ลักษณะทั่วไป ของ ครุยวิทยฐานะในสหรัฐ

ครุยปริญญาตรีของวิทยาลัยสมิท (Smith College)ครุยวิทยฐานะแบบอเมริกันนิยมสวมโดยปิดด้านหน้า ซ่อนเครื่องแต่งกายภายในไว้สนิท

เสื้อ

โดยทั่วไป ระดับปริญญาตรี นิยมใช้เสื้อคลุมอย่างง่าย แขนเสื้อเป็นแขนปลายตัดเฉียง[1]หรือตัดตรง[2]ก็ได้ ไม่มีผ้าคลุมไหล่ โดยอาจจะมีพู่สี (tassel) หรือผ้าพาดบ่า (stole)[3]สีตามคณะหรือมหาวิทยาลัยกำหนดประดับตามสมควร ที่สาบบ่าและไหล่ทำเป็นจีบ ระดับปริญญาโทนิยมใช้เสื้อคลุมแขนยาวเสมอชายเสื้อ เจาะช่องตรงกลางให้แขนของผู้สวมสอดออกมาได้ ประกอบด้วยผ้าคลุมไหล่ขนาดไม่ใหญ่มากนัก ระดับปริญญาเอกนิยมใช้เสื้อคลุมสีสดใสแขนยาวเสมอข้อมือ ประดับแถบกำมะหยี่ที่แขนจำนวนสามแถบ ประกอบผ้าคลุมไหล่ขนาดใหญ่[4] ผู้มีตำแหน่งในสภามหาวิทยาลัยอาจสวมครุยปริญญาเอกได้ตามความเหมาะสม[5]

ผ้าคลุมไหล่

ผ้าคลุมไหล่เป็นเครื่องแสดงฐานะปริญญาโทและเอก หากจำแนกตามวิธีการจำแนกครุยวิทยฐานะของโกรฟ (Groves classification system) แล้วจะได้ว่าเป็นรูปทรงชนิดง่าย s5[6] คือตอนหลังเป็นเพียงแถบผ้าทำเป็นบ่วงทรงรีประดับตกแต่งอย่างง่าย ๆ เท่านั้น ตอนหน้าเป็นรูปบั้งคล้ายกรองคอของตัวละครโขน ด้านนอกนิยมใช้ผ้าหรือวัสดุแบบเดียวกับตัวเสื้อ[7] ด้านในนิยมใช้ผ้าต่วน คือ ผ้ามันสะท้อนแสงทำเป็นสีต่าง ๆ ที่ขอบประดับด้วยแถบผ้าตามสมควร ความยาวของผ้าคลุมไหล่ขึ้นกับระดับการศึกษา ยิ่งสูงก็ยิ่งใช้ผ้าคล้องคอที่ทิ้งตัวยาว[8]

บัณฑิตอาจสวมผ้าคลุมไหล่ก่อนเข้าพิธี หรือไปสวมในพิธีก็ได้ แล้วแต่กำหนดการของมหาวิทยาลัย[9]

หมวก

นอกเหนือจากเสื้อและผ้าคลุมไหล่แล้ว บัณฑิตมักจะสวมหมวกด้วย โดยปริญญาตรีและโทจะสวมหมวกแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัส (mortarboard) พร้อมพู่ทรงยาวสีตามที่คณะหรือมหาวิทยาลัยกำหนด ติดปลายเส้นด้ายที่ห้อยจากกลางกระหม่อม เพื่อให้บัณฑิตเด็ดไปเป็นที่ระลึก ส่วนปริญญาเอกจะสวมหมวกทรงหกหรือแปดเหลี่ยม (tam) ประดับพู่สีหรือพู่ทองทรงเดียวกับปริญญาตรีและโท

ใกล้เคียง

ครุยวิทยฐานะในสหราชอาณาจักร ครุยวิทยฐานะไทย ครุยวิทยฐานะในสหรัฐ ครุยวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ครุยและเข็มวิทยฐานะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครุย ครุยเซอร์เวทคลาสสิก ครุยเซอร์เวท ครุยเซอร์ เอ็มเค 2