รูปแบบและวัสดุ ของ ครอบฟัน

มีวิธีการทำครอบฟันหลายอย่าง แต่ละอย่างใช้วัสดุคนละอย่างหลักฐานที่มีแสดงว่า ครอบฟันเซรามิกล้วนอยู่ได้นานเท่ากับหรือน้อยกว่าครอบฟันโลหะเคลือบกระเบื้อง[6][7]ครอบฟันโลหะดีกว่าตรงที่ต้องกรอฟันออกน้อยกว่าครอบฟันแบบอื่น ๆ[8]และทนที่สุดในบรรดาครอบฟันทั้งหมด[6][9]

ครอบฟันที่มีโลหะ

ครอบฟันโลหะล้วน

ครอบฟันโลหะล้วนทำมาจากโลหะเจือ (อัลลอย) ชิ้นเดียวแม้ว่าภาษาอังกฤษจะเรียกว่า gold crown (ครอบฟันทอง) แต่ครอบฟันประเภทนี้ความจริงทำจากโลหะเจือ รวมทั้ง (แต่ไม่จำกัดแค่) ทอง แพลทินัม แพลเลเดียม เงิน ทองแดง และดีบุกสามอย่างแรกเป็นโลหะมีสกุล ในขณะที่สามอย่างหลังเป็นโลหะไร้สกุล (base metal)ครอบฟันโลหะจะมีคุณภาพดีถ้ามีโลหะมีสกุลมากตามสมาคมทันตแพทย์อเมริกัน โลหะเจือสำหรับครอบฟันโลหะล้วนจะเรียกว่า high noble (มีสกุลสูง) ก็ต่อเมื่อมีโลหะมีสกุล 60% โดยอย่างน้อย 40% ต้องเป็นทอง

การใส่ครอบฟันโลหะล้วนจะเริ่มที่ทันตแพทย์โดยแพทย์จะเตรียมฟันโดยกรอเนื้อฟันออกเพื่อให้มีที่ใส่ครอบฟันเมื่อเสร็จแล้วก็จะพิมพ์ฟัน ทั้งพิมพ์ฟันและประวัติคนไข้จะส่งไปยังห้องปฏิบัติการทันตแพทย์ ที่ช่างจะเทยิปซัมเหลวลงในพิมพ์ฟันเพื่อสร้างแบบจำลองฟันซึ่งจะเหมือนฟันในปากคนไข้ทุกอย่าง

ช่างจะทำครอบฟันโดยใช้วิธีที่เรียกว่าการหล่อแบบสูญขี้ผึ้ง (Lost-wax casting)[10]โดยตอนนี้มีข้อมูลที่จำเป็นเพื่อสร้างแบบขี้ผึ้ง (wax pattern) สำหรับครอบฟันโดยทำเผื่อรูปร่างฟัน การบดเคี้ยว และฟันที่เตรียมครอบไว้แล้วแล้วติดแบบรูเทขี้ผึ้ง (wax sprue pattern) กับแบบขี้ผึ้งฟันต่อจากนั้น ก็จะจุ่มแบบขี้ผึ้งทั้งหมดใส่ในวัสดุพอกหุ่น (investment material) ที่เป็นยิปซัมหรือมีพันธะฟอสเฟต (phosphate-bonded) รอให้แข็ง ใส่เข้าเตาที่ไฟจะเผาขี้ผึ้งจนเกลี้ยงเหลือแต่ช่องกลายเป็นแบบพอกหุ่นมีช่องที่ใช้หล่อครอบฟันโลหะ แล้วเทโลหะเหลวที่ต้องการเข้าในแบบพอกหุ่นเมื่อครอบฟันโลหะเย็นลงแล้ว ช่างสามารถเอาแกนค้างรูเทออก แล้วเตรียมครอบฟันให้ได้ส่วนและขัดมัน (fit and polish) เพื่อพร้อมสำหรับยึดด้วยซีเมนต์ใส่กับฟันครอบฟันก็จะส่งกลับไปให้ทันตแพทย์ ผู้จะเอาครอบฟันชั่วคราวออกแล้ว แล้วยึดครอบฟันถาวรด้วยซีเมนต์ใส่กับฟัน

ด้านข้างของครอบฟันโลหะเคลือบกระเบื้อง เพื่อฟันกรามซี่แรกที่ขากรรไกรล่างด้านซ้าย

ครอบฟันโลหะเคลือบกระเบื้อง (PFM)

