การเตรียมฟัน ของ ครอบฟัน

การใช้ Polyvinyl siloxane พิมพ์ฟันที่เตรียมเพื่อใส่สะพานครอบฟันโลหะเคลือบกระเบื้อง (PFM bridge) สำหรับฟัน 5 ซี่วัสดุพิมพ์ฟันสีแดงส้มใกล้ ๆ กับครอบฟันที่จะทำมีความหนืดน้อยกว่าวัสดุสีน้ำเงิน ทำให้เก็บรายละเอียดได้มากกว่า

การเตรียมฟันเพื่อครอบรวมการเอาฟันเดิมออก แม้ส่วนที่ยังแข็งแรงดี

วัสดุที่ปัจจุบันใช้ทุกอย่างยังไม่ดีเท่ากับฟันธรรมชาติ ดังนั้น การครอบฟันควรทำต่อเมื่อผู้ชำนาญการได้ตรวจฟันแล้วตัดสินว่า ประโยชน์ที่ได้จากการครอบฟันจะมากกว่าผลเสียที่ต้องกรอฟันดีออกซึ่งอาจเป็นการประเมินที่ซับซ้อน และดังนั้น ทันตแพทย์ (ฝึกที่สถาบันต่าง ๆ มีประสบการณ์ และผ่านการฝึกเพื่อวางแผนรักษาและเลือกคนไข้ต่าง ๆ) อาจมีข้อสรุปที่ไม่เหมือนกันเกี่ยวกับการรักษา

โดยทั่วไปแล้ว คนไข้จะต้องไปหาหมอมากกว่า 1 ครั้งเพื่อจะครอบฟันและทำสะพานฟัน ดังนั้น เวลาที่เสียเพิ่มขึ้นอาจเป็นข้อด้อยแต่ว่า ประโยชน์ที่ได้จากการครอบ โดยทั่วไปจะมากกว่าผลเสียเหล่านี้

ขนาด

เมื่อเตรียมฟันสำหรับครอบฟันทั่วไป แพทย์อาจต้องเอาเคลือบฟันเดิม (enamel) ออกหมด จนเหลือแต่เนื้อฟัน (dentin) เป็นหลักฟันที่ต้องเอาออกจะขึ้นอยู่กับวัสดุครอบฟันถ้าครอบฟันเป็นโลหะล้วน (full gold crown) อาจต้องเผื่อที่เพียงแค่ 0.5 มม. เพราะว่า โลหะแข็งแรงมาก และดังนั้น จึงต้องใช้ที่เพียงแค่นั้นเพื่อครอบฟันแต่ถ้าครอบฟันโลหะมีกระเบื้องเคลือบ แพทย์จะต้องเอาฟันออกอีก 1 มม. เพื่อให้มีที่เคลือบกระเบื้องพอ และดังนั้น จะต้องเอาฟันออกรวมกันประมาณ 1.5 มม.

ถ้าฟันเดิมไม่มีเนื้อพอที่จะครอบ หมอจะต้องพอกวัสดุที่ฟันเพิ่มซึ่งสามารถทำได้ด้วยเดือย (pin-retained) และวัสดุอุดฟันเช่นอะมัลกัม (amalgam) หรือวัสดุผสม (composite resin) หรือในกรณีที่รุนแรงอาจจะต้องใช้ทั้งเดือยและแกน (post and core)การต้องใช้ทั้งเดือยและแกนเป็นตัวบ่งชี้ว่าต้องรักษารากฟัน เพราะว่าเดือยจะต้องหยั่งลงไปถึงรากเพื่อให้มั่นคงแต่ว่า ถ้าฟันโผล่ออกมาน้อย ทำให้ต้องปลูกตัวฟัน (crown lengthening) เวลาที่ใช้ แรงงาน และค่าใช้จ่ายในกระบวนการต่าง ๆ บวกกับพยากรณ์โรคที่แย่ลงเพราะอัตราความล้มเหลวของวิธีการแต่ละอย่าง อาจจะทำให้การถอนฟันแล้วฝังรากเทียมดีกว่า

