การประกาศจะถอนตัวของเกาหลีเหนือ ของ ความตกลงการสงบศึกเกาหลี

เกาหลีเหนือประกาศว่าจะไม่ผูกมัดตามการสงบศึกนี้อย่างน้อย 6 ครั้ง ในปี 2537 2539 2546 2549 2552 และ 2556[12][13]

เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2552 เกาหลีเหนือประกาศว่า ไม่รู้สึกถูกผูกพันตามความตกลงการสงบศึกอีกต่อไป[14] มีอุบัติการณ์รุนแรงสองครั้งแยกกันในปี 2553 การจมเรือโชนัน (สาเหตุยังพิพาทอยู่ แต่สงสัยว่าถูกเรือดำน้ำเกาหลีเหนือโจมตี) และการระดมยิงยอนพยองของเกาหลีเหนือ

ในเดือนมีนาคม 2556 เกาหลีเหนือประกาศอีกครั้งว่า จะฉีกสนธิสัญญาไม่รุกรานทั้งหมดกับเกาหลีใต้ ร่วมกับการขยายขอบเขตอย่างอื่น เช่น การปิดพรมแดนและการปิดสายด่วนระหว่างสองผู้นำเกาหลี[15] เกาหลีเหนือแถลงว่า ตนมีสิทธิโจมตีด้วยนิวเคลียร์ก่อน[15] โฆษกสหประชาชาติแถลงว่า สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีมติเห็นชอบความตกลงการสงบศึกดังกล่าว และไม่อาจถูกยกเลิกได้ฝ่ายเดียวโดยทั้งเกาหลีเหนือหรือเกาหลีใต้[16]

ใกล้เคียง

ความตาย ความตลกขบขัน ความตกลงมิวนิก ความต้านทานและการนำไฟฟ้า ความตกลงปางหลวง ความตกลงการสงบศึกเกาหลี ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า ความตกลงอังกฤษ-รัสเซีย ความตกลงเชงเกน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความตกลงการสงบศึกเกาหลี http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/800078 http://news.ch3thailand.com/abroad/67169 http://news.findlaw.com/cnn/docs/korea/kwarmagr072... http://abcnews.go.com/US/wireStory/korean-war-armi... http://time.com/5246212/south-korea-formal-peace-t... http://www.archives.gov/historical-docs/todays-doc... http://english.yonhapnews.co.kr/northkorea/2009/05... http://www.rferl.org/content/The_End_Of_The_Korean... http://www.webcitation.org/6F0Qo2CpN http://www.webcitation.org/6F0QuE8HO