การเรียกชื่อคลื่น ของ คลื่นไหวสะเทือน

เส้นทางการเดินทางของคลื่นแผ่นดินไหว

เส้นทางการเดินทางของคลื่นจากจุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวถึงจุดสังเกตการณ์มักจะถูกเขียนในรูปแบบของแผนภาพโดยใช้ลูกศรแสดงทิศทางการเดินทางของคลื่นดังตัวอย่างในภาพ เมื่อพิจารณาการสะท้อนของคลื่นเมื่อเดินทางผ่านตัวกลางชนิดต่าง ๆ จะทำให้เส้นทางการเดินทางของคลื่นที่เป็นไปได้มีจำนวนนับไม่ถ้วน แต่ละรูปแบบที่เป็นไปได้สามารถเขียนแทนได้ด้วยกลุ่มของตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวอักษรพิมพ์เล็กใช้สื่อถึงเส้นเขตระหว่างสองตัวกลาง (เกิดการสะท้อนของคลื่น) ในขณะที่ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ใช้สื่อถึงตัวกลางที่คลื่นเดินทางผ่านเข้าไป[2][3]

cคลื่นสะท้อนที่แก่นโลกชั้นนอก
dคลื่นสะท้อนที่เกิดเนื่องจากความไม่ต่อเนื่องที่ความลึก d
gคลื่นที่เดินทางผ่านเปลือกโลกเท่านั้น
iคลื่นสะท้อนที่แก่นโลกชั้นใน
Iคลื่นปฐมภูมิที่เดินทางผ่านแก่นโลกชั้นใน
hคลื่นสะท้อนเนื่องจากความไม่ต่อเนื่องภายในเปลือกโลกชั้นใน
Jคลื่นทุติยภูมิที่เดินทางผ่านแก่นโลกชั้นใน
Kคลื่นปฐมภูมิที่เดินทางผ่านแก่นโลกชั้นนอก
L,LQคลื่นเลิฟ
nคลื่นที่เดินทางไปตามผิวสัมผัสระหว่างแก่นโลก (ชั้นนอก) และแมนเทิล
Pคลื่นปฐมภูมิที่เดินทางผ่านชั้นแมนเทิล
pคลื่นปฐมภูมิที่เดินทางจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวแล้วสะท้อนกลับผิวโลก
R,LRคลื่นเรลีย์
Sคลื่นทุติยภูมิที่เดินทางผ่านชั้นแมนเทิล
sคลื่นทุติยภูมิที่เดินทางจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวแล้วสะท้อนกลับที่ผิวโลก
wคลื่นสะท้อนที่ก้นสมุทร
ตัวอย่าง
  • คลื่น ScP คือคลื่นไหวสะเทือนที่เริ่มต้นเดินทางจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวในรูปของคลื่นทุติยภูมิ ผ่านชั้นแมนเทิล แล้วสะท้อนที่แก่นโลกชั้นนอก และเดินทางผ่านชั้นแมนเทิลกลับขึ้นมาสู่สถานีตรวจแผ่นดินไหวที่ผิวโลกในรูปของคลื่นปฐมภูมิ
  • คลื่น sPKIKP คือคลื่นไหวสะเทือนที่เดินทางจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวในรูปของคลื่นทุติยภูมิขึ้นมาที่ผิวโลก ก่อนที่จะสะท้อนกลับลงไปในชั้นแมนเทิลในรูปของคลื่นปฐมภูมิ เดินทางผ่านแก่นโลกชั้นนอก แก่นโลกชั้นใน แล้วทะลุเข้าสู่แก่นโลกชั้นนอกอีกฝั่งหนึ่ง และเดินทางผ่านชั้นแมนเทิลอีกฝั่งหนึ่งในรูปของคลื่นปฐมภูมิ

ใกล้เคียง

คลื่น คลื่นความเย็นในทวีปยุโรป พ.ศ. 2555 คลื่นความร้อนในเอเชีย พ.ศ. 2566 คลื่นชีวิต (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2560) คลื่นวิทยุ คลื่นไหวสะเทือน คลื่นกระแทก คลื่นความโน้มถ่วง คลื่นเสน่หา คลื่นความร้อนในประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2561