ความกังขาของนักบุญทอมัส_(คาราวัจโจ)
ความกังขาของนักบุญทอมัส_(คาราวัจโจ)

ความกังขาของนักบุญทอมัส_(คาราวัจโจ)

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งความกังขาของนักบุญทอมัส (อังกฤษ: The Incredulity of Saint Thomas) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจ[1] จิตรกรสมัยบาโรกคนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พระราชวังซองส์ซูซิ, พ็อทซ์ดัมในประเทศเยอรมนีภาพ “ความกังขาของนักบุญทอมัส” เขียนราวระหว่างปี ค.ศ. 1601 ถึงปี ค.ศ. 1602 เป็นภาพที่ในกลุ่มเดียวกับ “แรงบันดาลใจของนักบุญแม็ทธิว” และ “สังเวยไอแซ็ค” ที่อุฟฟิซิเพราะตัวแบบอัครสาวกในทุกภาพเป็นคนคนเดียวกัน เช่นเดียวกับภาพ “นักบุญแม็ทธิวและเทวดา” ภาพนี้เดิมเป็นของวินเชนโซ จุสตินิอานิและต่อมาเป็นส่วนหนึ่งของงานสะสมหลวงของปรัสเซีย แต่โชคดีที่เก็บไว้ที่พ็อทซ์ดัมจึงรอดจากการทำลายด้วยระเบิดระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองมาได้ ภาพนี้เป็นภาพที่นิยมก็อปปีกันมากที่สุด ซึ่งมีด้วยกันทั้งสิ้น 22 ก็อปปีจากคริสต์ศตวรรษที่ 17ตามบันทึกของพระวรสารนักบุญจอห์น นักบุญทอมัสไม่ได้เห็นการปรากฏตัวของพระเยซูแก่อัครสาวกหลังจากที่ทรงฟื้นชีพ นักบุญทอมัสจึงประกาศว่านอกจากว่าจะได้ยื่นมือไปสัมผัสแผลของพระองค์ก็จะไม่เชื่อในสิ่งที่ได้ยิน สัปดาห์หนึ่งต่อมาพระเยซูก็ทรงมาปรากฏตัวและบอกให้ทอมัสสัมผัสพระองค์และกล่าวว่า “ขอสมพรแก่ผู้ที่ยังไม่เห็นแต่เชื่อ”ความกังขาของนักบุญทอมัสประทับใจคาราวัจโจเป็นการส่วนตัวเป็นอันมาก ไม่มีภาพเขียนภาพอื่นใดของคาราวัจโจที่สร้างความประหลาดใจได้เท่าภาพนี้ นักบุญทอมัสมีความกังขาจนถึงกับต้องเอานิ้วจิ้มแผลเพื่อพิสูจน์ก่อนที่จะอุทานเมื่อทราบแน่ว่าเป็นพระเยซูว่า “My Lord and my God” การวางภาพชายสี่คนยืนรวมกันจนศีรษะแทบชนกันโดยมีพระพักตร์ของพระเยซูอยู่ในเงามืดเป็นการเพิ่มอารมณ์ของภาพ ตัวแบบอีกสามคนมีแสงส่องบนใบหน้าว่า “รู้”

ใกล้เคียง

ความกว้างของการกระจายขนาดเม็ดเลือดแดง ความกดอากาศ ความกลัว ความกล้าหาญ ความกว้างเต็มที่ครึ่งค่าสูงสุด ความกังขาของนักบุญโธมัส (การาวัจโจ) ความกตัญญู ความกระหาย ความกดอากาศต่ำ ความกว้าง