คฤหาสน์ชนบท
คฤหาสน์ชนบท

คฤหาสน์ชนบท

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งคฤหาสน์ชนบท (อังกฤษ: Country house หรือ English country house) โดยทั่วไปหมายถึงที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่หรือคฤหาสน์ที่เดิมเป็นสมบัติส่วนบุคคลผู้มักจะมีคฤหาสน์สำคัญ (great house) อีกหลังหนึ่งในเมือง ซึ่งทำให้สามารถใช้เวลาได้ทั้งในเมืองและในชนบท“คฤหาสน์ชนบท” และ “คฤหาสน์ภูมิฐาน” บางครั้งมักจะใช้สับสนกัน—คฤหาสน์ชนบทเป็นคฤหาสน์ที่ตั้งอยู่นอกเมือง แต่คฤหาสน์ภูมิฐานอาจจะตั้งอยู่ได้ทั้งในเมืองหรือนอกเมือง เช่นคฤหาสน์แอ็พสลีย์ (Apsley House) สร้างสำหรับอาเธอร์ เวลสลีย์ ดยุกแห่งเวลลิงตันที่ 1 (Arthur Wellesley, 1st Duke of Wellington) ที่มุมหนึ่งของไฮด์พาร์ค (Hyde Park) หรือที่เรียกกันว่า “No. 1, London” เป็นคฤหาสน์ภูมิฐานที่ตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน คฤหาสน์ชนบทเช่นคฤหาสน์แอสค็อตต์ (Ascott House) ในบัคคิงแฮมเชอร์ ก็จงใจออกแบบที่ไม่ให้ออกมาเป็น “คฤหาสน์ภูมิฐาน” แต่ให้กลืนไปกับภูมิทัศน์รอบข้าง ขณะที่คฤหาสน์สำคัญอื่นๆ เช่น คฤหาสน์เค็ดเดิลสตันฮอลล์ (Kedleston Hall) หรือคฤหาสน์โฮลค์แฮม (Holkham Hall) สร้างให้เป็น “บ้านที่เป็นศูนย์กลางของอำนาจ” (power houses) เพื่อสร้างความประทับใจหรือเด่นจากภูมิทัศน์รอบข้าง และตั้งใจจะให้เป็น “คฤหาสน์ภูมิฐาน” ในปัจจุบันอดีตคฤหาสน์ภูมิฐานหลายแห่งขณะที่ยังมีฐานะเป็นคฤหาสน์ชนบทไม่มีร่องรอยของความยิ่งใหญ่ที่เคยเป็นมาแต่ก่อน และที่แน่นอนคือไม่ใช่ “บ้าน”“คฤหาสน์ชนบท” ไม่แต่จะเป็นสถานที่สำหรับการไปพักผ่อนในวันหยุดของชนชั้นเจ้านายเท่านั้นแต่มักจะเป็นที่อยู่ถาวรของผู้ดีชนบท (gentry) ที่ชนชั้นปกครองของอังกฤษกลุ่มหนึ่งที่ปกครองอังกฤษมาจนกระทั่งการออก พระราชบัญญัติผู้แทนราษฎร ค.ศ. 1832 (Representation of the People Act) แม้แต่ธุรกิจก็ทำกันภายในห้องโถงของคฤหาสน์

ใกล้เคียง

คฤหาสน์วิปลาส (เกมกระดาน) คฤหาสน์โว-เลอ-วีกงต์ คฤหาสน์ชนบท คฤหาสน์สตอแกล คฤหาสน์เบรกเกอส์ คฤหาสน์ สัมผัสผวา คฤหาสน์โวเบิร์น คฤหาสน์คลิฟเดิน คฤหาสน์โรมัน คฤหาสน์แฟรีแยร์