คำพิพากษา ของ คดีระบายข้าวจีทูจี

ศาลฯ นัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 25 สิงหาคม 2560 วันนั้นตำรวจได้วางมาตรการรักษาความปลอดภัยรอบศาล โดยเปิดให้รถเข้าทางเดียว รถของผู้สื่อข่าวจะต้องแจ้งทะเบียนรถล่วงหน้า ส่วนสื่อมวลชนอนุญาตให้เข้าฟังในห้องพิจารณา 70 คน[4]

ศาลอ่านคำพิพากษา เห็นว่า ภูมิ สาระผล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธานอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว ใช้เกณฑ์ราคาขายแบบหนังคลังสินค้าซึ่งผิดไปจากแนวทางปฏิบัติในกรณีการซื้อขายแบบรัฐต่อรัฐ จากนั้นเห็นชอบให้ขายข้าวแก่บริษัทกว่างตง จำกัด เป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งไม่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลจีน 2 สัญญา ทำให้ประเทศได้รับความเสียหาย 11,011 ล้านบาท ต่อมา บุญทรง เตริยาภิรมย์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และได้รับแต่งตั้งเป็นประธานอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าวแทน เห็นชอบสัญญาซื้อขายข้าวกับบริษัทกว่างตง 1 ฉบับ ทำให้ประเทศชาติได้รับความเสียหาย 5,694 ล้านบาท ทั้งเห็นชอบให้ทำสัญญากับบริษัทห่ายหนาน ทำให้ประเทศชาติเสียหาย 162 ล้านบาท ภายหลังการซื้อขายทั้งสี่ฉบับปรากฏว่ามีการชำระค่าข้าวด้วยแคชเชียร์เช็คภายในประเทศและรับมอบข้าวไปขายต่อภายในประเทศ โดยไม่มีการส่งข้าวออกไปยังประเทศอื่น กระบวนการดังกล่าวกระทำโดยภูมิ, บุญทรง, อภิชาติ จันทร์สกุลพรและวกร่วมกันนำบริษัทกว่างตงและบริษัทห่ายหนานมาขอซื้อข้าวโดยแอบอ้างว่าได้รับมอบหมายจากรัฐบาลจีนมาทำสัญญาซื้อขายแบบรัฐต่อรัฐในราคาต่ำกว่าท้องตลาดโดยหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมอันเป็นการเอาเปรียบแก่กรมการค้าต่างประเทศ เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 เมื่อราคาข้าวในท้องตลาดลดลง รัฐวิสาหกิจผู้ซื้อข้าวก็จะไม่ยอมมารับข้าวตามสัญญา แต่มาขอทำสัญญาฉบับใหม่ซื้อข้าวชนิดเดียวกันในคาคาต่ำลงกว่าสัญญาเดิม โดยบุญทรงไม่เปิดประมูลขายข้าวภายในประเทศ ทำให้ข้าวในท้องตลาดขาดแคลน ผู้ประกอบการค้าข้าวไม่สามารถหาซื้อข้าวในท้องตลาดได้ จำต้องไปหาซื้อข้าวจากกลุ่มบริษัทและพนักงานของอภิชาติ ศาลเห็นว่าเป็นการซื้อโดยไม่ทราบว่าเป็นข้าวที่มาจากสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง

พิพากษาจำคุกบุญทรง เตริยาภิรมย์ 42 ปี ภูมิ สาระผล 36 ปี อภิชาติ จันทร์สกุลพร 48 ปี จำเลยที่เหลือจำคุกลดหลั่นลงตามพฤติการณ์แห่งความผิด และให้ บริษัท สยามอินดิก้า จำกัด, อภิชาติ จันทร์สกุลพรและนิมลร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่กระทรวงการคลัง 16,912 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 นับแต่วันที่รับมอบข้าวตามสัญญาแต่ละฉบับ จำเลยอื่นให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามส่วนเช่นเดียวกัน ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 19 และจำเลยที่ 22 ถึง 28