ครอบฟันโลหะเคลือบกระเบื้อง (PFM) จะมีโครงโลหะที่ใช้เคลือบกระเบื้องในเตามีความร้อนสูงโดยโลหะจะทนแรงดันและแรงดึง และกระเบื้องทำให้ดูเหมือนฟันธรรมชาติ เหมาะสำหรับครอบฟันด้านหน้าครอบฟันเช่นนี้มักจะเคลือบกระเบื้องตรงส่วนที่มองเห็นได้แต่ผิวที่เหลือของครอบฟันจะเป็นโลหะล้วนโลหะผสม (หรืออัลลอย) ทั้งมีสกุลหรือไม่มีสกุลล้วนสามารถใช้ทำครอบฟันได้และสามารถใช้กระเบื้องที่มีสีเหมือนฟันข้าง ๆ หรือเหมือนเหงือก

การใช้เทคโนโลยี CAD/CAM ออกแบบวัสดุเพื่อซ่อมฟัน ผลผลิตของเทคโนโลยี CAD/CAM แสดงสะพานฟันพร้อมครอบฟันทำจากดิสก์โครเมียม-โคบอลต์ พร้อมที่จะใส่ที่ฟันหรือที่สิ่งปลูกสร้าง

ครอบฟันไร้โลหะ

ทันตแพทยศาสตร์แบบ CAD/CAM

การออกแบบและสร้างวัสดุเซรามิกล้วนแบบ CAD/CAM เป็นการถ่ายและเก็บรูปของฟันที่เตรียมรักษาโดยระบบดิจิตัล แล้วใช้คอมพิวเตอร์เพื่อออกแบบวัสดุใน 3-มิติ เพื่อให้เหมาะกับการอุดฝัง (inlay) การอุดครอบ (onlay) หรือเพื่อครอบฟันชิ้นเดียว โดยไม่ต้องพิมพ์ฟันหลังจากบอกคอมพิวเตอร์ว่า สิ่งที่ต้องการมีลักษณะ รูปร่าง และคุณสมบัติเช่นไร ก็จะส่งข้อมูลนี้ต่อไปยังเครื่องผลิตที่อยู่ไม่ไกลเครื่องจะใช้หัวจักรทำด้วยเพชรเพื่อผลิตวัสดุจากแท่งเซรามิกแข็งที่มีสีเหมือนกับฟันคนไข้ภายในประมาณ 20 นาทีก็จะเสร็จ แล้วแพทย์ก็จะตัดมันออกจากแท่งเซรามิกที่เหลือและทดลองใส่ในปากถ้าเข้ากับฟันได้ดี ทันตแพทย์ก็จะสามารถยึดวัสดุกับฟันด้วยซีเมนต์ได้เลย

อุปกรณ์ CAD/CAM มีราคาในต่างประเทศประมาณ 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3,500,000 บาท) โดยมีค่าใช้จ่ายเรื่อย ๆ สำหรับแท่งเซรามิกและหัวจักรเพราะมีราคาสูง ค่าใช้จ่ายของครอบฟันแบบ CAD/CAM ในคลินิกทันตแพทย์ปกติจะมีราคา 2-3 เท่าของครอบฟันเช่นเดียวกันที่ส่งห้องปฏิบัติการทำและโดยทั่วไปแล้ว ครอบฟันที่ทำโดย CAD/CAM และใช้เซรามิก Vita Mark I และ Vita Mark II 95% จะยังไม่แตกหลังจาก 5 ปี[11][12]นอกจากนั้นแล้ว 90% ยังสามารถใช้งานได้หลังจาก 10 ปี[11][12]

ข้อได้เปรียบของเซรามิกแบบ Mark II รวมทั้ง สึกเร็วเท่ากับฟันธรรมชาติ[12][13]สามารถรับแรงกดในระดับฟันธรรมชาติ[12][14]และรูปแบบการสึกเหตุกระทบเคลือบฟันของซี่อื่น คล้ายกับที่พบในการกระทบเคลือบฟันกับเคลือบฟัน[15][16]