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในสาขาทันตแพทยศาสตร์ที่ใช้ CAD/CAM (คือใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบและผลิตครอบฟัน) ซึ่งเพิ่มทางเลือกในการครอบฟันในหลาย ๆ กรณี[4][5]เทียบกับครอบฟันธรรมดาที่ต้องใช้เนื้อฟันมากเพื่อจะครอบ ซึ่งทำให้เสียเนื้อฟันที่ยังดีอยู่ การใช้ครอบฟันกระเบื้องล้วนที่อาศัย CAD/CAM ทำให้มั่นใจได้ว่าจะใช้เนื้อที่น้อยกว่าและจริง ๆ แล้ว ยิ่งมีเคลือบฟันเท่าไร ฟันที่ทำโดยวิธีนี้ก็ออกมาดีเท่านั้นเพราะว่า ตราบเท่าที่กระเบื้องที่ส่วนบดเคี้ยวหนา 1.5 มม. หรือมากกว่านั้น ฟันที่ออกมาจะดีฟันข้าง ๆ ที่ปกติต้องเอาออกในการครอบฟันปกติ โดยทั่วไปแทบไม่ต้องเอาออกด้วยวิธี CAD/CAM

ส่วนการใช้เดือยและแกน (post and core) เป็นข้อห้ามใช้การครอบฟันแบบ CAD/CAM เพราะตัวยึดวัสดุกับฟันยึดกับเคลือบฟันหรือเนื้อฟันธรรมชาติได้ดีกว่าวิธีการครอบฟันแบบ crownlay เป็นทางเลือกที่ดีแทนการใช้เดือยและแกน เพื่อรักษาฟันที่รักษารากแล้ว

ปลายเรียว/สอบ

ฟันที่เตรียมจะต้องเรียวเข้าประมาณ 3-5 องศาเพื่อให้ครอบฟันได้ดีและไม่ควรเกิน 20 องศาโดยหลักแล้ว ไม่ควรจะมีส่วนเว้าส่วนคอด (undercut) บนผิวฟันเพราะว่าส่วนที่เว้าไม่สามารถเอาออกจากแม่พิมพ์ได้ ไม่เช่นนั้นแล้ว ครอบฟันจะใส่เข้ากับฟันไม่ได้ในขณะเดียวกัน ฟันที่ทำเรียวมากเกินไปจะทำให้ครอบฟันยึดกับฟันได้ไม่ดี ทำให้ฟันเสียดังนั้น โดยทั่วไปแล้ว ถ้าเตรียมฟันเรียวขึ้น 6 องศาตลอดแนวตั้งรอบ ๆ ฟัน (ดูรูปฟันเตรียม) เมื่อวัดองศาของมุมสองข้างที่ตัดกับระนาบแบ่งซ้ายขวา (sagittal) ไม่ว่าตรงไหนของฟัน ก็จะรวมได้ 12 องศา นี่เป็นการเตรียมการที่จะช่วยให้ครอบฟันได้สนิทและสามารถยึดกับฟันได้ดี

ตัวฟัน (ส่วนของฟันที่เห็นในปาก, A) ตามธรรมชาติจะสบกับราก (ส่วนฟันที่อยู่ในกระดูก) ที่จุดต่อซีเมนต์กับเคลือบฟัน (cementoenamel junction) ซึ่งเป็นที่ที่เหงือกติดกับฟันที่ฐานของร่องเหงือก (gingival sulcus, G) ขอบของครอบฟันไม่ควรจะอยู่ภายใน 2 มม. (ซึ่งเป็นระยะที่เรียกว่า biologic width) จากฐานของร่องเงือกไปถึงจุดสูงสุดของกระดูก alveolar (C) เพื่อจะไม่ให้มีปัญหา

ขอบ

ขอบสูงสุดของฟันที่ไม่ได้กรอ (คือ เส้นตรงจากฟันด้านหนึ่งที่ไม่ได้กรอไปยังอีกด้านหนึ่งตรงริมเหงือกหรือใกล้ ๆ ริมเหงือก) เรียกว่า marginขอบนี้จะเป็นจุดที่ฟันจริงและครอบฟันมาสบกัน และควรจะเป็นขอบที่เรียบ ชัดเจน เพื่อสามารถครอบฟันที่ทำ ไม่ว่าจะทำด้วยวัสดุอะไร ให้สนิทกับเหงือกโดยไม่เห็นฟันเดิมไม่ว่าจะเล็กน้อยแค่ไหนระยะจากขอบฟันที่อาจเห็นจนถึงขอบครอบฟันที่ใช้ได้อยู่ระหว่าง 40-100 ไมโครเมตร[ต้องการอ้างอิง]

แต่ก็มีวิธีการอุดฝังและอุดครอบ (inlay and onlay) โดยใช้ทองที่ระยะขอบฟันที่อาจเห็นจนถึงครอบฟันมีระยะเพียงแค่ 2 ไมโครเมตร[ต้องการอ้างอิง]ซึ่งยืนยันแล้วด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราดในอุโมงค์ (SEM)เป็นขนาดที่เล็กกว่าแบคทีเรียตัวเดียว