หลังคำพิพากษา เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้ควบคุมตัวขึ้นรถเรือนจำออกจากศาล เพื่อนำตัวไปควบคุมไว้ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ทนายความจำเลยได้เขียนคำร้องเพื่อยื่นประกันจำเลยระหว่างที่รอใช้สิทธิอุทธรณ์คดี[5] แต่องค์คณะผู้พิพากษาศาลฯ มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยที่ยื่นหลักทรัพย์ประกันตัวระหว่างอุทธรณ์เนื่องจากเป็นคดีที่มีอัตราโทษสูง[6] ทั้งนี้ จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 195 ได้ โดยให้อุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้ภายในสามสิบวันนับแต่มีคำพิพากษา

สำนักข่าวอิศราจำแนกบทลงโทษจำเลยแต่ละคนไว้ดังนี้[7]

ชื่อและตำแหน่งความผิดบทลงโทษหมายเหตุ
ป.อ.
ม. 151
พ.ร.บ.ฮั้ว
ม. 4
พ.ร.บ.ป.ป.ช.
ม. 123/1
ภูมิ สาระผล
อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
จำคุก 36 ปี
บุญทรง เตริยาภิรมย์
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณชย์
จำคุก 42 ปี
พ.ต.นพ.วีระวุฒิ วัจนะพุกกะ
อดีตผู้ช่วยเลขานุการ และอดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
หลบหนี
มนัส สร้อยพลอย
อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ
จำคุก 40 ปี
ฑิฆัมพร นาทวรทัต
อดีตผู้อำนวยการสำนักบริหารการค้าข้าว
จำคุก 32 ปี
อัครพงศ์ ช่วยเกลี้ยง
อดีตเลขานุการกรมการค้าต่างประเทศ
จำคุก 24 ปี
สมคิด เอื้อนสุภา
อ้างว่าเป็นผู้รับมอบอำนาจจากกวางตุ้ง และห่ายหนาน
จำคุก 16 ปี
ลิตร พอใจ
อ้างว่าเป็นผู้รับมอบอำนาจจากกวางตุ้ง และห่ายหนาน
จำคุก 8 ปี
รัฐนิธ โสจิระกุล
อ้างว่าเป็นผู้รับมอบอำนาจจากบริษัทกวางตุ้ง
จำคุก 8 ปี
• รัตนา แซ่เฮ้ง
• เรืองวัน เลิศศลารักษ์
เครือข่ายบริษัท สยามอินดิก้า จำกัด
จำคุก 16 ปี
อภิชาติ จันทร์สกุลพร
เครือข่ายบริษัท สยามอินดิก้า จำกัด
จำคุก 48 ปี
นิมล รักดี
เครือข่ายบริษัท สยามอินดิก้า จำกัด
จำคุก 32 ปี
• สุทธิดา ผลดี
• สุนีย์ จันทร์สกุลพร
• กฤษณะ สุระมนต์
กรรมการ บริษัท สยามอินดิก้า จำกัด
จำคุก 4 ปี
สุธี เชื่อมไธสงหลบหนี
สมยศ คุณจักรยกฟ้อง
ธันยพร จันทร์สกุลพรหลบหนี
จำเลยที่ 22-28ยกฟ้อง

ใกล้เคียง

คดีระหว่างนายทะเบียนพรรคการเมือง กับพรรคประชาธิปัตย์ (2553) คดีระหว่างบริษัทมอนซานโต้แคนาดากับชไมเซอร์ คดีระหว่างพนักงานอัยการ กับพิมล กาฬสีห์ และนภาพันธ์ กาฬสีห์ คดีระหว่างล็อกเคบินรีพับลิกันส์ กับสหรัฐ คดีระบายข้าวจีทูจี คดีระหว่างบราวน์กับคณะกรรมการการศึกษา คดีระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดชลบุรีกับณัชกฤช จึงรุ่งฤทธิ์ คดีระหว่างบริษัทแอปเปิลกับบริษัทซัมซุงอิเล็คทรอนิกส์ จำกัด คดีระหว่างบริษัท 303 ครีเอทีฟ จำกัดกับเอเลนิส คดีระหว่างรัฐมินนิโซตากับชอวิน