ความแตกต่างกับครุยแบบอังกฤษ ของ ครุยวิทยฐานะในสหรัฐ

ครุยวิทยฐานะอเมริกันต่างจากครุยวิทยฐานะอังกฤษตรงที่ครุยแบบอังกฤษ ตอนหน้าอกจะเปิดออกเสมอ โดยมักจะพับส่วนที่เคยเชื่อมต่อกันให้แบะออก และประดับด้วยแถบผ้าไหมหรือสำรดตามสมควร แต่แบบอเมริกันจะปิดตอนหน้าอกเสมอ แม้ว่าในระเบียบจะระบุไว้ว่าอาจเปิดตอนหน้าอกออกได้บ้าง[10] ทั้งนี้ยังพอมีข้อยกเว้นคือ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (เฉพาะระดับปริญญาเอก)

ผ้าคลุมไหล่หรือคล้องคอ แบบอเมริกันนิยมใช้ทรงอย่างง่าย คือตอนหลังเป็นแผ่นผ้าทรงรูปลิ้่นทิ้งตัวไปด้านหลัง ตอนหน้ามีขนาดใหญ่ดุจกรองคอของตัวละคร แต่แบบอังกฤษมีได้หลายแบบ ทั้งแบบเป็นถุงทิ้งตัวไปด้านหลังชั้นเดียว หรือถุงสองชั้นพร้อมแผ่นรอง บ้างก็มีลักษณะเป็นแบบลิ้น ตอนหน้าของผ้าคล้องคอมีขนาดเล็กสำหรับใช้สวมลงใต้เนกไทหรือกลัดไว้ที่เสื้อแอ นอกจากนี้ ครุยแบบอังกฤษทุกระดับไม่ประดับแถบกำมะหยี่ปลายตัดเพื่อระบุระดับการศึกษา แต่ครุยแบบอเมริกันจะมีการประดับเฉพาะในระดับปริญญาเอก

ระดับปริญญาตรีและโท ทั้งแบบอังกฤษและอเมริกันต่างใช้หมวกทรงสี่เหลี่่ยมจัตุรัส แต่พู่ของแบบอังกฤษจะเป็นเส้นไหมหลายเส้นกระจุกที่ปุ่มกลมกลางกระหม่อม ไม่เหมือนแบบอเมริกันดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ส่วนในระดับปริญญาเอก ในอังกฤษอาจใช้หมวกทรงกลมมีปีกและเอวที่เรียกว่า tudor bonnet ที่เอวหมวกมีเส้นไหมกลมรัดโดยรอบแล้วทิ้งปลายเป็นพู่ไป แต่ในสหรัฐอเมริกาจะใช้หมวกทรงหกหรือแปดเหลี่ยมพร้อมพู่

ใกล้เคียง

ครุยวิทยฐานะในสหราชอาณาจักร ครุยวิทยฐานะไทย ครุยวิทยฐานะในสหรัฐ ครุยวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ครุยและเข็มวิทยฐานะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครุย ครุยเซอร์เวทคลาสสิก ครุยเซอร์เวท ครุยเซอร์ เอ็มเค 2