คฤหาสน์โรมัน
คฤหาสน์โรมัน

คฤหาสน์โรมัน

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งคฤหาสน์โรมัน (อังกฤษ: Roman villa) คือคฤหาสน์ที่สร้างขึ้นหรือที่อยู่อาศัยที่สร้างขึ้นในสมัยสาธารณรัฐโรมันและจักรวรรดิโรมัน เดิมคฤหาสน์เดิมเป็นคฤหาสน์ชนบทรอบกรุงโรมที่สร้างขึ้นสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับชนชั้นสูง พลินิผู้อาวุโสกล่าวว่าคฤหาสน์มีด้วยกันสองประเภท คฤหาสน์เมือง (villa urbana) ซึ่งเป็นคฤหาสน์ที่เป็นที่ทำการของเจ้าของที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากกรุงโรมหรือเมืองสำคัญอื่นที่เจ้าของสามารถเดินทางไปถึงได้ภายในเวลาไม่เกินหนึ่งหรือสองคืน และ คฤหาสน์ชนบท (villa rustica) ซึ่งเป็นคฤหาสน์ที่เป็นฟาร์มที่เป็นที่อยู่ถาวรของคนรับใช้ผู้มีหน้าที่ดูแลคฤหาสน์ ศูนย์กลางของ คฤหาสน์ชนบท อยู่ที่ตัวคฤหาสน์เองที่อาจจะเป็นที่พำนักของเจ้าของเพียงชั่วครั้งชั่วคราว ในสมัยจักรวรรดิโรมันมีราชคฤหาสน์จำนวนมากไม่ไกลจากอ่าวเนเปิลส์โดยเฉพาะบนเกาะคาปรี, ภูเขาเซอร์เซโอบนฝั่งทะเล และ อันเทียม (อันซิโอ) ชาวโรมันที่มีฐานะดีมักจะหนีร้อนไปยังเนินรอบกรุงโรม โดยเฉพาะรอบฟราสคาติ กล่าวกันว่านักปรัชญาซิเซโรเองเป็นเจ้าของคฤหาสน์ถึงเจ็ดหลังๆ เก่าที่สุดตั้งอยู่ที่อาร์พินัมที่ซิเซโรได้มาเป็นมรดก พลินิผู้เยาว์เป็นเจ้าของคฤหาสน์สามถึงสี่หลัง หลังที่ลอเรนเทียมเป็นหลังที่รู้จักกันดีที่สุดจากคำบรรยายเกี่ยวกับคฤหาสน์ในปลายสมัยสาธารณรัฐโรมันเป็นสมัยที่มีการสร้างคฤหาสน์กันขึ้นเป็นจำนวนมากในอิตาลีโดยเฉพาะในปีหลังๆ ของการปกครองของผู้เผด็จการลูชิอัส คอร์เนลิอัส ซัลลา ในอีทรูเรีย คฤหาสน์เซ็ทเทฟิเนสเทรถือกันว่าเป็นหนึ่งในคฤหาสน์ที่ตั้งอยู่ที่ มณฑลคฤหาสน์ลาทิฟันเดียม ซี่งเป็นบริเวณที่มีคฤหาสน์เป็นจำนวนมากในบริเวณอันกว้างขวางที่บริหารโดยทาสที่ผลิตสินค้าจากการเกษตรกรรมในระดับอุตสาหกรรม ตัวคฤหาสน์ที่เซ็ทเทฟิเนสเทรหรือที่อื่นมักจะเป็นคฤหาสน์ที่ไม่ได้มีการตกแต่งอย่างหรูหราเท่าใดนัก คฤหาสน์อื่นๆ ที่ไกลจากกรุงโรมถือกันว่าเป็นวิถีชีวิตแบบการเกษตรกรรมที่บรรยายโดยคาโตผู้อาวุโส, โคลัมเมลลา และ มาร์คัส เทเรนเชียส วาร์โร ทั้งสองท่านพยายามที่จะให้คำจำกัดความของวิถีชีวิตอันเหมาะสมสำหรับชาวโรมันอนุรักษนิยม อย่างน้อยก็ตามแบบวิถีชีวิตอันเป็นอุดมคติส่วนจักรวรรดิโรมันก็มีคฤหาสน์หลายแบบ แต่คฤหาสน์ทุกหลังมิได้มีการตกแต่งอย่างหรูหราด้วยพื้นโมเสกหรือจิตรกรรมเสมอไป คฤหาสน์บางหลังสร้างขึ้นเพื่อความสำราญเช่นคฤหาสน์เฮเดรียนที่ทิโวลีในประเทศอิตาลี ที่ตั้งอยู่บนเนินเขาไม่ไกลจากกรุงโรมเท่าใดนัก หรือคฤหาสน์พาพิรีที่เฮอร์คิวเลเนียมที่ตั้งอยู่บนเนินเหนืออ่าวเนเปิลส์ คฤหาสน์บางหลังก็มีลักษณะคล้ายคฤหาสน์ชนบทในอังกฤษหรือโปแลนด์อันเป็นคฤหาสน์เพื่อการบริหารและการแสดงอำนาจของขุนนางระดับท้องถิ่นระดับสูง เช่นซากคฤหาสน์ฟิชบอร์นที่พบซัสเซ็กซ์ คฤหาสน์ปริมณฑลที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากนครใหญ่ก็ได้มีการสร้างกันขึ้นเช่นคฤหาสน์ในกลางและปลายสมัยสาธารณรัฐในบริเวณแคมพัสมาร์เชียสที่ในสมัยนั้นเป็นปริมณฑลของกรุงโรม หรือคฤหาสน์ที่ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองปอมเปอี คฤหาสน์สมัยแรกเหล่านี้เช่นที่ออดิทอเรียมของโรม หรือที่กร็อททารอซซาเป็นเครื่องแสดงที่มาของ คฤหาสน์เมือง ในตอนกลางของประเทศอิตาลี อาจจะเป็นไปได้ว่าคฤหาสน์สมัยต้นดังกล่าวเป็นสถานที่สำหรับการบริหาร หรือ อาจจะเป็นวังของผู้มีอำนาจในท้องถิ่น หรือ ประมุขของตระกูลสำคัญก็เป็นได้ คฤหาสน์ประเภทที่สามเป็นศูนย์กลางของการบริหารที่เรียกว่าลาทิฟันเดียมที่ทำการผลิตผลผลิตทางการเกษตรกรรม คฤหาสน์ดังกล่าวจะไม่มีการตกแต่งอย่างหรูหรา เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 villa อาจจะหมายถึงเพียงสถานที่สำหรับการบริหารไร่นา เช่นเมื่อนักบุญเจอโรมแปลพระวรสารนักบุญมาร์ค (xiv, 32) chorion, บรรยายไร่มะกอกใน เกทเสมนี ว่าเป็น villa โดยมิได้เจาะจงว่ามีที่อยู่อาศัยแต่อย่างใด[1]

ใกล้เคียง

คฤหาสน์วิปลาส (เกมกระดาน) คฤหาสน์โว-เลอ-วีกงต์ คฤหาสน์ชนบท คฤหาสน์สตอแกล คฤหาสน์เบรกเกอส์ คฤหาสน์โวเบิร์น คฤหาสน์ สัมผัสผวา คฤหาสน์คลิฟเดิน คฤหาสน์โรมัน คฤหาสน์แฟรีแยร์