เสริม Leucite

รู้จักโดยนิยมว่า ครอบฟันจักรพรรดินี (Empress Crown) ครอบฟันที่เสริม leucite คล้ายกับการทำครอบฟันโลหะอย่างผิวเผินตรงที่ว่า จะมีแบบพอกหุ่นกลวง แต่วิธีการที่เหลือจะไม่เหมือนกันช่างจะฉีดเซรามิกเสริม leucite ด้วยความดันเข้าในแบบพอกหุ่น (หรือแบบหล่อ) โดยใช้เตา pressable-porcelain-oven ทำให้เหมือนกับ "หล่อ" ครอบฟันแต่มีวัสดุเป็นเซรามิกหลังจากนั้น ครอบฟันสามารถย้อมสีและขัดเงา หรือตัดแล้วเคลือบด้วยเซรามิกเฟลด์สปาร์ให้เข้ากับสีและรูปฟันของคนไข้[17]

งานศึกษาย้อนหลังที่มหาวิทยาลัยอูเมโอแห่งประเทศสวีเดนศึกษาประสิทธิภาพของครอบฟันที่เสริม leuciteแล้วพบว่า ครอบฟันจักรพรรดินีแตกในอัตรา 6% และบูรณภาพของตัวอย่าง 86% ที่เหลืออยู่ในระดับ "ดีเยี่ยม"[17][18]

อะลูมิเนียมออกไซด์

อะลูมิเนียมออกไซด์ หรือ อะลูมิน่า ใช้เป็นแกน (core) เพื่อซ่อมฟันเริ่มในปี 2532 โดยวิธีหล่อสลิป (slip cast คือเทวัสดุผสมแบบเหลวลงในแบบแล้วรอให้แห้ง) ทำให้ร้อนจนเกือบเหลว แล้วแทรกด้วยแก้วในปัจจุบัน แกนอะลูมิน่าจะผลิตโดยกระบวนการ electrophoretic deposition ซึ่งเป็นการผลิตแบบนาโนที่ทำได้อย่างรวดเร็วในกระบวนการนี้ อนุภาควัสดุในสลิปจะลอยขึ้นสู่ผิวของแม่แบบโดยกระแสไฟฟ้า ทำให้ได้แกนที่แม่นยำภายในไม่กี่วินาทีจากนั้นก็จะตัดส่วนเกินแล้วให้ความร้อนจนเกือบเหลว (sinter) แล้วแทรกด้วยแก้ว

อะลูมินาแทรกกระจกจะแข็งแรงเพราะเหตุพันธะกระเบื้อง มากกว่าวัสดุจากกระบวนการ CAD/CAM ที่ทำจาก zirconia และอะลูมิน่าโดยไม่ได้แทรกแก้วที่ได้แกนอะลูมิน่าโดยขุดเจาะบล็อกวัสดุที่เผามาก่อนแล้ว แกนที่ไม่แทรกแก้วต้องทำให้ใหญ่กว่าขนาดที่ต้องการเผื่อหดเมื่อวัสดุเผาแห้งสนิท[19]ต่อจากนั้น แกนที่ขุดเจาะออกมาแล้วก็จะเผาเพื่อให้หดได้ขนาดตามที่ต้องการแกนอะลูมิน่าทุกอย่างจะเคลือบด้วยกระเบื้องเฟลด์สปาร์ที่คล้ายฟัน ทำให้ได้ครอบฟันที่มีรูปร่างและสีเหมือนธรรมชาติ[19]มีนักศิลป์กระเบื้องที่สามารถแต่งครอบฟันเหล่านี้ตามที่ทันตแพทย์และคนไข้ต้องการปัจจุบัน วิธีการนี้ คือ กระเบื้องเคลือบครอบฟันอะลูมิน่าเป็นมาตรฐานสำหรับครอบฟันที่ดูคล้ายฟันจริง ๆ

Zirconia

Zirconia เป็นเซรามิกที่แข็งมากที่สามารถใช้เป็นวัสดุในครอบฟันเซรามิกล้วนแม้ว่าจะยังเป็นวัสดุใหม่ที่เพิ่งนำมาใช้ในทันตแพทยศาสตร์ จึงมีข้อมูลทางคลินิกที่จำกัด[20]zirconia แบบที่ใช้ในทันตแพทยศาสตร์เป็น zirconium oxide ที่ทำให้เสถียรโดยเติมอิตเทรียมออกไซด์ชื่อเต็มของวัสดุที่ใช้ในทันตแพทยศาสตร์ก็คือ yttria-stabilized zirconia (YSZ)

