโอ มอเรโน กินตานา
  • เวลลิงตัน คู
  • เพอร์ซี สเปนเดอร์
  • จูลส์ บาเดอวังต์
  • อับดุล บาดาวี
  • เจรัลด์ ฟิตซ์มอริส
  • วลาดิเมียร์ คอเรดสกี
  • โคะทะโระ ทะนะกะ
  • โจเซ่ บุสตามันเต อี ริเบโร
  • เกตาโน มอเรลลี
  • สปีโรปูลอส
คำร้อง ขอให้ศาลฯ ประกาศให้อำนาจอธิปไตยดินแดนเหนือปราสาทเป็นของกัมพูชา และไทยมีพันธกรณีต้องถอนทหารที่ประจำอยู่ที่ปราสาท
ศาล ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
กฎหมาย หลักการยอมรับโดยปริยาย (tacit acceptance)[1]
ผู้คัดค้าน  ไทย
ข้อกล่าวหา ไทยยึดดินแดนโดยรอบซากปราสาทพระวิหาร
ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2505
ผู้ร้อง  กัมพูชา

ใกล้เคียง

คดีปราสาทพระวิหาร คดีประหลาดคนปีศาจ คดีปราสาทพระวิหาร (กรณีตีความคำพิพากษา) คดีปริศนาเส้นตายสู่สวรรค์ คดีปริศนาระเบิดระฟ้า คดีพรหมพิราม คดีระหว่างนายทะเบียนพรรคการเมือง กับพรรคประชาธิปัตย์ (2553) คดีระหว่างบริษัทมอนซานโต้แคนาดากับชไมเซอร์ คดีระหว่างพนักงานอัยการ กับพิมล กาฬสีห์ และนภาพันธ์ กาฬสีห์ คดีป่วน ชวนให้รัก