ชัดเจนว่า ฟันจริงที่เปิดให้เห็นเป็นอะไรที่ดูไม่งามเมื่อยิ้มในสถานการณ์เช่นนี้ แพทย์จะพยายามกำหนดขอบไปทางรากฟันให้มากที่สุด แม้กระทั่งจนลึกกว่าริมเหงือกการมีเส้นขอบที่ริมเหงือกไม่มีปัญหาอะไร แต่อาจมีปัญหาถ้ากำหนดขอบใต้ริมเหงือกลึกเกินไปปัญหาแรกคือ อาจมีปัญหาพิมพ์รายละเอียดที่บริเวณขอบเพื่อทำแบบหินของฟันที่เตรียม (ดูรูปด้านบน)ปัญหาที่สองคือ จะต้องมีระยะเว้นที่เรียกว่า biologic widthซึ่งเป็นระยะห่างที่จำเป็นระหว่างหัวกระดูก alveolar (ที่เป็นหลักยึดฟันด้านข้าง) และขอบครอบฟัน เมื่อระยะนี้ชิดเกินเพราะกำหนดขอบใต้เหงือกลึกเกินไป อาจจะมีปัญหาหนักที่ตามมาในกรณีที่ไม่สามารถกำหนดขอบให้ลึกพอเพื่อครอบฟันให้มั่นคง อาจจะต้องปลูกตัวฟัน (crown lengthening) เพิ่ม

มีขอบฟันหลายอย่างที่สามารถใช้เมื่อครอบฟันวิธีหนึ่งเป็นการลบมุม (chamfer) ซึ่งนิยมใช้เมื่อครอบฟันโลหะ เป็นวิธีที่ต้องเอาฟันเดิมออกน้อยที่สุดอีกวิธีหนึ่งเป็นการทำไหล่ (shoulder) ซึ่งแม้จะต้องเอาฟันเดิมออกมากกว่า แต่ก็สามารถใช้รองรับวัสดุครอบฟันที่หนากว่า ซึ่งจำเป็นเมื่อใช้ครอบฟันโลหะเคลือบกระเบื้อง (PFM) หรือครอบฟันเซรามิกล้วนแต่ว่าเมื่อใช้ขอบแบบไหล่ แพทย์ก็มักจะตัดมุมเฉียง (bevel) ด้วยเพราะว่า ขอบแบบไหล่ตัดเฉียงช่วยลดระยะขอบฟันที่อาจเห็นกับครอบฟันหลังจากใส่ครอบฟันแล้ว

ปรากฏการณ์ปลอกรัด

เรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณาเมื่อครอบฟันก็คือปรากฏการณ์ปลอกรัด (ferrule effect)เหมือนกับก้านไม้กวาด ที่รัดไว้ด้วยปลอกกับไม้กวาด ครอบฟันควรจะหุ้มฟันสูงระดับหนึ่งเพื่อป้องกันไม่ให้แตกหลังจากเตรียมฟันแล้วซึ่งการทดลองหลายงานแสดงหลักฐานว่า ต้องต่อเนื่องกันเป็นวงสูงอย่างน้อย 2 มม.ถ้าน้อยกว่านี้ ก็จะมีอัตราความล้มเหลวที่สูงกว่าสำหรับการครอบฟันที่ได้รักษาราก

ถ้าฟันไม่ได้รักษาราก ฟันปกติจะพอเหลือเนื้อฟันสูง 2 มม. ซึ่งจำเป็นในการรัด แต่ว่า ฟันที่รักษารากมักจะผุและบ่อยครั้งจะมีเนื้อฟันหายไปมากและเพราะว่าฟันจะอ่อนแอลงหลังจากต้องเอาฟันบางส่วนออกเพื่อรักษารากฟัน จึงจำเป็นต้องป้องกันไม่ให้แตกไปถึงราก (vertical root fracture)มีนักวิชาการที่คาดว่า การเตรียมทำฟันแบบไหล่สำหรับครอบฟันเซรามิกล้วน ที่ใช้ยึดกับซีเมนต์อยู่กับที่ จะมีผลเช่นเดียวเหมือนกับปลอกรัด

แหล่งที่มา

WikiPedia: ครอบฟัน http://www.azom.com/article.aspx?ArticleID=1682#_T... http://cashfordentalscrap.com/leucite-reinforced-s... http://icd9cm.chrisendres.com/index.php?srchtype=p... http://pocketdentistry.com/wp-content/uploads/285/... http://www.vident.com/assets/downloads_cloak/Bloc%... http://www.webmd.com/content/article/66/79592.htm http://www.webmd.com/oral-health/dental-crowns //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3723107 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11351485 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15892526