การใช้ประโยชน์จากคลื่นตัวกลางเพื่อระบุตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหว ของ คลื่นไหวสะเทือน

การเดินทางของคลื่นปฐมภูมิและคลื่นทุติยภูมิบนแผนภาพเดียวกัน

ในพื้นที่ใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหว เราสามารถใช้ผลต่างของเวลาที่ใช้ในการเดินทางของคลื่นปฐมภูมิและคลื่นทุติยภูมิเพื่อหาระยะห่างของศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวกับพื้นที่นั้น ในกรณีของแผ่นดินไหวที่พลังงานถูกปลดปล่อยทั่วไปในระดับโลก เวลาที่ใช้ในการเดินทางของคลื่นปฐมภูมิซึ่งถูกบันทึกจากสถานีวัดการเกิดแผ่นดินไหวอย่างน้อยสี่สถานีสามารถนำมาใช้เพื่อคำนวณหาตำแหน่งของจุดศูนย์กลางรวมถึงเวลาของการเกิดแผ่นดินไหว

โดยปกติแล้ว นักวิทยาศาสตร์เลือกที่จะอ้างอิงจากข้อมูลของหลายสิบสถานีเพื่อความแม่นยำในการระบุจุดเหนือศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว เราเรียกความต่างระหว่างระยะเวลาที่ใช้หากแผ่นดินไหวเกิดที่จุดเหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว (บนผิวโลก) กับระยะเวลาที่ใช้จริงว่าเรสิดวล (residual) โดยปกติแล้วเรสิดวลจะมีค่าประมาณ 0.5 วินาทีหรือน้อยกว่านั้น โดยจะมีค่าเพียง 0.1-0.2 สำหรับแผ่นดินไหวในวงแคบ นั่นคือความแตกต่างของคลื่นแผ่นดินไหวไม่ว่าจะเกิด ณ ศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว หรือเกิด ณ จุดเหนือศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวมีค่าไม่ต่างกันมากนัก โดยทั่วไปแล้วโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะถูกสร้างให้คำนวณโดยตั้งสมมุติฐานเริ่มต้นว่าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นที่ระดับลึกที่ 33 กิโลเมตร แล้วจึงลดค่าเรสิดวล (เพิ่มความแม่นยำ) โดยการเปลี่ยนระดับความลึก แผ่นดินไหวส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ระดับความลึกไม่เกิน 40 กิโลเมตร และมีบางกรณีที่เกิดที่ระดับความลึกที่ 700 กิโลเมตร

วิธีการที่รวดเร็วสำหรับใช้หาระยะห่างจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวถึงสถานีสำรวจสำหรับกรณีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นไม่ไกลว่า 200 กิโลเมตรสามารถทำได้โดยใช้ผลต่างของระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางของคลื่นปฐมภูมิและคลื่นทุตยภูมิในหน่วยวินาทีแล้วคูณด้วย 8 กิโลเมตรต่อวินาที ระบบวัดคลื่นไหวสะเทือนสมัยใหม่ใช้เทคนิคที่ซับซ้อนกว่านี้

สำหรับแผ่นดินไหวที่ห่างจากสถานีวัดมากๆ คลื่นปฐมภูมิแรกที่วัดได้จะเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านชั้นแมนเทิล และในบางกรณีอาจเคลื่อนที่ไกลถึงชั้นแก่นโลกชั้นนอกก่อนที่จะเคลื่อนที่กลับขึ้นมาสู่สถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวที่ผิวโลก คลื่นไหวสะเทือนเหล่านี้สามารถเคลื่อนที่ในระดับลึกชั้นแมนเทิลได้เร็วกว่าการเคลื่อนที่ไปตามชั้นเปลือกโลก การเดินทางของคลื่นลึกภายในดาวเคราะห์ที่เร็วกว่าระดับตื้นเรียกว่าหลักของออยแกน (Huygens' Principle) ถึงแม้ความหนาแน่นที่เพิ่มสูงขึ้นในระดับลึกจะเป็นตัวชะลอความเร็วของคลื่น แต่เนื่องจากค่าความยืดหยุ่นที่เพิ่มขึ้นส่งผลเร่งความเร็วในการเคลื่อนที่ของคลื่นในสัดส่วนที่มากกว่า นั่นคือคลื่นเดินทางได้เร็วกว่าในชั้นโลกระดับลึกและหมายถึงระยะเวลาที่สั้นกว่า

ระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางของคลื่นจะถูกคำนวณอย่างแม่นยำเพื่อระบุจุดเหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว เนื่องจากคลื่นปฐมภูมิเดินทางด้วยความเร็วหลายกิโลเมตรต่อวินาที ความคลาดเคลื่อนในการจับเวลาเพียงครึ่งวินาทีอาจหมายถึงความคลาดเคลื่อนในระยะห่างหลายกิโลเมตร ในทางปฏิบัติจึงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลคลื่นปฐมภูมิจากหลายสถานีเพื่อลดความคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้นนี้ และทำให้สามารถคำนวณจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวได้ใกล้เคียง 10-50 กิโลเมตรเมื่อใช้ข้อมูลจากสถานีวัดแผ่นดินไหวรอบโลก ระบบเครือข่ายสถานีแผ่นดินไหวที่มีจำนวนมากในแคลิฟอร์เนียสามารถคำนวณได้ใกล้เคียงระดับกิโลเมตร และอาจคำนวณได้แม่นยำมากขึ้นเมื่อคำนวณจาก cross-correlation ของไซส์โมแกรมโดยตรง

ใกล้เคียง

คลื่น คลื่นความเย็นในทวีปยุโรป พ.ศ. 2555 คลื่นความร้อนในเอเชีย พ.ศ. 2566 คลื่นชีวิต (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2560) คลื่นวิทยุ คลื่นไหวสะเทือน คลื่นกระแทก คลื่นความโน้มถ่วง คลื่นเสน่หา คลื่นความร้อนในประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2561