แกนหลักทำด้วย zirconia ปกติจะออกแบบด้วยข้อมูลดิจิตัลจากปากคนไข้ ไม่ว่าจะเก็บด้วยการกราดภาพ 3-มิติ พิมพ์ฟัน หรือแบบจำลองแล้วก็จะขุดเจาะแกนหลักออกจากบล็อก zirconia ที่เผามาก่อนแต่ยังนิ่มอยู่เมื่อขุดเจาะเรียบร้อยแล้ว ก็จะเผาในเตาที่มันจะหดตัวโดย 20% และถึงความแข็งแรงที่สุดที่ 850-1,000 MPaหลังจากนั้นก็จะเคลือบแกนหลักด้วยกระเบื้องเฟลด์สปาร์ที่เหมือนฟัน เพื่อสร้างครอบฟันให้มีสีและรูปร่างที่ต้องการแต่เพราะว่า กระเบื้องอาจจะเคลือบเข้ากับ zirconia ไม่ดีพอ บ่อยครั้ง แพทย์จะทำครอบฟันจาก zirconia ล้วนโดยไม่เคลือบกระเบื้องที่ดูเหมือนฟันzirconia เป็นเซรามิกที่แข็งที่สุดและเป็นวัสดุที่แข็งแรงที่สุดที่ใช้ในทันตแพทยศาสตร์แต่ว่า ครอบฟัน zirconia ล้วนมักจะดูทึบโดยปราศจากความใสและไม่เรืองแสงดังนั้น เพื่อความสวยงาม แพทย์บางท่านจะไม่ใช้ครอบฟันเป็น zirconia ล้วนในฟันหน้า[21]

โดยหลักแล้ว การเลือกวัสดุจะกำหนดความแข็งแรงและรูปลักษณ์ของครอบฟันครอบฟันที่ทำด้วย zirconia ล้วนแข็งแรงที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วยเซรามิก (โดยมีหลักฐานยืนยันว่าสามารถรับแรงได้ถึง 1,000 MPa[22])แต่ว่า ครอบฟันเช่นนี้พิจารณาว่าดูไม่เป็นธรรมชาติพอที่จะใช้ในฟันหน้าและแม้จะไม่แข็งแรงเท่า ก็ยังมีวัสดุทำด้วย zirconia ใหม่ ๆ ที่ดูดีกว่า ถึงจะยังไม่สวยเท่ากับเคลือบกระเบื้องถ้าเคลือบกระเบื้องกับแกนที่เป็น zirconia ครอบฟันจะดูธรรมชาติกว่าที่ทำจาก zirconia ล้วน แต่จะไม่แข็งแรงเท่าโดยเปรียบเทียบกันแล้ว ครอบฟันที่ทำด้วยอะลูมิน่าแทรกแก้วเคลือบกระเบื้อง จะดูเป็นธรรมชาติและแข็งแรงมาก แม้จะไม่แข็งแรงเท่ากับที่ทำด้วย zirconia ล้วน

วัสดุที่สามารถใช้ทำครอบฟันล้วนอีกอย่างคือ lithium-disilicate จะทำให้ได้ครอบฟันเสริม leucite ที่โปร่งแสงมากจนบ่อยครั้งดูสีออกเทา ๆ เกินไปในปาก และเพื่อจะแก้ปัญหานี้ ก็จะต้องใช้สีอ่อน ๆ (เป็น polyvalent colorant) ที่ดูไม่ธรรมชาติโดยออกเป็นสีขาวจัดคุณสมบัติครอบฟันอย่างอื่นที่ควรพิจารณารวมทั้งการนำความร้อนและความโปร่งรังสี (เช่น รังสีเอ็กซ์เป็นต้น)การเข้ากับฟันที่เตรียมไว้ และขอบที่จะใส่ซีเมนต์ บางครั้งก็จะมีอิทธิพลต่อการเลือกวัสดุ แม้ว่า วิธีการผลิตก็จะมีผลต่อคุณสมบัติเหล่านี้ด้วย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ครอบฟัน http://www.azom.com/article.aspx?ArticleID=1682#_T... http://cashfordentalscrap.com/leucite-reinforced-s... http://icd9cm.chrisendres.com/index.php?srchtype=p... http://pocketdentistry.com/wp-content/uploads/285/... http://www.vident.com/assets/downloads_cloak/Bloc%... http://www.webmd.com/content/article/66/79592.htm http://www.webmd.com/oral-health/dental-crowns //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3723107 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11351485 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15892526